MatiTalk นักจิตวิทยา ดร.ชาญ รัตนะพิสิฐ ชวน ‘เข้าใจ’ คน Gen Z ทำไมไม่อดทนต่อความไม่ถูกต้อง

ดร.ชาญ รัตนะพิสิฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้สัมภาษณ์มติชนสุดสัปดาห์ ผ่านรายการ MatiTalk ถึงช่องว่างความเข้าใจระหว่าง Gen (Generation) Z กับเจเนอเรชั่นก่อนหน้า ว่า Gen Z เป็นรุ่นที่เกิดมาหลังจากยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารหรืออินเตอร์เน็ตมีการพัฒนาแล้ว ดังนั้น การเปิดรับข่าวสารหรือเรื่องราวต่าง ๆ ส่งผลต่อชีวิตโดยตรงเมื่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากขึ้น มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจของตัวเองมากขึ้น เขาก็เลยรู้สึกว่าเขาสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

Gen Z อาจจะรู้สึกว่าในเมื่อสามารถทำอะไรได้อย่างรวดเร็ว มีเครื่องมือ มีเทคโนโลยีที่ช่วยเขาได้เต็มไปหมด รวมถึงข้อมูลที่มีมากมาย ทำไมจึงต้องไปอดทนในสิ่งที่เขารู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะกับเขา

เมื่อเขารู้สึกอย่างนั้นเลยทำให้การแสดงออกบางอย่างดูรวดเร็ว มีอิสระในตัวเองมากขึ้น แต่ด้วยความอิสระนั้นอาจทำให้เขาทำตามใจหรือทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

แต่ก็อาจจะไปขัดใจบางคน ที่อาจจะอยู่ในช่วงที่เทคโนโลยีไม่ได้รวดเร็วขนาดนั้นเวลาจะทำอะไรมันก็ต้องอาศัยการรอ การอดทน มีการสื่อสารแบบตัวบุคคลระหว่างบุคคลมากกว่าในรูปเสมือนหรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก

มันก็เลยทำให้คนรุ่นก่อนรู้สึกหรือมองว่า Gen z เป็นรุ่นที่ทำไมไม่ค่อยอดทน ทำอะไรเร็ว ทำอะไรตามใจ ไม่ยอมสื่อสารกับเขา แบบ face to face

นั่นอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจไม่ตรงกัน

ดร.ชาญกล่าวอีกว่าการปรับตัวของ Gen z นั้นด้วยความที่เขาเกิดมาด้วยการที่ทำอะไรรวดเร็วอยู่แล้ว เพราะว่าข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจหรือสังคม เช่น Gen z บางคนหรือหลายๆ คนมีเวลาอาจอยู่กับครอบครัวอย่างจำกัด ดังนั้น เวลาที่เขาใช้ในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาลักษณะนิสัย จึงมีความรวดเร็วตามไปด้วย

การที่เขาต้องปรับตัวกับอะไรเร็วๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคมในการเรียน โดยเฉพาะระบบการศึกษาเมืองไทย ซึ่งคาดหวังว่าเด็กจะต้องเรียนรู้เยอะๆ จะได้เก่งก็อัดเนื้อหามากๆ จนบางครั้งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเนื้อหาที่ถูกจัดมาเหมาะสมหรือเปล่า

ดังนั้น ผมว่าเรื่องการปรับตัว Gen Z จะค่อนข้างปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว แต่ปรับตัวแบบละเอียดขนาดไหนก็อาจจะเป็นยังเป็นที่กังขาหรือสงสัยอยู่

คือปรับตัวได้เร็วแต่ว่าละเอียดพอที่คนอื่นจะชอบกับการปรับตัวของเขาไหม

ธรรมชาติของคนอยากจะให้มีคนชอบเราอยู่แล้ว ซึ่งพอสื่อต่างๆ เข้ามารูปแบบหรือแนวทางที่เราพบเห็นได้ตามโซเชียลเน็ตเวิร์ก อยากเป็นคนอย่างนี้ทำอย่างนี้สิ ก็เหมือนทางลัดให้เขา งั้นฉันทำอย่างนี้เลยดีกว่าแล้วคนอื่นจะได้ชอบฉัน

แต่จริงๆ มันเป็นตัวตนของเขาหรือเปล่า เป็นอีกจุดหนึ่งที่พอเขาปรับที่ในสิ่งที่อาจจะไม่ใช่ตัวของเขาเองหรือต้องการทำเพื่อตามกระแสสังคมให้ทันเพื่อการถูกยอมรับทำให้การปรับตัวของเขา บางครั้งอาจจะดูฉาบฉวย สำหรับบางคนที่มองลงไป

บางทีเขาเองก็มองว่าฉันทำอย่างนี้มันเหมาะสมแล้ว แต่มันไม่มีใครที่จะไปบอกเขาได้ว่ามันเหมาะสมจริงหรือเปล่า

 

ดร.ชาญกล่าวถึง Generation Grab ว่ามีอยู่แล้วตามสภาพสังคมตามสภาพเศรษฐกิจ ตามสภาพสิ่งแวดล้อม ตามความเป็นไปของโลก

