E-DUANG : ความรู้สึก “ร่วม” ใน “สังคม” เรียกร้อง ต้องการ “เลือกตั้ง”

ความรู้สึก “ร่วม” ในเรื่อง “การเลือกตั้ง” กำลังกลายเป็นกระแสทาง สังคมอันเด่นชัดและเปิดเผยมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

ความคิดในเรื่อง “เลื่อน” จึงถูกตั้งข้อสงสัย

ความรู้สึก “ร่วม” เช่นนี้มิใช่ว่าอยู่ๆจะบังเกิดขึ้น หากแต่ดำเนินมาในลักษณะสะสม

เพราะว่าประเทศว่างเว้น”การเลือกตั้ง”มานาน

หากเปรียบเทียบจากสถานการณ์หลังรัฐประหารเมื่อเดือนตุ ลาคม 2501 มายังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 จะประ จักษ์ในความเป็นจริงทางการเมืองมากขึ้น

เมื่อปี 2501 กว่าจะได้เลือกตั้งก็ปี 2512 แต่ในปี 2557 เพียง รอ 5 ปีก็หงุดหงิดและไม่พอใจแล้ว

นี่คือพัฒนาการทางความคิดของ “พลเมือง”

 

ความจริงนับแต่สถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 เป็นต้นมาการเลือกตั้งได้ค่อยๆซึมซ่านและกลายเป็นวิถีหนึ่งในชีวิตทางการ เมืองของประชาชน

เพราะเมื่อเกิดรัฐประหารเดือนตุลาคม 2520 เพียง 2 ปีต่อมาก็ต้องเลือกตั้ง

เพราะเมื่อเกิดรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เพียง 1 ปีต่อมาก็ต้องเลือกตั้ง

เพราะเมื่อเกิดรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เพียง 1 ปีต่อมาก็ต้องเลือกตั้ง

รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 กระแสเรียกร้องต้องการ การเลือกตั้งเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้คสช.จะมียุทธศาสตร์”อยากอยู่ ยาว”และยื้อการเลือกตั้งกระทั่งมาถึงปี 2562

ความรู้สึก “ร่วม”ของประชาชนก็คือ จะมีการเลือกตั้งในเดือน กุมภาพันธ์ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวในเชิงอยากให้”เลื่อน”การเลือก ตั้งความหงุดหงิดจึงปรากฏ

นี่เป็นความรู้สึก”ร่วม”ที่แม้ว่าจะมีความจำเป็น แต่คสช.และรัฐบาลก็ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ สุขุมอย่างเป็นพิเศษ

 

หากประเมินจากความรู้สึก”ร่วม”ที่ดำรงอยู่อย่างหนาแน่นนับแต่มีการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายน 2560 เป็นต้นมา

ต้องยอมรับว่า ความเรียกร้องต้องการ”การเลือกตั้ง”ได้กลายเป็นกระแสที่หนักแน่นและจริงจังเป็นอย่างสูง

เป็นความหวังว่า”ประเทศชาติ”จะก้าวไปสู่ความหวังใหม่