อิสลามในอาเซียน และบทบาทของประชาสังคมและวัฒนธรรม Asean (จบ)

จรัญ มะลูลีม

มุมมุสลิม | จรัญ มะลูลีม

 

อิสลามในอาเซียน

และบทบาทของประชาสังคมและวัฒนธรรม Asean (จบ)

 

ความเป็นจริงทางประชากรศาสตร์

ของมุสลิมในอาเซียน

อิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในอาเซียน โดยมีผู้นับถือประมาณ 264 ล้านคน เกือบร้อยละ 43 ของประชากรอาเซียนปัจจุบัน

ประมาณร้อยละ 20 ของชาวมุสลิมประมาณ 1.6 พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในอาเซียน (ดูตาราง)

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ในบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในขณะที่ชาวมุสลิมทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้วย รวมทั้งที่เป็นชนกลุ่มน้อย ดังนั้น ชาวมุสลิมจึงเข้าหาประชาคมและวัฒนธรรม ASEAN ตามบรรทัดฐานของอิสลามที่มอบสันติภาพให้

สำหรับอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นสามารถเรียกได้ว่ามีความเป็นอาหรับน้อยที่สุด เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเป็นอาหรับน้อยที่สุด ก็เพราะวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อิสลามเกิดจากกระบวนการทำให้เป็นอิสลามในส่วนนี้ของโลก

อิสลามเป็นกำลังแห่งความเป็นสายกลางและสร้างสรรค์ การเข้ามาของอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคแรกเริ่มมาจากอินเดียและจีนซึ่งได้รับการปรับปรุงโดยประสบการณ์ของศาสนาอิสลามในอินเดียและมีองค์ประกอบที่แข็งแกร่งมากของผู้เดินตามแนวทางด้านประสบการณ์ทางจิตร (รหัยนัยหรือซูฟี), Shih, The Roots and Societal Impact of Islam in Southeast Asai (Interview with Professor Mark Mancall) Stanford Journal of East Asian Affairs 2. Spring 2002).

ผลที่ตามมาคืออิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอิสลามที่มีความเป็นอินเดียอยู่ด้วย รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งหล่อหลอมด้วยประเพณีท้องถิ่นและปรับเปลี่ยนอย่างสันติ

การเติบโตของอิสลามจึงเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่นและการปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ แม้กระทั่งในขอบเขตของประเพณีที่ปฏิบัติมาช้านานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เว้นแต่จะขัดแย้งโดยตรงกับแนวคิดพื้นฐานของศาสนาอิสลาม

ความยืดหยุ่นเหล่านี้ทำให้อิสลามได้รับการยอมรับมากขึ้น และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แม้กระทั่งในปัจจุบันสมัย ประเทศมุสลิมในอาเซียนส่วนใหญ่ปฏิเสธกระแสโลกของการใช้ความรุนแรงและรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคและส่งเสริม บทบาทที่สร้างสรรค์สำหรับแผนการพัฒนาภายใต้ประชาคมและวัฒนธรรมของ ASEAN

 

บทบาทของสื่อก้าวหน้า

อิสลามเสนอแนวปฏิบัติเชิงบรรทัดฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และความร่วมมือเพื่อส่วนรวม เป็นประโยชน์แก่สิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวลทั้งสิ่งถูกสร้างที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต (รวมถึงสิ่งแวดล้อม) ซึ่งไม่ได้รับการนำเสนอในสื่อมากนัก

นี่คือการบอกว่าประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน จำเป็นต้องเพิ่มเติมวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสังคม ความยุติธรรม การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการรับรองสิทธิของทุกคน (ASEAN, 2009) ซึ่งเป็นผลของการเสริมสร้างมากกว่าความขัดแย้งกับแนวคิดของอิสลาม

ลุฏฟี รออูฟ (Lutfi Rauf) อดีตเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยกล่าวว่า “เท่าที่ผมมีความเกี่ยวข้องอยู่ ผมไม่เห็นว่าจะมีความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็น พิมพ์เขียวของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับวัฒนธรรมที่เราปฏิบัติกันอยู่ในสังคมมุสลิมใน ASEAN” (สัมภาษณ์เมื่อ 3 มีนาคม 2558)

ในทำนองเดียวกัน ดะโต๊ะ นาซีเราะฮ์ ฮุสเซน กล่าวว่า “อิสลามให้แนวทางความร่วมมือและช่วยเหลือเพื่อนบ้านอื่นๆ ในสังคม และในโลกใบใหญ่ มันไม่ใช่การสร้างแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม สิ่งนี้สอดคล้องกับองค์ประกอบของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างชัดเจน” (สัมภาษณ์เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558)

น่าเสียดายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับหน้าที่ที่สำคัญเหล่านี้ แนวทางอิสลามเพื่อการคุ้มครองหรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการเผยแพร่ในสื่อที่สามารถจะเพิ่มการมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมในกระบวนการประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้

 

สรุปข้อสังเกต

ด้วยมุมมองของพลวัตทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ที่ตลอดหลายปีที่อาเซียนก่อตั้งขึ้นนับจากปี 2010 หรืออาจจะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐบาลอาเซียนได้สนับสนุนสิ่งที่เรียกว่า “รูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาค” (Loffelholz M. Arao, D.A. (2010, The ASEAN Guide : A Journalist’s Handbook to Regional Integration in Southeast Asia. Berlin, Germany : International Institute for Journalism)

ในการทำเช่นนั้น ผู้นำอาเซียนได้พิจารณาข้อกังวลและแรงบันดาลใจของประชาชน อย่างไรก็ตาม ความทะเยอทะยานในการเปลี่ยนแปลงอาเซียนให้เป็นประชาคมนั้นต้องการความคิดริเริ่มที่สมเหตุสมผล มุ่งเน้นที่เป้าหมาย และมีพลังมากขึ้น รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด จากบรรทัดฐานทางศาสนาและวัฒนธรรม และค่านิยมของพลเมือง บางทีการรวมกันนี้อาจมองเห็นได้ ผ่านบรรทัดฐานทั่วไปที่เป็นบรรทัดฐานร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังควรสังเกตว่าอิสลามที่กำลังเสริมสร้างกระบวนการประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนนั้นไม่เพียงเพราะความสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของอิสลามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงขั้นตอนของประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน แม้แต่ในระดับการวิเคราะห์ของผู้มีอำนาจสูงสุดในการก่อตัวของประชาคมอาเซียนด้วย

ในการรวมตัวของอาเซียนภายใต้การบูรณาการของอาเซียน ไม่เพียงแต่ผู้นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนให้ประสบความสำเร็จแต่ด้วยการรับรู้เกี่ยวกับชาวมุสลิมเป็นสิ่งสำคัญ ในกรณีนี้ การทำให้ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเป็นจริงนั้นต้องการมากกว่านั้น และต้องการความเข้าใจจากกลุ่มต่างๆ จากรัฐในอาเซียนที่จะกำหนดให้มีโครงการเฉพาะเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและพัฒนาข้อมูลที่ปราศจากอคติ

ซึ่งคนอาเซียนทุกคนสามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในอัตลักษณ์อาเซียนได้