E-DUANG :​​ ​เสียงเงียบ อันอึกทึก ครึกโครม ​​รูปของ”ศิลปะ”กับ “การเมือง”

ไม่ว่าการไปเรียงรองเท้าหลากหลายสีบริเวณหน้าหอศิลปวัฒน ธรรม กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าการไปยืนเงียบๆโดยมีพลาสเตอร์ปิด ปาก ณ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ การประท้วงและแสดงความรู้สึกที่ไม่พอใจต่อ “กกต.

ที่หอศิลปวัฒนธรรมอาจเรียกว่า “สหบาทา”

ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอาจมีข้อความสะท้อนการไม่เห็นด้วยที่กกต.ไปแจ้งความกล่าวโทษที่มีการล่ารายชื่อกว่า 8 แสนรายชื่อเพื่อถอดถอน”กกต.

การแสดงออกลักษณะนี้ใช้คนไม่มาก ใช้เวลาไม่มากนัก ปรา กฎขึ้นแล้วก็หายไป

แต่ภาพที่ปรากฏกลับจำหลักอย่างหนักแน่น

 

ภาษาในทางศิลปะอาจจะเรียกปรากฏการณ์ที่หน้าหอศิลปวัฒน ธรรมว่าดำเนินไปในแบบ “แฮพเพ็นนิ่ง” เกิดขึ้นแล้วก็เลิกร้างหายไปอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ปรากฏการณ์ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอาจละม้ายเหมือนกับ “แฟลชชิ่ง”

เทียบไม่ได้เลยกับปรากฏการณ์ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประ ชาธิปไตยบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล เทียบไม่ได้เลยกับปรากฏการณ์ที่มวลมหาประชาชนยึดครองถนนราชดำเนิน

เพราะที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมก็มีเพียง 5 คนช่วยกันเรียงรองเท้า

เพราะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็มีเพียง 2 คน

ปรากฏการณ์เช่นนี้จึงมิได้อยู่ที่ “ปริมาณ” หากแต่อยู่ที่”คุณ ภาพ”และผลสะเทือน ไม่ว่าจะบนหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะตามเพจต่างๆในโซเชียลมีเดีย

การทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ผ่าน”สื่อ”ต่างหากที่สำคัญ

 

ต้องยอมรับว่านี่คือความต่อเนื่องจากปรากฏการณ์ชู 3 นิ้ว ต่อเนื่องจากการนั่งกินแซนด์วิช พร้อมกับอ่านนวนิยายเรื่อง 1984 ของ จอร์ช ออร์เวล

เป็นเสียงแห่ง”ความเงียบ” อันอึกทึก

เป็นกระบวนการทาง “ศิลปะ” ปรากฏผ่านเนื้อหาในทาง”การ เมือง” อันแหลมคมและสอดรับกับสถานการณ์ เป็นเอกภาพระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา

นี่คือ การเมืองผ่านศิลปะ และศิลปะผ่านการเมือง