ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6 - 12 ธันวาคม 2567 |
---|---|
คอลัมน์ | โลกทรรศน์ |
ผู้เขียน | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ |
เผยแพร่ |
“…ยูเครนวันนี้อาจเป็นเอเชียตะวันออกพรุ่งนี้…” นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ฟุมิโอะ คิชิดะ กล่าวไว้1
หากใครจำประโยคนี้ได้ นับเป็นประโยคที่บอกถึงโลกอนาคตอย่างแม่นยำของอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครเชื่อ
แต่ตอนนี้สมการการเมืองระหว่างประเทศและผู้เล่นคนสำคัญร่วมกันประกอบสร้างให้ยูเครนใกล้เคียงกับสภาพเช่นนี้
ทำไมและผลจะเป็นเช่นไรคือเป้าหมายของบทความสั้นนี้
การเมืองโลกในทิศทางใหม่
มีข้อสงสัยมากมายเรื่องการสนับสนุนยูเครนของสหรัฐอเมริกาก่อนการชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของโดนัลด์ ทรัมป์ พวกเขากังวลความสามารถของยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซีย
ความจริงแล้ว ความกังวลเหล่านี้อยู่ใต้เงาอันสำคัญของความขัดแย้งที่ซับซ้อน
นั่นคือ ความเกี่ยวข้องของมหาอำนาจเอเชียตะวันออกในสงครามยุโรป จากเกาหลีเหนือเข้าข้างรัสเซีย การทะยานของบทบาทของจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก่อคำถามว่า สงครามตัวแทนกำลังก่อตัวในยูเครนใช่หรือไม่
โดยทุกตัวบ่งชี้ให้คำตอบว่า ใช่
ก่อนจะขยายความ เราควรทำความเข้าใจว่า สงครามตัวแทนคืออะไร
สงครามตัวแทนคือ เมื่อ 2 ประเทศต่อสู้กับประเทศอื่นทางอ้อม โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมในประเทศที่ 3 ตัวอย่างที่คลาสสิคคือ วิกฤตการณ์คองโกทศวรรษ 1960 วิกฤตการณ์แองโกลาทศวรรษ 1970 เมื่อสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาต่างทำสงครามหนุนฝ่ายต่างๆ ในสงครามกลางเมือง ด้วยเงิน อาวุธ กำลังทหารจากประเทศอื่น แต่ทั้งสองประเทศไม่เคยเกี่ยวข้องโดยตรงในการสู้รบของพวกเขา
ในความเข้าใจของผม สงครามรัสเซียต่อยูเครนมีกลอุบายของสงครามตัวแทน สำหรับรัสเซียมองยูเครนเป็นรัฐอิสระและเป้าหมายการรุกรานของรัสเซียคือ ชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ในทางกลับกันสมาชิก NATO และพันธมิตรชาติอื่นๆ กำลังหนุนยูเครนด้วยการให้อาวุธ ความตั้งใจของตะวันตกอาจเป็นการป้องกันยูเครน แต่ความพยายามของพวกเขาตรงไปที่รัสเซีย โดยบังคับให้ประธานาธิบดีปูตินแห่งรัสเซียล้มเหลว
การสนับสนุนของตะวันตกต่อยูเครน เป้าหมายเพื่อเซาะกร่อนบ่อนทำลายรัสเซีย
รัฐเอเชียตะวันออก
รัฐเอเชียตะวันออกเกี่ยวข้องอย่างไร ยูเครนเป็นสงครามตัวแทนของพวกเขาใช่หรือไม่ ถ้าใช่ อะไรคือจุดสิ้นสุด
ฝ่ายหนุนรัสเซีย : จีน
จีนป้องกันรัสเซียโดยให้อาวุธ เพื่อทำให้แน่ใจในความสามารถการทำสงครามของรัสเซีย จีนไม่เพียงต่อต้านการแซงก์ชั่นรัสเซียจากตะวันตก แต่ยังใช้ความเชื่อมต่อทางการทูตในซีกโลกใต้ (Global South) เพื่อไม่ให้การประณามขยายวงออกไป
ที่สำคัญจีนก้าวไปสู่การสนับสนุนทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรัสเซีย
ตอนนี้รัสเซียนำเข้าทั้งหมดของสินค้ายุทธภัณฑ์และส่วนประกอบสำคัญของยุทธปัจจัยจากจีน
จากข้อมูลรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แอนโทนี่ บลิงเคน จีนตอนนี้ให้อาวุธรัสเซียเกือบ 90% ของการนำเขา microelectronic2
