เผยแพร่ |
---|
มติของที่ประชุมวุฒิสภา กับ มติของที่ประชุมคณะกรรมการการเลือก ตั้งอันเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง 200 สมาชิกวุฒิสภา”ใหม่”ดำเนินไปอย่างมีลักษณะทางประวัติศาสตร์
ด้านหนึ่ง ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติจัดตั้ง”คณะกรรมาธิการวิสามัญ”เพื่อตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่ง ในอีก 1 วันต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งลงมติให้การรับรอง 200 สมาชิกวุฒิสภา”ใหม่”
ผลที่ตามมาอย่างฉับพลันทันใดก็คือคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุม 250 สมาชิกวุฒิสภา“เก่า”ก็ต้องจบสิ้น หมดบทบาทโดยอัตโนมัติ
พร้อมกับมติของที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งให้การรับรองต่อสถานะแห่ง 200 สมาชิกวุฒิสภา”ใหม่”ก็ส่งผลโดยพื้น
ฐานให้กับการดำรงอยู่ในสถานะ”รักษาการ”ของ 250 สมาชิกวุฒิ สภา”เก่า”ต้องจบสิ้น หมดบทบาทไป
ที่เห็นและเป็นอยู่ของ 250 สมาชิกวุฒิสภา”เก่า”ก็เสมอเป็นเพียงร่องรอยในทางประวัติศาสตร์ ในทางการเมือง
เป็นการเมืองแห่งระบอบรัฐประหาร ระบอบคสช.
ต้องยอมรับว่าลักษณะการดำรงอยู่อันสัมผัสได้จากบทบาทของ 250 สมาชิกวุฒิสภา”เก่า”นับแต่หมดวาระตามรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สะท้อนลักษณะแห่งการยื้อ
จำนวนหนึ่งอาจเปี่ยมด้วยความพร้อมที่จะอำลาจากไป แต่จำนวนหนึ่งยังเปี่ยมด้วยความอาวรณ์ไม่อยากจะจากเห็นได้จากการพยายามยื้อยุดถึงขั้นฉุดกระชาก
ขณะเดียวกัน ภายในความพยายามยื้อยุดฉุดกระชากก็สะท้อนให้เห็นภาพของ 200 สมาชิกวุฒิสภา”ใหม่”ว่ายังมากไปด้วยคำถามและความกังขา
เป็นคำถามและความกังขาที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ราบรื่น สดสวยในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน เมื่อเปลี่ยนจากมือแห่งคณะรัฐ ประหารเข้าสู่มือของนักการเมือง
ไม่ว่าจะภาพของส.ว.สาย”สีน้ำเงิน” ไม่ว่าจะภาพของส.ว.สาย”สีแดง” และรวมถึง ส.ว.สาย”พันธุ์ใหม่”
การดำรงอยู่ของ 200 สมาชิกวุฒสภา”ใหม”จึงเป็นภาพสะท้อนอันเป็นผลิตผลแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
เหมือนกับภาพที่เห็นจากการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 และเหมือนกับภาพที่เห็นจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 และเกิดการสังเคราะห์ทางการเมืองภายหลัง สถานการณ์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566
ไม่ว่ามองผ่าน “รัฐบาลพิเศษ” ไม่ว่ามองผ่าน”200 สมาชิกวุฒิสภา”ทั้งหมดนี้ยังเป็นผลและความต่อเนื่องจาก”รัฐประหาร”