ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 มีนาคม 2568 |
---|---|
คอลัมน์ | โลกทรรศน์ |
ผู้เขียน | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ |
เผยแพร่ |
โลกทรรศน์ | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์
เรื่องทักษิณ ชินวัตร กับภูมิภาค
เรื่องทักษิณ ชินวัตร กับภูมิภาค คือเรื่องทักษิณ ชินวัตร กับวิกฤตการณ์ในเมียนมาและความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียกับอาเซียน
ตอนแรกผมคิดว่าทักษิณเป็นคนที่ชอบเรื่องต่างประเทศ เรื่องภูมิภาคอยากมีบทบาทนำและไปเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ ซึ่งทำมาตั้งแต่เข้าสู่การเมืองสมัยแรกที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในโควต้าพรรคพลังธรรมสมัยรัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์
แต่เมื่ออ่านงานของ ดร.ณพล จาตุศรีพิทักษ์ นักวิชาการหนุ่มไฟแรง ผู้มาจากครอบครัวดีและมีการศึกษาดี ที่ทำงานในสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงของสิงคโปร์1 เรื่องทักษิณกับภูมิภาคเป็นมากกว่าความชอบส่วนตัว แต่ได้เห็นเบื้องหลัง และผลที่จะตามมาต่อไทยและอาเซียน
ผมจะขอประมวลบทความนี้และเสนอความเห็นเพิ่มดังนี้
ทักษิณกับอันวาร์
ทักษิณได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของ อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ เขาเจอกันตั้ง 3 ครั้ง
ครั้งแรก อันวาร์พบทักษิณในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียนบนเรือยอชต์ ใกล้เกาะหลีเป๊ะไทยปลายธันวาคม 2024 คุยกันเรื่องความขัดแย้งในภาคใต้ของไทย และวิกฤตการณ์เมียนมา
ครั้งที่ 2 1 เดือนต่อมา พวกเขาพบกันอีกที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย พูดเรื่องเมียนมาอีก ตามด้วยกรอบอาเซียนว่าด้วยคริปโตเคอเรนซี่
ครั้งที่ 3 พบร่วมกับสุลตาน Hassanal Bolkiah แห่งบูรไน มีการพูดถึงปฏิบัติการหลอกลวงบริเวณชายแดนไทยและความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
เป็นไปได้ว่าอันวาร์เห็นทักษิณ คือสิ่งที่หมายถึงการหันหน้าไปที่บางส่วนของความขัดแย้งเหล่านี้ บนพื้นฐานการดีลธุรกิจระหว่างประเทศมาหลายทศวรรษ และความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ฮุน เซน แห่งกัมพูชา และมิน อ่อง ลาย แห่งเมียนมา เครือข่ายเหล่านี้ อาจเปิดประตู โดยเฉพาะในเมียนมา ที่ช่องทางราชการต้องดิ้นรนเข้าไปและพบอุปสรรค
การเข้าถึงของทักษิณ ยังหมายถึง เส้นตรงสู่กุญแจสำคัญด้วยคือ เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศไทยทันที และลูกสาวของเขา แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศผู้ภักดีและผู้ช่วยส่วนตัวยาวนาน
ในทางทฤษฎี 2 เรื่องนี้บอกเป็นนัยว่า การมีความใกล้ชิดกับทักษิณ สามารถช่วยให้ไทยทำพร้อมอาเซียน โดยเฉพาะเมียนมา ที่ในประวัติศาสตร์เป็นอันธพาล ขัดแย้งกับข้อตกลงของรัฐสมาชิกอาเซียน
แต่อาจารย์ณพลชี้ว่า ทักษิณพิสูจน์แล้วว่า เป็นหนี้สินมากกว่ามีทรัพย์สิน ที่ทักษิณพัวพันเองและช่วยแก้ปัญหา ทักษิณเอามันใส่กระเป๋าการเมืองที่เขาหิ้ว ให้ภาพไทยแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายมากที่สุด