ตามข้อมูลศุลกากร จีนส่งสินค้ามือสองทางเรือมูลค่ามากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้รัสเซียทุกเดือน3
ยังมีคำเตือนตรงจาก NATO ปี 2023 จีนร่วมฝึกซ้อมทางทหารในเบลารุส ห่างไม่กี่ไมล์จากชายแดนโปแลนด์
เกาหลีเหนือ
เกาหลีเหนือเป็น 1 ใน 5 ชาติที่ค้านมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย เกาหลีเหนือให้สัตยาบันพันธมิตรทางทหารว่าด้วยการช่วยประเทศเมื่อประเทศอื่นถูกโจมตี เกาหลีเหนือมอบรถถังและขีปนาวุธ ให้คลังกระสุน แต่ก้าวที่สูงที่สุดคือ ตุลาคมที่ผ่านมาเกาหลีเหนือส่งทหารราว 1 หมื่นคนไปรัสเซีย ตอนนี้มีรายงานมีการต่อสู้กับยูเครนในภูมิภาคเคิร์ต (Kursk) ของรัสเซีย
ฝ่ายหนุนยูเครน : ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ญี่ปุ่นร่วมกับพันธมิตรตะวันตกแซงก์ชั่นรัสเซีย ญี่ปุ่นยังช่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อยูเครน ส่งยานพาหนะ เสื้อผ้า โดรนลาดตระเวน และความช่วยเหลืออื่นๆ มูลค่าราว 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ จรวด Patriot ที่ผลิตโดยญี่ปุ่นถูกส่งไปสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยด้านคลังอาวุธสหรัฐอเมริกามีความแน่นอนเพื่อส่งไปช่วยยูเครน
ในทางการทูต ในฐานะประธานกลุ่ม G 7 ในปี 2023 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟุมิโอะ คิชิดะ ขยายการเชิญประเทศต่างๆ ในซีกโลกใต้เพื่อให้ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนสามารถมีความสัมพันธ์กับตัวแทนกลุ่ม G 7 ในการประชุมเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2023
เกาหลีใต้ส่งอาวุธไปยูเครน ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ให้การช่วยเหลือสิ่งที่ไม่ใช่อาวุธ เช่น เสื้อเกราะและหมวกกันน็อก ร่วมแซงก์ชั่นทางเศรษฐกิจรัสเซีย เหมือนกับญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ส่งปืนใหญ่ให้สหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มปริมาณคลังอาวุธสหรัฐอเมริกา
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มอย่างมากไปโปแลนด์ พอช่วงเกาหลีเหนือส่งอาวุธไปรัสเซีย เกาหลีใต้พิจารณาเพิ่มการสนับสนุนมากขึ้น
เมื่อทราบใครของชาติเอเชียตะวันออกเป็นฝ่ายหนุนและฝ่ายต้าน ต่อไปควรทำความเข้าใจมูลเหตุของชาติเอเชียตะวันออก
แรงจูงใจ 4 ผู้เล่นเอเชียตะวันออก
ต่อสงครามยูเครน
ทั้งหมดมีแรงจูงใจเกี่ยวกับสงครามตัวแทน ทั้งจีนและเกาหลีเหนือมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เหนือกว่าของรัสเซีย ร่วมกับมีวิสัยทัศน์ ระเบียบโลกยุคหลังตะวันตก (post Western Global Order) ที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรอ่อนแอลง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ประธานาธิบดีคิม แด จุง แห่งเกาหลีเหนือเห็นปูตินเป็นพันธมิตรในการต่อสู้ระดับโลกเพื่อต้านตะวันตก ด้วยการสนับสนุนสงครามในยุทธศาสตร์เหนือกว่ายูเครน
เหมือนแรงจูงใจ สงครามตัวแทน ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เน้นรักษาสถานภาพเดิม (status quo)
