อำนาจการเมือง ภาษาและวรรณกรรมไทย

“ศิลปะเพื่อศิลปะ” กับ “ศิลปะเพื่อชีวิต” ปะทะและประดาบกันสืบเนื่องยาวนานในศตวรรษที่แล้ว

อํานาจรัฐรวมศูนย์หนุนหลัง “ศิลปะเพื่อศิลปะ” แล้วกีดกันใส่ร้าย “ศิลปะเพื่อชีวิต” ทําให้ภาษาและวรรณกรรมไทยได้รับนิยามยกย่องเป็นงานศิลปะบริสุทธิ์เพื่อศิลปะล้วนๆ “ไม่การเมือง” จากนั้นใช้กล่อมเกลาและครอบงําสังคมไทยผ่านระบบการศึกษานับร้อยปีมาแล้ว

โดยพื้นฐาน ผมเรียนรู้ภาษาและวรรณกรรมไทยตามกรอบคิดกระแสหลักของระบบการศึกษาของไทยไม่ขาดตกบกพร่องอย่างน้อย 3 ทาง คือ

(1.) โรงเรียน และมหาวิทยาลัย มากกว่า 12 ปีเพราะสอบตกบ้าง

(2.) วัด มากกว่า 12 ปี เป็น “เด็กวัด” ต้องผ่านประเพณีพิธีกรรมประจําปีมีร้องรําทําเพลงที่สร้างสรรค์ด้วยภาษาและวรรณกรรม ทั้งของชาววังและชาววัด และ

(3.) หมู่บ้าน เนื่องจากเกิด “บ้านนอกขอกตื้อสะดือจุ่น” และเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย “หนีเรียน” ไปตามหมู่บ้านเกือบทั่วประเทศ เพื่อสํารวจและเรียนรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดี พบภาษาและวรรณกรรมแตกต่างและหลากหลาย แต่ซึมซับไม่ครบถ้วน

เมื่อเริ่มต้นอาชีพเป็นคนทําหนังสือพิมพ์รายวัน (ตั้งแต่ พ.ศ.2513) ชีวิตประจําวันต้องคลุกคลีข่าวสังคม-การเมือง-เศรษฐกิจ ความคิดของผมทางภาษาและวรรณกรรมไทยเริ่มไม่เหมือนเดิม แต่ไม่ได้จับต้องจริงจัง เพราะไม่คิดจะจริงจังกับเรื่องพรรค์นี้

หลังอ่านหนังสือเรื่อง “ความเป็นมาของคําสยาม, ไทย, ลาว และขอมฯ” ของ จิตร ภูมิศักดิ์ (เขียนในคุก ก่อน พ.ศ.2509 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519) ความคิดของผมทางภาษาและวรรณกรรมไทย (รวมทั้งประวัติศาสตร์โบราณคดี) ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งมีส่วนสําคัญกระตุ้นให้เริ่มต้นผลิตนิตยสารรายเดือนชื่อศิลปวัฒนธรรม (ฉบับปฐมฤกษ์ พฤศจิกายน พ.ศ.2522)

ในโลกความจริงแล้ว ภาษาและวรรณกรรมไทย เป็นผลผลิตของสังคม-การเมืองและเศรษฐกิจ เพราะคนที่มีพลังสร้างสรรค์ทางภาษาและวรรณกรรมทุกยุคทุกสมัย ล้วนอยู่ใต้อํานาจของสังคม-การเมืองและเศรษฐกิจสมัยนั้นๆ ไม่มียกเว้น

พลังสร้างสรรค์ทางภาษาและวรรณกรรมไทยมาจากหลายชาติพันธุ์ มีทั้งคน “ไม่ไทยและคน “ไทย”

“อํานาจของภาษาและวรรณกรรมไทย” เป็นชื่อหนังสือเล่มใหม่ที่ผมต้องการรวบรวมแล้วเรียบเรียง พร้อมแสดงหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา ด้วยเนื้อหาเกี่ยวข้องสังคม-การเมืองและเศรษฐกิจ มี 6 บท ดังนี้

1. ภาษาและวรรณกรรมไทยสมัยเริ่มแรก – สภาพแวดล้อมใกล้ชิดวัฒนธรรมฮั่น

2. คําบอกเล่าเริ่มแรกในดินแดนไทย – ความเชื่อกระตุ้นภาษาและวรรณกรรม -ผู้หญิงมีสถานะสูงกว่าผู้ชาย – คําบอกเล่าเริ่มแรก – เรื่องเล่าจากรูปเขียนบนหิน – เซ่นผีแม่ข้าว, น้ำฝนจากกบ, คางคก, ตะกวดมีพลัง, เรื่องเล่าในพิธีเลี้ยงผีฟ้า, โพนช้าง, บวดควาย, หมาส่งขวัญขึ้นฟ้า, นกส่งขวัญขึ้นฟ้า