เราลองมาดูกัน
เมียนมา
ทักษิณล้มเหลวในการเป็น “ตัวการสร้างสันติภาพ”
พฤษภาคม 2024 ทักษิณเสนออะไรเล็กน้อย แล้วคาดว่าได้ผลลัพธ์
แต่รัฐบาลเมียนมาหรือ State Administration Council-SAC ยังคงครองส่วนใหญ่ของดินแดน
ความผูกพันกับมิน อ่อง ลาย ทำให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลคาดหวังว่า ทักษิณจะเป็น “ผู้ตัดสินที่เป็นกลาง”
ในขณะที่ความผูกพันจริงๆ ของเขา อาจไม่แข็งแรงเพียงพอในการนำ SAC เข้าสู่โต๊ะเจรจาอย่างเท่าเทียม
มากกว่านั้น สถานะทักษิณยังกำกวมระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีเงา กับการถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่สามารถเซาะกร่อนบ่อนทำลายความพยายามของเขา และสถานการณ์ประนีประนอมในไทย
รัฐบาลไทยไม่สามารถแต่งตั้งเขาอย่างเป็นทางการ ไม่มีคำนำหน้าทางการทูต ทำให้ทักษิณไม่มีเครดิตและความชอบธรรม ที่ต้องการการรักษาข้อตกลงสุดท้ายใดๆ
ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลไทยล้มเหลวที่จะเขย่ามันให้กว้างมากขึ้นว่า นี่คือการกระทำภายใต้อิทธิพลของเขา
มันได้แพร่ความสับสนว่า ใครพูดจริงเรื่องนโยบายไทยต่อเมียนมา
อาจารย์ณพลเสนอว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตของทักษิณชี้นำโดยผลประโยชน์ส่วนตัวของเขาเอง ไทยหรืออาเซียนมีลำดับความสำคัญกว่ากัน ใครก่อนใครหลัง อะไรที่ทักษิณทำจะสะท้อนรัฐบาลไทยและอันวาร์ด้วยตอนนี้
มีบางข้อโต้แย้ง บางพวกเห็นว่า สุดท้ายแล้ว บทบาททักษิณคืออันดับ 2 และให้คำปรึกษาจริง ไม่มีข้อผูกมัดการกระทำต้องทำตามคำปรึกษาของเขา มาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนอาจจะนำข้อสรุปวิกฤตอาเซียนมาใช้ นี่อาจจะจริง แต่ฉากทัศน์ความเกี่ยวข้องของทักษิณส่งสัญญาณซ้อน
จึงเกิดคำถามว่า อาเซียนยังคงยึดมั่นแนวทางประสานงานต่อเมียนมา หรือปักหมุดอย่างไม่เป็นทางการแทน คือการใช้ยุทธศาสตร์บุคลิกภาพนำ แล้วร้องคร่ำครวญถึงผู้นำบุคคลเหมือนทักษิณ ผลคือ ทักษิณคือความยุ่งยากซับซ้อนที่ไม่จำเป็น
ปิดบังสถานะอาเซียนในเวลานี้ ที่ต้องการความชัดเจนและมีจุดยืนรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในวิกฤตการณ์เมียนมา
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
ประวัติทักษิณเรื่องชายแดนใต้ของไทยบอกเอง ทักษิณคือความทรงจำที่ดีที่สุดของไฟใต้คือ ไม่สนใจกลุ่มก่อการร้าย เป็นโจรกระจอก และทำการตำหนิงานข่าวกรอง
ช่วงเป็นนายกรัฐมนตรีได้นำไปสู่นโยบายแข็งกร้าวต่างๆ ที่เร่งความตึงเครียดที่แหลมคมระหว่างฝ่ายก่อความไม่สงบกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐ
ตุลาคม 2024 ช่วงรัฐบาลลูกสาวของเขา ด้วยสถานะข้อจำกัดระยะสิ้นสุดความรับผิดชอบในคดีสังหารที่ตากใบ อนุญาตให้พวกเขาเป็นอิสระ ไม่ต้องรับผิดชอบ 4 เดือนต่อมา การเยือนปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ทักษิณขออภัยการรกระทำในอดีตของเขา แต่คำพูดของเขาอาจแสดงความไม่จริงใจนานตราบเท่าที่รัฐบาลลูกสาวของเขาไม่พยายามแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ครอบครัวของเหยื่อเหตุการณ์ตากใบ