ญี่ปุ่นมียุทธศาสตร์สำคัญเพื่อให้แน่ใจระเบียบที่มีอยู่ (exiting order) ไม่สะดุด รวมทั้งการประณามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ เปลี่ยนพรมแดนโดยใช้กำลัง ดั่งคำคมของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคิชิดะ ยูเครนวันนี้อาจเป็นเอเชียตะวันออกวันพรุ่งนี้
สำหรับเกาหลีใต้ยิ่งมีความกังวลต่อพันธมิตรทางทหารใหม่ระหว่างเกาหลีเหนือกับรัสเซียก็เป็นแรงจูงใจเปลี่ยนสถานภาพเดิมด้วยการบังคับ
รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ 2.0 มาแล้ว
การกลับสู่ทำเนียบขาวอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ มีผลต่อยูเครน ด้วยคำประกาศกร้าวว่า รัฐบาลทรัมป์จะยุติการสนับสนุนยูเครน แต่สมาชิก NATO ชาติยุโรปกลับหนุนยูเครนเพิ่มขึ้นเหมือนกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่หนุนต่อไป การกลับมาทำเนียบขาวอีกครั้งก่อผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสนามรบ แต่ไม่เพียงพอต่อความเกี่ยวพันยูเครนของประเทศในอินโด-แปซิฟิก
ทรัมป์พูดว่า เขาสามารถยุติสงครามยูเครนได้ในวันเดียว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด ถ้าเขาสามารถและทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ผลคือ สงครามตัวแทนยุติ
ถ้าเขาไม่สามารถและความขัดแย้งดำเนินต่อไปในบางลักษณะเป็นสงครามตัวแทน แต่ระดับความผูกพันอาจเปลี่ยน ชาติยุโรปเพิ่มการสนับสนุนเหมือนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ผลประโยชน์ของพวกเขากำลังผลักดันต่อต้านผู้ก้าวร้าว จะไม่เปลี่ยนแปลง
มันยากที่จะเห็นการลดลงของความเกี่ยวข้องของจีนและเกาหลีเหนือที่หนุนรัสเซีย แล้วก้าวสู่เป้าสำคัญคือ ทำลายอำนาจที่มีอยู่ ช่วงทรัมป์ 2.0 จะไม่ปรับเปลี่ยนกลุ่มสงครามตัวแทนพื้นฐาน ทั้ง 4 อำนาจเอเชียตะวันออกกำลังสนับสนุนฝ่ายที่ 3 เซาะกร่อนบ่อนทำลายความสามารถของคู่แข่งของพวกเขา
ความท้าทายด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกมีส่วนถูกส่งออกไปยังยุโรป ปัจจัยที่กังวลมากกว่าคือ การมีส่วนร่วมของพวกเขาเพิ่มขึ้น ส่วนความไม่แน่นอนและขยายความขัดแย้งในยูเครน ปักกิ่ง เปียงยาง โซลและโตเกียวกำลังสนับสนุนพันธมิตรที่ยอมรับพวกเขาในยุโรป เพื่อต่อสู้ที่กว้างกว่าเดิมต่ออนาคตของระเบียบระหว่างประเทศ
ในทางกลับกัน ชี้ให้เห็นการขยายตัวของสงครามในระดับโลกและการจัดวางสิ่งล่วงหน้าใหม่คือ ชาติเอเชียแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ในส่วนอื่นของโลก
สงครามตัวแทนยังมีอยู่ ปักกิ่ง เปียงยาง โซลและโตเกียวมีส่วนประกอบสร้างมันขึ้นมา
1กล่าวเมื่อ 24 February 2022 อ้างจาก Written Interview with Prime Minister KISHIDA Fumio by the Lithuanian Radio and Television (LRT), Prime Minister Office of Japan, 12 July 2023.
2Antony Blinken, NATO Joint press conference, 12 June 2024.
3Nathaniel Sher, “Behind the Scenes : China’s Increasing Role in Russia’s Defense Industry” Carnegie Politika, 6 May 2024.
สะดวก ฉับไว คุ้มค่า สมัครสมาชิกนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ได้ที่นี่https://t.co/KYFMEpsHWj
— MatichonWeekly มติชนสุดสัปดาห์ (@matichonweekly) July 27, 2022