E-DUANG : จาก “รสช.2534” มายัง “คสช.2557”

ถามว่าเหตุปัจจัยอะไรทำให้เจตจำนงในการสืบทอดอำนาจของรัฐ ประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ของ”รสช.”ต้องล้มเหลว

แม้จะวาง”กลยุทธ์” อย่าง “แยบยล”

เริ่มจากส่งเทียบเชิญ “นักการทูตอาชีพ”ระดับ นายอานันท์ ปันยารชุน เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

ตามด้วยออกประกาศรสช.ตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง

จากนั้นก็กระชับอำนาจที่มีมาแต่เดิมจากพื้นฐานทางด้านการทหารเข้าไปยัง “ตำรวจ” และในแวดวงข้าราชการ”พลเรือน”

ส่งระดับ”เลขาธิการ”เข้าคุม”มหาดไทย”

แต่แล้วภายหลังการเลือกตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร อยู่ใน ตำแหน่งได้เพียงไม่กี่วันก็ต้องลาออก

ทำไม

 

บางคนอาจมองว่าเพราะ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เคยให้คำมั่นว่าจะไม่เป็น”นายกรัฐมนตรี” แล้วมาเป็น

เข้าทำนอง “ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ”

นั่นอาจเป็นสาเหตุ 1 แต่สาเหตุที่สำคัญอันสะสมและผ่านการรับรู้ของ “ชาวบ้าน”ก็คือ การเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อ “นักการเมือง” อย่างชนิดถอยกลับทิศ

ตอนออกประกาศรสช.ตรวจสอบทรัพย์สิน”นักการเมือง”พร้อมกับมอบหมายให้ พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ เสียงเชียร์ก็ดังสนั่นหวั่นไหว

แต่แล้วกลับไม่ทำไปตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด

ชาวบ้านเริ่มเห็นเมื่อมีการจัดตั้งพรรคสามัคคีธรรม เริ่มเห็นเมื่อมีการปล่อย “นักการเมือง” บางคนให้พ้นจากการประกาศขึงขังในตอนแรก

นั่นก็คือ การต่อสายเพื่อดึง”นักการเมือง”มาเป็น “ฐาน”อันนำไปสู่การสืบทอด “อำนาจ”

เมื่อผนวกกับการเสียสัตย์ก็เลยโก โซ บิก

 

จากภาพของรัฐประหารโดย”รสช.”เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ต่อมายังภาพของรัฐประหารโดย”คมช.”เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือ ภาพแห่งความต้องการสืบทอดอำนาจ และภาพแห่งแห่งการใช้บริการของ”นักการเมือง”

นักการเมือง”น้ำดี” อย่างเปี่ยมด้วย”ธรรมาภิบาล”

“นักการเมือง”พวกนี้เคยแวดล้อม”รสช.”มาแล้วอย่างอบอุ่น