E-DUANG : พลานุภาพ ทาง การเมือง พันธมิตร ต้านอำนาจคสช.

ในทางยุทธศาสตร์ที่คสช.ยกร่าง “รัฐธรรมนูญ” ขึ้นมาก็เพื่อเป็นหลักประกันในการสืบทอดอำนาจ ในการรักษาอำนาจทางการ เมืองอย่างน้อยที่สุดก็ต่อไปอีก 20 ปี

แต่ผลการเลือกตั้งที่ปรากฏผ่านเมื่อวันที่ 24 มีนาคมได้แสดง อย่างแจ้งชัดว่ายุทธศาสตร์นี้อาจมีปัญหา

เพราะพรรคพลังประชารัฐได้มาเน็ต-เน็ตเพียง 115 รวมกับของพรรคพลังประชารัฐอีก 5 ก็เพียง 120 รวมกับของพรรคประชา ชนปฏิรูปอีก 1 พรรคพลังท้องถิ่นไท 3 ก็ได้ 124

ขนาดรวม 5 พรรคยังได้น้อยกว่า 136 พรรคเพื่อไทย

 

จำนวน 115 ที่พรรคพลังประชารัฐได้มาทำไมพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา มองไม่ออกว่าได้มาด้วยวิธี การแบบไหน

ทั้งๆที่ “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ DESIGN มาเพื่อพวกเรา”แท้ๆยังได้แค่นี้

นี่คือพลังทางการเมืองที่คสช.มีในมือ

เมื่อเป็นเช่นนี้อย่าได้แปลกใจเลยหากจะได้ยินเสี่ยงขู่คำราม มาจาก 245 เสียงของพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรี รวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย

และเสียงขู่คำรามอันมาจาก 113 เสียงของพรรคประชาธิ ปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา

ที่คิดว่าเป็น”ราชสีห์” ก็ต้องพึ่ง “หนู”

และเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา จับมือกัน โดยมี 245 เสียงของพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคต ใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย ผงาดยืนเหมือนผนังทอง แดงกำแพงเหล็กให้

ต่อให้เคยแข็งแกร่งมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 ก็เริ่มอ่อนปวกเปียก

 

ในทางยุทธศาสตร์จากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มายังเดือนพฤษภาคม 2552 คสช.มิได้แข็งแกร่งเหมือนที่เคยแข็งแกร่ง ตรง กันข้าม กลับอ่อนแรง โรยราอำนาจการต่อรองก็เหลือน้อยลงเป็นลำดับ

การตั้งแนวร่วมพันธมิตร 7 พรรคการเมืองต้านการสืบทอดอำนาจจึงมีผลสะเทือนอย่างลึกซึ้ง

ทำให้การต้านคสช.เริ่มขยายวงกว้างขวางยิ่งขึ้น