จรัญ มะลูลีม : แนวคิดของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ว่าด้วยมุมมองที่มีต่อโลกมุสลิมปัจจุบัน (3)

จรัญ มะลูลีม

หมายเหตุ – 

Concluding Keynote Speaker ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ที่นำมาเสนอนี้มาจากการประชุมนานาชาติเรื่องความเป็นสายกลาง – แนวคิดของอิสลามในการเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านของ ASEAN – ประเทศไทย (Moderation – An Islamic Approach to Face the Global Transition on ASEAN – Thailand) ณ ห้อง 111 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.2017 จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Wasatiyyah Institule for Peace and Development of Thailand และ Chula Global Network ขอขอบคุณ ดร.มุฮัมมัด ฟาฮีม (Mohd Faheem) อาจารย์จากโครงการอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายเทปภาษาอังกฤษ
——————————————————————————-

ผมคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของเราทุกคน ผมเข้าใจที่รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนำเรื่องนี้มากล่าวถึงโดยปัญหานี้มิได้จำกัดเฉพาะประชาคมมุสลิม เฉพาะตัวแทนจากสำนักงานของรองอธิการ แต่ผมได้ถามคำถามนี้ที่ไม่ได้เป็นเรื่องของน้ำมัน ไม่ใช่การลงทุน และไม่ใช่การท่องเที่ยว

แต่ผมขอถามท่านทูตว่า สมมติว่ามีชาวมุสลิมอยู่สองคน คนหนึ่งอยู่ในที่ปกปิดถูกควบคุมและมีพื้นที่แคบมาก เขาหรือเธอก็เป็นมุสลิมที่ดี เขาละหมาดวันละห้าครั้ง เขาถือศีลอด เขาปฏิบัติพิธีกรรมทั้งหลาย แต่เขาอยู่ในสังคมปิดซึ่งถูกควบคุมอย่างเต็มที่ แต่เขาก็เป็นมุสลิมที่ดี

เอาละ มีชาวมุสลิมอีกคนหนึ่งที่อยู่ในที่เปิดกว้าง เต็มไปด้วยความหลากหลาย มีข้อเลือกมากมาย ไม่มีใครมาใช้อำนาจเหนือเขา ไม่มีใครมาบังคับเขาให้ทำอะไร แต่เขาปฏิบัติตามพิธีกรรมทั้งหลายที่เขาต้องทำในฐานะของชาวมุสลิมคนหนึ่ง

ผมขอถามถึงเขาหน่อยครับท่านเอกอัครราชทูตว่าคนไหนเป็นมุสลิมที่ดีกว่า

คอตามีรู้ว่านั่นเป็นเรื่องที่ปรับมาจากความคิดของอริสโตเติล เมื่ออริสโตเติลพูดถึงพลเมืองที่ดีและคนที่ดี อริสโตเติลพูดถึงพลเมืองที่ดีว่ามันขึ้นอยู่กับการปกครอง หากว่าท่านอยู่กับผู้กดขี่ ท่านก็ต้องยอมแม้ว่าท่านจะเป็นคนดี

แต่หากท่านอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ท่านต้องเข้าร่วมแล้วท่านก็เป็นคนดี และท่านไม่อาจยอมได้

หากท่านอยู่ได้การปกครองที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จท่านก็ต้องให้ความเคารพต่ออำนาจของผู้มีอำนาจหน้าที่ท่านไม่มีทางเลือก ดังนั้น พลเมืองที่ดีจึงขึ้นอยู่กับลักษณะของการปกครอง

อริสโตเติลกล่าวว่า คนดีก็ดีเป็นสากล ไม่ว่าเขาจะอยู่ภายใต้การปกครองใด ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมใดเขาจะพบว่าตัวเองมาจากตรงนั้น และเขายังคงเป็นคนที่ดี

คอตามีฟังผมพูดแล้วเงียบไปครู่หนึ่ง แล้วเอามือตบลงที่หัวเข่าของเขา หัวเราะแล้วหัวเราะอีก และกล่าวว่า ชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดีกว่าพวกเราที่อยู่แถบๆ นี้ เขาให้การยอมรับ

ด้วยเหตุนี้ เมื่อท่านอยู่ในบรรยากาศการควบคุมอย่างที่สุด แล้วในทันทีที่ทุกคนเผชิญกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ แล้วท่านจะทำอย่างไร? ท่านก็อยู่ในความสูญเสีย

 

นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น สำหรับผมความสุดโต่งหรือลัทธิการใช้อำนาจคือการปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาต้องพบกับตัวเอง พวกเขาปรับตัวไม่ได้กับพื้นที่เปิดที่ไม่มีใครมาสอนไม่มีใครมาออกคำสั่ง ไม่มีใครมาชี้ทาง พวกเขาจะต้องตัดสินใจเพื่อตัวเองว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลว โดยทันที นี่มิได้เป็นสิ่งแวดล้อมของพวกเขาที่เราต้องการ

ดังนั้น ถ้าเราต้องการความเปลี่ยนแปลงแต่เราไม่อาจเปลี่ยนได้ก็จงใช้ทุกวิถีทางไปจนถึงจุดของการเสียสละเพื่อเผชิญหน้ากับบรรยากาศที่เป็นอื่น

