จาก 19 ก.ย. ถึง 22 พ.ค. “บิ๊กบัง” มอง 2 ปี “รบ.ประยุทธ์” มอง “ผบ.ทบ.” นักรบหมวกแดงที่หวนคืน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หรือ “บิ๊กบัง” จาก “นักปฏิวัติ” สวมบทเป็น “นักการเมือง” กระโดดลงสนามเลือกตั้ง สร้างชื่อในคราบ “คนการเมือง” ในฐานะ “หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ” ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรองดองแห่งชาติ เข้าสู่สภา ก่อนจะถูกแรงต้านและแท้งในที่สุด

มีอีกเหตุผลหนึ่งของการก่อตั้งพรรคการเมืองในนาม “พรรคมาตุภูมิ” ของ “บิ๊กบัง” คือ การเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทว่า ด้วยอุณภูมิการเมืองที่ร้อนแรง ทำให้ไม่มีเวลาทุ่มแรงกาย แรงใจแก้ปัญหา ที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่สมัยเป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)

“ไม่ได้คิดอยากจะตั้งพรรคแต่เห็นปัญหาภาคใต้มีความรุนแรง จึงอยากจะเข้ามาแก้ปัญหาเท่านั้นเอง ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น แต่เมื่อเป็นแล้วมันทำไม่ได้ เพราะปัญหาเยอะ ปัจจุบันยังเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เงื่อนไขยังเหมือนเดิม ไม่ใช่แก้ได้ง่ายๆ”

Thai soldiers salute to Thai junta leader, General Sonthi Boonyaratglin (L) during his visits to Yala province, 14 September 2007.  Suspected separatist rebels have killed four people in the insurgency-hit Thai south, police said 14 September, as the Muslim-majority region began observing the holy month of Ramadan. AFP PHOTO/Muhammad SABRI / AFP PHOTO / MUHAMMAD SABRI
FP PHOTO / MUHAMMAD SABRI

ยิ่งปัจจุบันหลังเกิดเหตุระเบิด-วางเพลิง 17 จุดใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาภาคใต้ได้ลุกลาม-ขยายวงหรือไม่? แต่สำหรับ ผบ.ทบ. เชื้อสายมุสลิม มองว่า เป็นเรื่องของความเห็นต่างทางการเมือง

“ตามหลักวิชา ผมไม่เชื่อว่าจะขยายการปฏิบัติขึ้นมาในจังหวัดอื่น หนึ่ง ผิดหลักการ สอง ผิดหลักความเชื่อทางศาสนา”

เขาวิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องความเห็นต่างทางการเมืองและไม่เชื่อว่าเกิดจากการก่อการร้ายภายนอกประเทศหรือจากปัญหาภาคใต้ขยับขึ้นมาข้างบน ยังเชื่อว่าปัญหาภาคใต้ยังอยู่ในเขต ในวงจำกัด เพราะศักยภาพถ้าเกิดขึ้นมาจากข้างล่างขึ้นมาข้างบนมันคงจะใหญ่กว่านี้ ไม่ใช่แค่นี้

“ความเห็นต่างทางการเมืองยังเป็นเหตุผลหลัก เพราะความขัดแย้งทางการเมืองนำไปสู่ความขัดแย้งของคน”

This handout photo released from the Thai Goverment House, new Thai Interim Prime Minister Surayud Chulanont (R) listens to Thai coup leader General Sondhi Boonyaratkalin (L) at the Government House in Bangkok, 01 October 2006. Thailand's new military-appointed premier got down to work 02 October, tasked with healing deep political divisions and assuring the world the country is on the path back to democracy.       RESTRICTED TO EDITORIAL USE  NO GETTY  AFP PHOTO/GOVERNMENT HOUSE/HO / AFP PHOTO / GOVERNMENT HOUSE / AFP
AFP PHOTO / GOVERNMENT HOUSE / AFP

ในวาระครบรอบ 2 ขวบปี ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ “หัวหน้าปฏิวัติรุ่นน้อง” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้ารัฐบาล-ผู้ก่อการปฏิวัติ 22 พฤษภาคม 2557 ในฐานะ “หัวหน้าปฏิวัติรุ่นพี่” เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในรัฐบาลขิงแก่ เขาให้คะแนนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จาก 10 คะแนนเต็ม ภาพรวมถือว่า “สอบผ่านเกินครึ่ง” แต่ “โจทย์ใหญ่” ของรัฐบาล คือ การแก้ปัญหาความยากจน-การศึกษาและความปรองดอง

