ตีเข้า

ตีเขั้า

ตีเข้า อ่านว่า “ตี๋เข้า” คือการนวดข้าวโดยวิธีฟาดรวงข้าวลงบนแคร่ไม้เพื่อให้เมล็ดข้าวกระเด็นหลุดออกจากรวงข้าว

เมื่อผ่านพิธีสูมาข้าวแล้ว ชาวนาจะเลือกวันดีสำหรับการเริ่มต้นนวดข้าว หรือตี โดยเลือกเอาวันขึ้น 3, 4, 6, 12, 14 ค่ำ หรือแรม 7, 8, 9, 10, 11, 15 ค่ำ เป็นวันแรกตี

ในการแรกตีจะมีพิธีกรรมตี ชาวนาจะวางเครื่องสักการะบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พระแม่ธรณีผู้รักษาแผ่นดิน และพระแม่โพสพผู้เป็นขวัญข้าว เพื่อแสดงความนอบน้อม มีการจัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียน อาหารคาวหวาน ขนม ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ วางตั้งบนแคร่ไม้ไผ่บริเวณกลางลานนวดข้าว แล้วกล่าวบูชาพระแม่ธรณีก่อนว่า

สาธุ ปัททะเมติ ริตติ กิตติ

มิตติจุติ มุตติจุติ

ธะระณีติ อิติ อิทัง ธาระณังติ

และกล่าวในส่วนของพระแม่โพสพว่า

สาธุ อุทุลา ทุฏฐุลา อุลุลา ตัณฑุลา

มะธุลา ปุปผะลาปัตตุลา กัลละลา

ธัญญะเทวา ธัญญะรักขา รักขันตุ สุรักขันตุ

 

กล่าวเสร็จจึงเริ่ม “ตีข้าว” โดยนำเอาฟ่อนข้าวที่เป็นข้าวแรกมาตีประเดิมด้วยการฟาดลงกับแคร่ไม้ที่รองรับจำนวน 6 ครั้ง ให้เมล็ดข้าวหลุดจากฟ่อนข้าวและตกลงในตาลาง แต่ละครั้งจะมีคำโฉลกตามลำดับว่า

1. หื้อมันได้นัก เหลือเปิ้นทางเหนือ

2. หื้อมันได้เหลือ เหลือเปิ้นทางเหนือ

3. อุ่นอก

4. อุ่นใจ

5. ไปอยู่

6. ปู่เฝ้า

จากนั้นจึงดำเนินการนวดต่อไปได้เลย

กล่าวถึงการตี มีฟาดในครุและในตาลาง อุปกรณ์หลักคือไม้คูสำหรับจับส่วนต้นของฟ่อนข้าวที่ “ไม้หีบ” มีไว้สำหรับรัดฟ่อนข้าวไปตี

ช่วฯยฯกันฯตีเขั้าในท่฿งฯ
อ่านว่า จ้วยกั๋นตี๋เข้าในต้ง
แปลว่า ช่วยกันตีข้าวในทุ่งนา

การตีข้าวในครุ จะมีไม้สำหรับตีเมล็ดข้าวที่ไม่ยอมหลุด เรียกว่า “ไม้เขาแพะ” รอบๆ ครุจะมีเสื่อที่สานด้วยไม้ไผ่ที่เรียก “สาดกะลา” ปูรองรับข้าวที่กระเด็นออก การตีข้าวในตาลางมักจะฟาดลงบนแคร่ เมื่อตีระยะหนึ่งจะมีเศษฟางหรือรวงข้าวหลุดกระเด็นออกมาบ้าง ชาวนาจะกวาดมารวมไว้ เศษฟางหรือรวงข้าวนี้ล้านนาเรียก “ขี้เฟื้อน”

การใช้ไม้เรียวตีหรือฟาดรวงข้าวที่ปะปนในกองขี้เฟื้อนเรียกว่า “เอาขี้เฟื้อน” หรือ “ซ้อมขี้เฟื้อน” •

ภาพประกอบจาก https://th.postupnews.com/2022/07/slri-research-rice-to-superfood.html

 

ล้านนาคำเมือง | ชมรมฮักตั๋วเมือง