ถ้าแผนของอันวาร์คือ มาเลเซียเล่นบทบาทมากกว่าเดิมในการเป็นตัวกลางเจรจาสันติภาพภาคใต้ไทย การเกี่ยวข้องหรือร่วมกับทักษิณไม่เพียงเป็นการให้คำปรึกษาไม่ดี แต่เกี่ยวกับเครดิตมาเลเซียลดลงในกระบวนการที่พวกเขา “เป็นกลาง” แล้วเกิดคำถามขึ้น มาเลเซียไม่ได้เสียอะไรจากความขัดแย้งที่มีความเข้มข้นต่ำ มันกลับป้องกันการทุ่มเทการควบคุมอย่างสมบูรณ์ในชายแดนใต้ ในขณะที่หลีกเลี่ยงให้ผู้อพยพมุ่งหน้าลงไทยไปมาเลเซีย
ดีลอันวาร์-ทักษิณมีความหมายต่อทักษิณ มันเป็นหนทางให้เขากลับสู่การทูตภูมิภาค และโดยเฉพาะฟื้นฟูภาพลักษณ์ของเขาหลังก้าวสู่ พันธมิตรพิษร้าย ที่ทำลายยี่ห้อการเมืองของเขา
สำคัญที่สุด ดีลให้ทักษิณแก้ตัวง่ายๆ ได้รับอนุญาตจากรัฐเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าหลายสิ่งในบ้านแย่ลง
สรุป
การเดินทางไปมาเลเซียและพบกับอันวาร์มีความหมายต่อทักษิณ เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของเขาคือเป็นทั้งการกลับสู่การทูตภูมิภาคที่สร้างภาพลักษณ์ดีต่อเขาและผลประโยชน์ส่วนตัว ตามประวัติของเขาเอง
ไปพนญเปญครั้งแรกสมัยเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศโควต้าพรรคพลังธรรม ธุรกิจที่ดินก็เกิดขึ้น หลังจากนั้นธุรกิจโทรคมนาคมก็พัฒนา
เขาไปเมียนม่าก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี ธุรกิจโทรคมนาคมร่วมกับลูกชายผู้นำทหารเมียนมาก็เกิดขึ้น
ความเป็นจริง วิกฤตการณ์เมียนมายังไม่ยุติ ข้ออ้างว่าทักษิณใกล้ชิดกับมิน อ่อง ลาย ทำลายความ “เป็นกลาง” ทำให้ SAC อ่อนแอ เพลี่ยงพล้ำบนโต๊ะเจรจา
ที่สำคัญ การทูตส่วนตัวแบบทักษิณสร้างความสับสนว่า ใครเป็นคนพูดความจริงในนโยบายต่างประเทศไทย แล้วบดบังสถานะและความชอบธรรมของอาเซียนที่มีจุดยืนเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวในการแก้ปัญหาเมียนมา
วิกฤตไฟใต้ มีความเห็นจาก ไชยยงค์ มณีรุ่ง ส.ว. สาเหตุกองกำลังติดอาวุธขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์ไอ มีการก่อเหตุร้ายมากขึ้นและรุนแรงขึ้น มาจากทักษิณเคลื่อนไหวขอให้มาเลเซียกดดันขบวนการที่มีฐานอยู่ในรัฐกลันตัน มาเลเซีย2
อันวาร์อาจหวังความสัมพันธ์ของทักษิณกับผู้นำอาเซียน แต่เพราะทักษิณและการทูตส่วนตัวของเขาทำให้ไม่รู้ว่า นี่คือผลประโยชน์ภูมิภาค หรือของไทยหรือตอนนี้อันวาร์และมาเลเซีย ไปๆ มาๆ ทักษิณไม่ได้ชอบไปเที่ยวที่มาเลเซีย เขาอ้างง่ายๆ ให้รัฐไทยอนุญาตไปประชุมอาเซียนที่มาเลเซีย จริงๆ การเดินทางออกนอกไทยเป็นช่วงที่ไม่แน่นอนและหลายอย่างในไทยแย่ลง ดังนั้น จึงไม่มีการผลักดันการเจรจาสันติภาพในภาคใต้ที่ค้างมานาน
ไทย มาเลเซีย และอาเซียน จึงไม่ได้อะไร
1Napon Jatusripitak, “The Anwar-Thaksin Deal : A Masterstoke or Miscalculation,” Fulcrum, ISEAS, 5 March 2025.
2-“ส.ว.ห่วงไฟใต้รุ่นแรงขึ้น,” แนวหน้า 17 กุมภาพันธ์ 2568.
สะดวก ฉับไว คุ้มค่า สมัครสมาชิกนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ได้ที่นี่https://t.co/KYFMEpsHWj
— MatichonWeekly มติชนสุดสัปดาห์ (@matichonweekly) July 27, 2022