“เรื่องการเมืองและการปกครองมีปัญหามาตลอด ทุกรัฐบาลที่เข้ามาพยายามปรับปรุง พัฒนาและแก้ไขเพื่อนำระบบการเมืองและการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย บางอย่างก็เป็นข้อดีบางอย่างก็เป็นข้อเสีย”

“ขณะที่เรื่องเศรษฐกิจต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ยังมีปัญหา ตั้งแต่เศรษฐกิจมหภาคไปจนถึงเศรษฐกิจระดับฐานราก รวมถึงเศรษฐกิจต่างประเทศ สะท้อนมาถึงเศรษฐกิจไทยให้มีปัญหา”

“ภาพรวมของเศรษฐกิจยังมีความยากลำบาก คนไทยยังยากจนอยู่เหมือนเดิม วันนี้คนที่รวยอยู่แล้วก็ยังรวยขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ส่วนคนที่จนก็ยังจนลงไปอีก เป็นสิ่งที่ประชาชนอึดอัด รัฐบาลคงเห็นประเด็นนี้อยู่แล้ว เพราะมันคาราคาซังมาทุกรัฐบาล”

“สำหรับปัญหาสังคม เช่น เรื่องการศึกษา แย่ลงมาเรื่อยๆ วันนี้เรื่องสังคมเป็นเรื่องที่รัฐบาลยังขับเคลื่อนไปไม่ถึงจุดสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ได้โทษรัฐบาลนี้ แต่เป็นความต่อเนื่องจากรัฐบาลอื่นที่เข้ามา เพราะฉะนั้น รัฐบาลนี้จะมาเริ่มต้นพัฒนาด้านการศึกษาให้สำเร็จทันทีคงไม่ง่าย ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องหาทางแก้ไขให้สำเร็จ”

“การเรียนรู้ไม่ใช่เรียนเพื่อให้เก่ง การเรียนเพื่อให้เก่งไม่ยาก แต่การเรียนเพื่อให้เป็นคนฉลาดเป็นเรื่องที่ทำยาก และการเป็นคนดีต้องตามมา 3 สิ่งนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในสังคมไทย เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน”

Former Thai Army commander-in-chief and candidate for the upcoming July 3 election, General Sonthi Boonyaratglin, the man who ousted from power fugitive ex-premier Thaksin Shinawatra in 2006, meets potential voters as part of an election campaign at Narathiwat market in the Thai restive southern province on June 28, 2011.  The divisions that plague Thai society will deepen further after the July 3 election unless arch-enemies within the political realm agree to respect the verdict of the polls, analysts say.   AFP PHOTO / MADAREE TOHLALA / AFP PHOTO / MADAREE TOHLALA
AFP PHOTO / MADAREE TOHLALA

ขณะที่บาดแผลก่อนการปฏิวัติ 22 พฤษภาคม 2557 ที่เรื้อรังมายาวนานนับ 10 ปี อย่างการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อดีตหัวหน้าปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ยกหลักการเมืองการปกครองระบอบ “พ่อปกครองลูก” และการประนีประนอม-ให้อภัยเป็นเครื่องเตือนใจผู้มีอำนาจในรัฐบาล

“รัฐบาลต้องวางตัวเป็นกลางก่อน เหมือนพ่อปกครองลูก พ่อต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช่ไปสนับสนุนคนเก่ง คนไม่เก่งก็เสียใจ ไปสนับสนุนคนดี ชื่นชมคนดี คนที่มีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวก็เสียใจ”

“ความเป็นพ่อต้องรู้จักประนีประนอม ทำให้คนที่ไม่เก่ง เก่งขึ้นมา ทำให้คนที่ดีน้อย ดีมากขึ้น สังคมถึงจะอยู่ด้วยกันได้แต่พ่อต้องเป็นกลางก่อน”

“ปัญหาในครอบครัวมีทั้งดี ทั้งไม่ดี ต้องตะล่อมเข้ามาอยู่ในอ้อมกอดเดียวกัน คนที่เป็นรัฐบาลต้องหันกลับมาคำนึงถึงข้อนี้ ลูกเราจะดีหมดก็คงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้คนไม่ดีกลับกลายเป็นคนดี นำธรรมะเข้าไปสอน การให้อภัยเป็นส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการทำให้สังคมเป็นหนึ่งเดียว ผมอยากให้รัฐบาลเป็นแบบนี้”

ขณะเดียวกัน เรื่องที่ยาก-รัฐบาลเลือกตั้งทำไม่ได้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ต้องทำให้ได้ สมกับการได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

