“ผักแคบ” ยารสเย็น ลดน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ

“ผักแคบ”

ผักฯแฅบฯฯ อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ผักแคบ”

ผักฯแฅบฯฯ

อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ผักแคบ”

ภาษากลางเรียก “ตำลึง”

ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ivy gourd

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coccinia grandis L. (Voigt) โดยมีที่มาจาก coccineus ที่แปลว่า scarlet หรือสีแดงสด ซึ่งเป็นสีของผล

ตำลึง เป็นสมาชิกในวงศ์ฟักแฟงแตงต่างๆ (Family CUCURBITACEAE)

เป็นไม้เลื้อยมีมือจับ เถาสีเขียวแกมขาว เถาแก่สีเทาขรุขระเล็กน้อย

ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ขอบเว้า 3-5 แฉก ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อยซี่เล็กๆ ปลายหยักเป็นติ่งแหลม เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ 5-7 เส้น

ดอกเดี่ยว แยกเพศ อยู่แยกต้นออกที่ซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันรูปปากแตร ดอกเพศผู้มีอับเรณูเชื่อมกันขดไปมา ดอกเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยกแขนงสามแฉก

ผลสดแบบแตง รูปกลมรีถึงรูปขอบขนาน ขนาด 2.5×5 ซม.โดยประมาณ ผลอ่อนสีเขียว มีลายเส้นสีขาวตามยาว เปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม หรือแดงสดเมื่อสุก

ภายในมีเมล็ดแบนสีขาว รูปไข่กลับแกมขอบขนาน จำนวนมาก ติดที่ขอบด้านข้างแบบแตงกวา ขนาด 2-3 มม.

 

ผักแคบหรือตำลึงเป็นทั้งพืชอาหารและพืชยา นิยมใช้ใบยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหาร เช่น ต้มจืดตำลึงหมูบะช่อ ตำลึงผัดไข่ ใส่ในต้มเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยวตำลึง กินสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก ส่วนคนล้านนาเรามีเมนูส้าลูกตำลึงอ่อน โดยนำมาสับเป็นชิ้นขยำกับเกลือ บีบน้ำออกก่อนนำไปปรุงเพื่อช่วยลดความขม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนตำลึงเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนและใยอาหารที่ดี โดยมีปริมาณเบต้าแคโรทีน 18,608 IU และสารเส้นใย 1 กรัมต่อใบอ่อนตำลึง 100 กรัม

ประโยชน์ทางยา ใช้ได้ทุกส่วน ถือเป็นยารสเย็นโดยใช้

ราก ต้มดื่มช่วยลดไข้ ถอนพิษ และแก้อาเจียน เผาเป็นเถ้าทาแผล ผงเปลือกรากช่วยระบาย

ทั้งต้น (ราก เถา ใบ) รสเย็น รักษาโรคผิวหนัง โรคเบาหวาน แก้หลอดลมอักเสบ และช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ต้นหรือเถา มียางใสช่วยดับพิษ แก้อักเสบ ผสมกับน้ำว่านหางจระเข้ดื่มแก้วิงเวียนมึนงงศีรษะ และลดไข้

ใบ จากต้นเพศผู้ใช้ผสมยาเขียว ช่วยลดไข้ ทาถอนพิษ ขับเสมหะ แก้คัน และปวดแสบปวดร้อน

ดอก โขลกเป็นยาทาแก้คัน แก้ไข้ทั้งปวง หยอดตาแก้ริดสีดวงตา

ผล แก้ไข้หอบ ไข้อีสา และแก้ฝีดาษ เมล็ดตำกับน้ำมะพร้าว ใช้แก้หิด

มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ ลดการอักเสบแพ้บวมแดง ต้านเชื้อจุลชีพรักษาแผลเปื่อย ตำลึงใช้เป็นสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานของไทย โดยใช้ใบตำลึงช่วยบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย แพ้อักเสบ ผื่นคัน ผิวหนัง

สารสกัดตำลึงยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และแก้ไอ ทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง

ใบผักฯแฅบฯฯอูฯามาสูสีทาคายฯแมงฯบ฿้งฯ แก้คันฯได้ดีเนิ่อฯเจั้า ใบผักแคบเอามาสูสีตากายแมงบ้ง แก้คันได้ดีเน่อเจ้า แปลว่า ใบตำลึงเอามาขยี้ทาผิวที่ถูกขนบุ้ง แก้คันได้ดีนะคะ

รายงานสารเคมีจากส่วนต่างๆ ของตำลึง ได้แก่

ส่วนเหนือดิน พบ heptacesane, cephalandrol, beta-sitosterol, alkaloids cephalandrins A และ B

ผล พบ beta-amyrin acetate, lupeol, cucurbitacin B, taraxerone, taraxerol, beta-sitosterol, stigma-7-en-3-one

ราก พบ resin, alkaloids, starch, fatty acids, carbonic acid, triterpenoids, saponin coccinoside, flavonoid glycoside, lupeol, beta-amyrin, beta-sitosterol, taraxerol •