เผยแพร่ |
---|
ยิ่งบทบาทของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา ในตำแหน่ง”รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1” ได้รับความสนใจมากเพียงใด กระบวน การลาออกของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยิ่งเป็นคำถาม
เพราะเมื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลาออกก็มีความจำเป็นต้องเลือกหัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่
และทำให้ตำแหน่ง”ผู้นำฝ่ายค้าน”มีความสำคัญขึ้นมา
คำถามอันดังอย่างต่อเนื่องจากพรรคเพื่อไทยก็คือ หากหัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่มีเป้าหมายอยู่ที่ตำแหน่ง”ผู้นำฝ่าย ค้าน” อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง
พรรคก้าวไกลจะทำอย่างไรกับตำแหน่ง”รองประธานสภาผู้ แทนราษฎร คนที่ 1” ของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา
กระบวนการเคลื่อนไหวอันมาจาก นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เมื่อประสานกับจังหวะก้าวของ นายอดิศร เพียงเกษ ก็สัมผัสได้ใน รังสีอำมหิต
ความหมายจึงหมายความว่า ไม่ขัดข้องหากตำแหน่ง”ผู้นำฝ่ายค้าน”จะเป็นของหัวหน้าพรรคก้าวไกล แต่ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา ก็ต้องวางตำแหน่ง”รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1”
ปมอยู่ที่ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา อาจยังอาลัยอย่างอาวรณ์
เด่นชัดอย่างยิ่งว่าความอาวรณ์ต่อตำแหน่ง”รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1”ของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา มิได้เป็นเรื่อง ของตำแหน่งอันเสมอเป็นเพียง”หัวโขน”
หากยังอยู่ที่ความตั้งใจและผลงานในการเสนอมิติใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อการปฏิรูปรัฐสภากำลังเดินหน้าไปอย่างคึกคัก
ดำเนินไปตามพิมพ์เขียวโดยฝ่ายกลยุทธ์พรรคก้าวไกล
ที่สำคัญเป็นอย่างมาก เส้นทางการทำงานในแบบของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา แสดงออกอย่างเด่นชัดเป็นรูปธรรมว่าเป็นประ โยชน์ต่อพัฒนาการในทางการเมือง
สะท้อนให้เห็นว่าหากตำแหน่ง”ประธานสภา”อยู่ในมือของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา โฉมแห่ง”รัฐสภา”ยุคใหม่ที่มากับบรรยากาศอันโปร่งใสจะออกมาอย่างไร
จึงเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้รักษาตำแหน่ง”รองประธานสภา”
ยังไม่มีใครรู้ว่าคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของพรรคก้าวไกลจะมีความเห็นอย่างไร ยังไม่มีใครรู้ว่า นายปดิพัทธ์ สันติธาดา จะเลือกแนวทางแบบไหน
จะรักษา”รองประธานสภา”เอาไว้ หรือ”วางลง”
ประเด็นสำคัญก็คือ พรรคก้าวไกล และ นายปดิพัทธ์ สันติธา ดา จะเผชิญกับปัญหาและเลือกตัดสินใจอย่างไรบนหนทางแห่งการเมืองใหม่ การเมืองเพื่อประชาชน
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ของพรรคก้าวไกลจึง เป็นวาระอันสำคัญต่อพรรคก้าวไกล