“มันเป็นความจริงอย่างหนึ่งของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถทำอะไรได้ในหลายสิ่ง หลายอย่างได้ ดังนั้น เรื่องที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งทำไม่ได้ รัฐบาลนี้ต้องทำให้ได้ เพราะประชาชนไว้ใจให้มาทำสิ่งที่นักการเมืองอาชีพทำไม่ได้”

General Sonthi Boonyaratglin (R), the head of the Thai junta, listens complaints of protestors who blocked his way by placing the dead body of a Buddhist woman (bottom) shot dead and burned by suspected separatist rebels in Thailand's restive Yala province, 11 April 2007. Around 200 people paraded the charred remains of a Buddhist woman through the streets of Yala town to protest the unending violence in Thailand's restive Muslim-majority south.  AFP PHOTO / Muhammad SABRI / AFP PHOTO / MUHAMMAD SABRI
AFP PHOTO / MUHAMMAD SABRI

ในฐานะ “ศิษย์เก่าหมวกแดง” – หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และ ผบ.ทบ. นักรบพิเศษ ก่อนที่แผงอำนาจ “พี่น้อง 3 ป.” จะผงาด-ยึดหัวหาดกองบัญชาการกองทัพบกยาวนาน 12 ปี แล้วก็หวนกลับมาที่นักรบหมวกแดงอีกครั้งนั้น

“บิ๊กบัง” พยายามไม่พูดถึงบุคคล แต่ชี้หลักการ-ธรรมเนียมของคนที่จะมาเป็น ผบ.ทบ. 1.ว่าต้องมีความรู้และความสามารถ โดยวัดจากประสบการณ์ และ 2.รุ่น อาวุโส เป็นตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่ง

“วันนี้กองทัพมีความใกล้เคียงกันมาก ผู้เลือกคงคิดอย่างพิถีพิถันในหลายประเด็นแล้ว ว่า คนที่เหมาะสมคือคนนี้”

“หลักการอันหนึ่ง…เมืองไทยมีระบบอุปถัมภ์ ทุกชาติมีระบบอุปถัมภ์ แต่คนที่มาทำงานนอกจากเก่ง ดี แล้วต้องมีความคุ้นเคย เชื่อว่าประธานาธิบดี บารัค โอบามา ต้องเลือกคนที่มีความใกล้ชิดมาช่วยทำงาน บ้านเราก็เช่นกัน ต้องมีระบบอุปถัมภ์ขึ้นมากกว่า เพราะระบบอุปถัมภ์มีมาเป็นร้อยปี”

“ความต่อเนื่องตั้งแต่ป๊อก (พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา) เรื่อยมา เพราะมีความคุ้นเคยและมีความเหมาะสมในสายตาผู้เลือก อนุพงษ์เอาประยุทธ์ เพราะสนิทชิดเชื้อ รู้มือกัน จะเอาคนอื่นที่ไม่รู้มือมาได้อย่างไร เมื่อถึงคราวประยุทธ์ออกมาก็เอาคนที่ใกล้ชิด ที่รู้จักดี ไว้ใจได้”

เขาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ว่า วันนี้ผู้เลือกได้ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียแล้ว เมื่อมีปัญหาอื่นเข้ามาแทรกแซง ทำให้คนนี้เหมาะสมที่สุด

“สถานการณ์ประเทศมันเป็นตัวชี้เหมือนกันว่าควรจะเอาใคร ไม่เช่นนั้นแรงกระเพื่อมจะเกิดขึ้น เป็นธรรมชาติของการเป็นแคนดิเดต ไม่ได้มองประเด็นเดียวแต่ต้องมองหลายๆ ประเด็น”

“ที่สำคัญคือปัญหาภายในบ้านเรามันรุนแรงมากกว่าที่อื่น จะแก้อย่างไรให้รัฐบาลอยู่ได้ คนเลือกก็ต้องคิด คงมีการพิจารณากันอย่างเหมาะสมแล้ว ไม่ใช่เฉพาะมีความรู้ความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่เพราะองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย วันนี้รัฐบาลคงคิดว่าจะเอาคนไหนดีให้การบริหารจัดการของตัวเองไม่กระเทือนไปมาก รัฐบาลคงคิดประเด็นนี้”

“สุดท้ายแล้วเมื่อมีพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ ลงมาแล้วจะไม่มีใครกล้า ไม่มีใครยุ่ง เพราะถือว่าเป็นพระบรมราชโองการเรียบร้อย ทุกคนต้องปฏิบัติ เพราะทหารทุกคนมีความจงรักภักดี”