E-DUANG : ภาพ การเมืองเก่า ยุคคสช. สะท้อนผ่าน พลังประชารัฐ

ไม่ว่าภาพที่เห็นจากการคัดสรร 250 ส.ว.โดยคสช. ไม่ว่าภาพที่เห็นจากการใช้สูตรคำณวน ส.ส.บัญชีรายชื่อโดยกกต. ไม่ว่าภาพ การต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีกับพรรคพลังประชารัฐ

ล้วนเป็นภาพอันสะท้อนสภาพความเป็นจริงของการเมืองอัน เกิดขึ้นและดำรงอยู่

สรุปรวมได้ว่าเป็นการเมืองในยุค”คสช.”

นั่นก็คือ การเมืองจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มายังการ เมืองในเดือนพฤษภาคม 2562

เป็นฝีมือและความสามารถของ”คสช.”ล้วนๆ

ไม่ว่าจะมองผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะมองผ่าน “แม่น้ำ 5 สาย” ไม่ว่าจะมองผ่านพรรคพลังประชารัฐ

เห็นได้อย่างเด่นชัด สัมผัสได้โดยตรง

 

ถามว่าอะไรคือเหตุปัจจัยทำให้การเมืองภายหลังการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 24 มีนาคม เกิดขึ้นและดำรงอยู่เช่นนี้

คำตอบเพราะว่า “เจตนา” กับ”ผล”ไม่เป็นเอกภาพ

เจตนาที่เด่นชัดเป็นอย่างมากก็คือ ต้องการต่อท่อและสืบทอดอำนาจต่อไป

เห็นได้จากที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ

ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน สรุป”รัฐธรรม นูญฉบับนี้ DESIGN มาเพื่อพวกเรา”

แต่ผลกลับปรากฏออกมาอย่างชนิดสวนทางกัน

รูปธรรมง่ายๆก็คือ พรรคพลังประชารัฐไม่สามารถเอาชนะ พรรคเพื่อไทยได้ นั่นก็เพราะได้รับเลือกเข้ามาเพียง 115 ขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ 137

ยิ่งกว่านั้น พรรคอนาคตยังได้มาถึง 87

ตรงนี้แหละจึงนำไปสู่การคิดสูตรทำให้พรรคอนาคตใหม่ลดลง 7 แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อพรรคพลังประชารัฐได้มาเพียง 115

อำนาจการต่อรองกับพรรคการเมืองอื่นจึงลดลง

 

เมื่อเจตนาหรือความตั้งใจไม่เป็นเอกภาพกับผลที่ปรากฏผ่านการเลือกตั้ง จึงนำมาซึ่งการต้องยอมอ่อนข้อ

การเคลื่อนไหวระหว่างพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา จึงเด่นชัด

      เด่นชัดเป็นการเมืองที่”คสช.”จำเป็นต้องอ่อนข้อ