แต่ขออ้างจากอิบนุค็อลดูนอีกครั้ง

ท่านศาสดากล่าวว่า ท่านจะพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่ผิด หากว่าทำไม่ได้ก็ปล่อยตัวท่านไปตามสติสำนึกของท่าน อย่าได้บังคับในสิ่งที่ไม่ได้เป็นคำสั่งของสิ่งต่างๆ ที่มีมาแต่แรกซึ่งมีหะดีษในเรื่องนี้

ดังนั้น สำหรับผมความสุดโต่งและการก่อการร้ายเป็นอาการของการปรับตัวได้ไม่ดี ต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เนื่องจากการปรับตัว ต้องพยายามปรับให้เข้ากันได้กับความแตกต่าง

เพราะว่าท่านมิได้มีความสุดโต่งในตัวท่านเองอีกต่อไป

 

ผมไปฮาร์วาร์ดด้วยทุนการศึกษาของมูลนิธิ Rockefeller เมื่อผมเป็นรัฐมนตรีรองประธานของมูลนิธิ Rockefeller มาหาผมเวลาอาหารค่ำโดยมาขอคำแนะนำว่า เราต้องช่วยกันผลิตการปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ด้วยพันธุ์ข้าวที่จะทำให้ได้ข้าวจำนวนมากเรียกกันว่าการปฏิวัติเขียว

เราต้องการบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ เหมือนมูลนิธิ Rockefeller ท่านให้ความคิดกับผมบ้างได้ไหม?เขาพูดถึงความคิดของเขาออกมาว่าทำอย่างไร จึงจะเป็นอิสระ จากน้ำมันของตะวันออกกลาง

หลังอาหารค่ำ ผมพูดว่า ท่านสามารถจินตนาการและคิดถึงผลที่จะตามมาของความคิดนั้นได้ ตลอดขวบปีเหล่านี้ท่านให้การอุปถัมภ์พวกเขา สั่งเข้าพลังงานจากพวกเขา จ่ายให้พวกเขาเพื่อที่พวกเขาจะได้สร้างรัฐสวัสดิการ แต่เมื่อพวกเขามีแล้วท่านกลับมาพูดว่าจะถอนตัวออกไป ท่านพูดว่าท่านจะเป็นอิสระและเวลานี้พวกเขาเป็นอิสระไม่ใช่เพราะนโยบายของ Rockefeller แต่เป็นเพราะเทคโนโลยีซึ่งสามารถเอาก๊าซออกมาจากเปลือกหอยได้

ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเศรษฐกิจก็จะบ่ายหน้าดำดิ่งเข้าสู่ปัญหา ปัญหาและปัญหา

 

มาเลเซียมีเรื่องที่แตกต่างออกไปไม่ได้เป็นเพราะการขุดทรัพยากรในพื้นดิน แต่การขุดค้นเข้าไปในผู้คน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและประดิษฐกรรม

ดังนั้น แนวทางที่ท่านปรับเข้าสู่ราคาน้ำมันคือการที่ท่านเข้าสู่ความเป็นเจ้าของและเวลานี้หลายประเทศต้องหาทางที่จะจัดการ เนื่องจากเวลานี้อเมริกาเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน

นั่นคือปัญหาเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมีกลับมาระเบิดเข้าหาท่าน ท่านไม่ได้กังวลถึงคนอื่นๆ ท่านหยุดคิดไปเลยและต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเครื่องมือที่คุ้นเคย

ผมคิดว่าผู้คนที่ติดตามปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอุมมะฮ์มีความเข้าใจ

ผมไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไรให้ประชาคมภายนอกมีความเข้าใจ ด้วยการกล่าวเพียงแต่ว่าลัทธิวาฮาบีย์ (Wahabism) เป็นเครื่องหมายของอิสลามของผู้สุดโต่งและเคร่งจารีต ความเป็นอาหรับก็คือความเป็นวาฮาบีย์นั่นเอง

พวกเราส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเป็นชาฟิอี (หนึ่งในสำนักคิดของซุนนีอิสลาม) และเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างที่อยู่ร่วมกันได้มาแล้วในอดีต

เวลานี้กระบวนการของความเป็นอาหรับก็คือการก่อความตึงเครียด การเผชิญหน้าและความขัดแย้ง

ดังนั้น จุดที่นะเฏาะละตุลอุลามาอ์ในอินโดนีเซียได้มีวิดีโอคลิปออกมาเรื่องการอำนวยพรของพระผู้เป็นเจ้าจากอินดีสตะวันออก

นั่นก็หมายความว่าการอำนวยพรนี้ไม่ได้มีเฉพาะแต่ท่าน ดังนั้น เมื่อท่านใช้สิ่งแวดล้อมแบบนั้น มันก็จะเป็นการยากที่จะปรับเข้ากับโลกกว้างซึ่งสิ่งต่างๆ มีความแตกต่างกัน

Machiavelli กล่าวว่ากิจการต่างๆ ของมนุษย์จะอยู่ในภาวะไหลลื่นอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไหวตลอดเวลาขึ้นลงอยู่เสมอซึ่งท่านไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น ท่านต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ผลของการก่อการร้ายหรือการเคร่งจารีตหรือความสุดขั้วเป็นอาการของการไม่อาจปรับตัว ในขณะที่การปรับตัวได้ก็เป็นอาการของการได้รับการคุ้มครองในบรรยากาศที่ท่านรู้สึกปลอดภัย