อย่างเมื่อก่อนประเทศไทยก็คือประเทศไทย ไม่ได้ต้องยอมรับกับความหลากหลายเหมือนสมัยนี้ ซึ่งเราอาจจะเห็นคนที่ยึดติดกับกรอบเก่าๆ อย่างเช่น มีคนมองว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างนี้ไม่น่ารัก แต่นั่นก็หมายความว่าเขาอาจจะรู้สึกว่าการแสดงความคิดเห็นแบบเปิดกว้าง สุดโต่งในลักษณะแบบใหม่อย่างนี้ ถ้าเป็นสมัยฉันทำไม่ได้หรอกนะ

แต่ถ้าถามว่าเขาผิดไหมก็ไม่ผิด เพราะว่าเขายังคงรับเอาบรรทัดฐานสมัยนั้นมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอยู่

มันเป็นเรื่องที่มุมมอง

 

ดร.ชาญประเมินอุปสรรคในอนาคตเมื่อ Gen Z ต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานว่า อุปสรรคแรกที่ต้องเจอ คือโอกาส ซึ่งโอกาสเหมือนจะกว้าง แต่มันเปิดกว้างให้สำหรับคนที่มีความสามารถและรู้ว่าตัวเองเด่นอะไร แล้วขายความสามารถของตัวเองออกมาให้เด่นชัดได้

สมมุติว่าคุณเป็นคนที่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ หาจุดเด่นไม่ได้ ดึงเอาจุดเด่นของตัวของตัวเองออกมานำเสนอไม่ได้ โอกาสในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วอยากได้งานที่ตัวเองต้องการจริงอาจจะต่ำลง

และด้วยสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจตอนนี้หลายๆ ครั้งเขาอาจจะต้องถูกบีบให้ต้องหางานที่สามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตัวเองได้อย่างรวดเร็วบางคนก็อาจจะเลือกทำงาน 2 งานไปพร้อมกัน

สำหรับสิ่งที่อยากแนะนำ คิดว่าแต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขเบื้องต้นอยู่แล้วว่าจะรับคนแบบไหนเข้ามาทำงาน

ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคน Gen Z เวลาจะไปสมัครงานที่ไหนต้องหาข้อมูล ทั้งเรื่องของลักษณะงาน เงินเดือนที่คาดหวัง เพื่อพิจารณาตัวเองว่าทักษะความรู้ความเข้าใจหรือประโยชน์ที่ตัวเองจะทำให้กับองค์กรนี้มีอยู่ตรงไหนบ้าง แล้วสามารถนำเสนอตรงนั้นออกมาให้องค์กรรับรู้และอยากรับตัวเองเข้าทำงาน

ที่สำคัญเป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะอยากรักษาสิทธิ์ตัวเองก่อน เอาง่ายๆ แค่ประโยคๆ หนึ่งที่อยู่ในใบสมัครงาน เช่น “งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเห็นว่ามีความเหมาะสม” บางคนไม่ยอมรับข้อนี้บอกว่าอย่างนี้มันเปิดกว้าง

แต่ว่าในแง่มุมของบริษัทการที่ระบุละเอียดไปแล้วหากเกิดอยู่ดีๆ มีงานที่นอกเหนือที่ต้องการจิตอาสาคุณจะไม่ยอมรับเสียสละเพื่อองค์กรเลยหรือ มันก็มองกันคนละมุม

ก็เลยรู้สึกว่าการรักษาสิทธิ์ทุกคนก็อยากรักษากันทั้งนั้น แต่ถ้าเกิดเราสามารถชี้แจงอย่างละเอียดจนเข้าใจก็น่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้

ดังนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทต้องปรับตัวหาข้อมูลว่าเด็กสมัยใหม่ต้องการอะไรแล้วงานที่เราเสนอให้รวมถึงเรตค่าตอบแทนสวัสดิการอะไรต่างๆ มันจูงใจคนเก่งๆ มาสมัครหรือเปล่า ในขณะเดียวกันผู้สมัครก็ต้องหาข้อมูลด้วย

อย่างน้อยถ้าถามว่าบริษัทเราทำเกี่ยวกับอะไรอย่างน้อยคุณควรจะตอบได้

หรือความรู้ความเข้าใจของคุณจะเข้ามาช่วยบริษัทตรงจุดไหนได้บ้างก็ต้องตอบได้ขายตัวเองเป็นแล้วก็รวมถึงสวัสดิการก็ต้องมีการทำความเข้าใจกันตั้งแต่ต้น

ถ้าคุณมีประสบการณ์มากขึ้น คุณทำงานได้ดี เชื่อว่าบริษัทก็จะเห็นและคงมีการเลือนตำแหน่ง สุดท้ายผมว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องหาข้อมูลแล้วและยื่นข้อเสนอที่เหมาะสมที่จูงใจทั้งสองฝ่ายได้

สุดท้าย ดร.ชาญกล่าวว่า โลกมันเปลี่ยนไปแล้วและเปลี่ยนไปทุกวัน แรกเริ่มเราก็ต้องเข้าใจก่อนว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แล้วเราก็คงต้องปรับตัวรับฟังกันมากขึ้น อย่างมีเหตุผล ละตรรกะตัวชั้นของชั้น

ถ้าคุยกันด้วยเหตุผลหรือเข้าใจข้อจำกัดของแต่ละฝ่ายน่าจะปรับตัวเข้าหากันได้ เข้าหากันด้วยการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ถ้าสื่อสารด้วยกันได้ก็น่าจะจูนเข้าหากันได้