พลิกสยามตามหา ‘อั๊กลี่อเมริกัน’ :* History is future เมื่อประวัติศาสตร์ย้ำรอยอนาคต

Introduction to ห้องสมุด 24 ช.ม. ในฝัน

ข้าพเจ้าโชคดีที่มักได้ทำงานที่ได้พัฒนาหัวสมองตัวเองอยู่เสมอ อีกทั้งบางงานมีผลถึงขนาดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการของชีวิต

งานวิจัยปัจจุบันก็เช่นกัน ผู้ใหญ่แนะนำให้ทีมงานอ่าน อั๊กลี่อเมริกัน ปูพื้น งานนี้จึงไฉไลมาก เพราะทำให้ได้เข้าห้องสมุด

ห้องสมุด 24 ช.ม. เปิดปลายปี 2559 นี้บนราชดำเนิน
ห้องสมุด 24 ช.ม. เปิดปลายปี 2559 นี้บนราชดำเนิน

หลังจากข้าพเจ้าได้เสิร์ชหาหนังสือเก่า เพื่อจะสั่งซื้อ แต่ก็หาไม่พบ สุดท้ายหลังจากที่โทร.สอบถามไปที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง สุดท้ายก็ต้องกลับมาที่เดิม ท่าพระจันทร์

ก้าวเท้าลงเรือคลองแสนแสบอย่างมั่นใจ ย้อนรอยเส้นทางสมัยเรียน ขึ้นเรือที่ท่าผ่านฟ้า เดินผ่านชุมชนป้อมมหากาฬ (ที่กำลังไล่รื้อ) ผ่านหอสมุด 24 ช.ม. (ของ กทม. ที่กำลังก่อสร้าง)

ก่อนเดินไปติดต่อที่เคาน์เตอร์ และผลดีของการประสานงานมาก่อนก็ทำให้ได้รับการบริการที่รวดเร็วมาก (ฝากชมห้องสมุดปรีดีฯ ค่ะ)

 

อั๊กลี่อเมริกัน และวิดีโอเทป

โอ พระเจ้า วันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ ในการใช้ชีวิตแบบพรีมิทีฟครบวงจร หลังรับกระดาษที่เคาน์เตอร์จดให้มา ข้าพเจ้าก็ฝันถึงหนังระบบดิจิตอล (ฮา) แต่ที่ได้มาคือ ม้วนวิดีโอเทป หลังเดินผ่านห้อง เรวัติ พุทธินันทน์ เข้าไป คุณน้าเจ้าหน้าที่ บอกว่าเข้านั่งข้างในเลย เพราะอุปกรณ์ (ของเธอ) ไม่เหมือนชาวบ้านเขา (ฮา)

3

นั่งอ่านหนังสือ พลางจับจ้องในภาพเคลื่อนไหวข้างหน้า ที่เห็นหน้า มาร์ลอน แบรนโด รู้สึกทำให้อเมริกันเสื่อมมนต์ขลัง และหนังก็ประหลาดๆ พิกล เหมือนเป็นหนังตลก แต่ก็มีบทสนทนาที่เหมือนจะเอาจริง

หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช ของเราทำได้ดี แต่ก็ไม่รู้สิ รู้สึกแต่ว่าหนังเรื่องนี้ จริงแล้วๆ มันสร้างขึ้นมา เพราะสาเหตุประการใดกันแน่ ไม่ว่าจะด้วยสงครามเย็น การหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ หรือการจะเข้าแทรกแซงประเทศอื่น นึกสงสัยว่าเป็นการคิดรอบคอบแล้วหรือที่ตั้งชื่อเรื่องประณามตัวเองแบบนี้

เท่าที่อ่านความเป็นมาแล้วก็ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีเท่าไหร่นัก แล้วยังทำให้บทบาทของนักการทูตของแบรนโดดูไม่เท่เหมือนที่เคย

เฟรมที่ปัจจุบันมากๆ
เฟรมที่ปัจจุบันมากๆ

มาร์ลอน แบรนโด สิ้นมนต์ขลัง

อั๊กลี่อเมริกัน เป็นหนังในปี 1963 ในวิกิพีเดีย เรียกมันว่า เป็นแอดเวนเจอร์ ฟิล์ม เป็นหนังจากหนังสือจากฝีมืออดีตททารเรืออเมริกัน คือ วิลเลี่ยม เลดเดอเรอร์ และ ยูยีน เบอร์ดิก ซึ่งเป็นทหารเรือในช่วงสงครามโลกครั่งที่สองด้วยเช่นกัน

อีกทั้งใช้นักแสดงญี่ปุ่นในบทสำคัญซึ่งน่าจะเป็นคนไทย แต่พลิกดูประวัติแล้ว เขาเป็นนักแสดงญี่ปุ่น ที่เคยเป็นทหาร ในช่วงสงครามโลก

ดูแล้วอยากให้ทุกคนหาดูกัน เพราะอยากให้รบศึกนอกมากกว่าศึกใน

แม้บทนำในหนังสือบอกว่า ต้องสมมติเหตุการณ์ทั้งหมด เพราะไม่ต้องการให้ประเทศไหนต้องอับอาย หรือเสียหน้า

ซึ่งเป็นการออกตัวไว้ก่อน เพราะคงไม่เพียงแค่ มาร์ลอน แบรนโด ที่สวมบทบาทนักการทูตหล่อเหลา แต่แปลกที่มันไร้เสน่ห์จริงๆ คงเพราะหมดเวลาของอเมริกาแล้วกระมัง

เอ หรือว่า เราจะอคติ ไม่น่านะ (ฮา)

 

บทลา History is Future อนาคตต้องไม่ซ้ำรอยเดิม

อนาคตโลก และทิศทางระหว่างจีนและอเมริกา จึงน่าติดตามมาก เพราะเหตุการณ์การรับน้องโอบาม่าในการประชุม จี 20 นั้นถือเป็นเคสคลาสสิกไปอีกนาน ราวสคริปต์ที่ซ้อมบทกันมาอย่างดี

ประเด็น “นี่คือแผ่นดินของจีน” แม้ดูเล็กๆ แต่ก็ส่งผลให้นักวิเคราะห์การเมืองวิพากษ์กันอย่างเมามัน

เพราะถ้าในการทูตในระดับนี้แล้ว ไม่น่าจะเป็นความผิดพลาด นอกจากเจตนา

ทำให้คิดไปว่า ถ้า โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีอเมริกา รอบนี้ก็ดีเหมือนกัน อาจจะมีชาวอเมริกันเขียนหนังสือ ซูเปอร์ อั๊กลี่อเมริกัน ออกมาก็ได้

แต่ไม่ว่าอย่างไร ในตอนจบของหนังพยายามหาทางลง โดยให้แบรนโดพูดแล้วก็จบไปดื้อๆ ว่า เขาเองก็โศกเศร้าเช่นกันที่อยู่ฐานะของทูตนาม แม็กไวต์

“นี่มันไม่ใช่อเมริกาในวันที่มันถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว

อเมริกาที่หลุดจากการเป็นเมืองขึ้น อเมริกาที่ถูกขนานนามว่า เป็น Land of Opportunity