การแพร่กระจายของภาษาและวรรณกรรม [1.] เรื่องนาค [2.] เรื่องขุนบรม

คําบอกเล่ามี “นิยาย” [1.] ปลาบู่ทอง [2.] พระรถ นางเมรี

โคลงกลอนจากคําคล้องจอง- ขับลําคําคล้องจอง – กว่าจะเป็นร้อยกรอง

3. วัฒนธรรมอินเดียแผ่ถึงอุษาคเนย์ – การเข้าถึงอุษาคเนย์ของวัฒนธรรมอินเดีย – สุวรรณภูมิในวรรณกรรมคําบอกเล่า – ไม่อาณานิคม – ศาสนาพุทธไปสุวรรณ ภูมิ – ผี ปะทะ พราหมณ์-พุทธ ก่อนผสมปนเปกัน – วรรณกรรมของคนชั้นนํา ไม่คนทั่วไป – วัฒนธรรมอินเดียผดุงอํานาจชนชั้นนำ [1.] กําเนิดโลกและมนุษย์ [2.] จักรพรรดิราช [3.] สมมุติราช [4.] เทวราช [5.] มหาภารตะ, รามายณะ

4. อํานาจของภาษาไทย – ภาษาและวัฒนธรรมตามเส้นทางการค้า – 1. ภาษาไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา 1,500 ปี – 2. ภาษาไทยในรัฐสยาม 1,000 ปีมาแล้ว – เขียนภาษาไทยด้วยอักษรเขมร – รัฐเก่าร่วงโรย รัฐใหม่รุ่งเรือง – เขียนภาษาไทยด้วยอักษรไทย – วรรณกรรมชนชั้นนํา – คนทั่วไป “เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก”

กฎหมาย – ลักษณะเบ็ดเสร็จ, ตรา 3 ดวง / กฎมณเฑียรบาล / ระบบศักดินา – ยอพระเกียรติและนิยายเชิงสังวาส – อินทราภิเษก / โมงครุ่ม, คุลาตีไม้, ระเบ็ง / โองการแช่งน้ำ / รามเกียรติ์ / อนิรุทธคําฉันท์ / ทวาทศมาส, กําสรวลสมุทร, ยวนพ่าย / สมุทรโฆษคําฉันท์ / ดุษฎีสังเวยและกล่อมช้าง / ท้าวฮุ่งท้าวเจือง

5. วัฒนธรรมนานาชาติในภาษาและ วรรณกรรมไทย – ผนึกปึกแผ่นทางการเมืองและวัฒนธรรม – วรรณกรรมอยุธยาไม่เหมือนเดิม – ต่างระดับในวรรณกรรมอยุธยา

พงศาวดารเหนือ / พระราชพงศาวดาร / แนวคิดแบบตะวันตกในกาพย์ห่อโคลง / กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง ไม่เคยใช้เห่เรือ / กลอนชาวบ้าน ถูกจับบวชเป็นกาพย์ / เทศน์มหาชาติสร้างปึกแผ่น / เพลงชาวบ้าน-เพลงชาววัง / เพลงแม่ศรี, เพลงชุดทําขวัญ, พระทอง / เพลงสังวาสกรุงเก่า, เพลงการะเกด, เพลงวัดโบสถ์ (เจ้าขุนทอง), “เทพทอง” / เพลงสังวาส เพื่อความอุดมสมบูรณ์ / กลอนบทละคร / บทวิวาทด่าทอ / เสียดสีจักรๆ วงศ์ๆ / เรียกตนเอง ด้วยชื่อตัวเองแบบละคร / เพลงยาวของชนชั้นนํา ไม่ใช่ของไพร่ / นิราศ คือเพลงยาวเล่าการเดินทาง / จินดามณี / ปูมราชธรรม / นิราศเมืองเพชรบุรี / ไตรภูมิพระร่วง / ศรีธนญชัย, ศรีปราชญ์

6. ก่อนเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ – ปาจิตกุมารกลอนอ่าน / ระเด่นลันได /วรรณกรรมการเมืองเสียดสีสังคม / พระอภัยมณี วรรณกรรมการเมือง / ขุนช้างขุนแผน / พระลอ เป็น “นิยาย” / เรื่องนางนพมาศ เป็น “นิยาย” / จารึกพ่อขุนรามคําแหง

ทั้งหมดนี้ วิพากษ์วิจารณ์ค้านได้ “ไม่อั้น” •

 

| สุจิตต์ วงษ์เทศ