E-DUANG : แคนดิเดต นายกรัฐมนตรี ตัวบุคคล พรรคการเมือง

ทำไมพรรคพลังประชารัฐจึงต้องเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา เป็นนายกรัฐมนตรี

คำตอบมีถึง 11 ข้อจากการสรุปของ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์

แต่โดยรวมแล้วก็ยอมรับว่า บทบาทในฐานะหัวหน้าคสช.ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือผลงานจากคุณสมบัติและความสามารถ

พรรคพลังประชารัฐจึงเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มี ความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ

บทสรุปนี้เท่ากับให้ความสำคัญกับ “ตัวบุคคล”

แต่คำถามก็คือพรรคการเมืองอื่นให้ความสำคัญกับบทบาท ของ”ตัวบุคคล”เช่นเดียวกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่

 

หากสำรวจแต่ละพรรคก็จะเข้าใจว่าเหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงจำเป็นต้องมอบตำแหน่งหัวหน้าพรรคให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชี วะ แม้จะทำให้พรรคแพ้การเลือกตั้งมาแล้วหลายหน

เพราะ นายชวน หลีกภัย ชราเกินไปและไม่ต้องการเป็นหัว หน้าพรรคอีก

ที่สำคัญยังเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมาะสม

ขณะเดียวกัน เหตุใดพรรคเพื่อไทยจึงผลักดัน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้มาอยู่ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

แม้ว่ามิได้มีตำแหน่งสำคัญภายในพรรค แม้ว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ปฏิเสธการเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค อันเท่า กับปฏิเสธการดำรงอยู่ในฐานะ ส.ส.

คำตอบเด่นชัดอย่างยิ่งว่า เพียงเห็นการเคลื่อนไหวของ นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยก็สูงเด่น

ไม่ว่าคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าคนรุ่นเก่า ล้วนชมชอบ

การทะยานขึ้นมาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะทำให้พรรคได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

ไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย

 

เห็นหรือไม่ว่า “ตัวบุคคล” ยังเป็นปัจจัยสำคัญในทางการเมืองที่มิ อาจปฏิเสธได้ กระนั้น “ตัวบุคคล”ก็ต้องอยู่ในเทศะอันเหมาะสม

นั่นก็คือ สามารถกลมกลืนไปกับประชาชน และได้รับการรอง รับจากรากฐานอันแข็งแกร่งของพรรค

“ตัวบุคคล”และ”พรรค”จึงเป็น 2 ส่วนที่สัมพันธ์กัน