จากโลกร้อนสู่ความมั่นคงภูมิภาค

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์ | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

จากโลกร้อนสู่ความมั่นคงภูมิภาค

 

มองผิวเผิน ประเด็นความมั่นคงภูมิภาคดูเหมือนเคลื่อนออกจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ (Climate change) หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า สภาวะโลกร้อน

โดยพื้นฐานความมั่นคง (Security) เกี่ยวข้องกับการใช้พลังทางการทูตและการทหาร บ่อยครั้งความมั่นคงเป็นความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดคล้ายๆ กัน เพื่อให้แน่ใจว่า ดุลอำนาจในภูมิภาคไม่ถูกรบกวน

ความมั่นคงในแง่นี้เป็นเงื่อนไขก่อนหน้าที่อนุญาตให้ประเทศทั้งหลายมุ่งสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการขยายการค้าและการลงทุน อันก่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว1

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีส่วนก่อเกิดความขัดแย้งได้ ในเกาหลีเหนือ ไต้หวัน เกาะเซนกากุ (Senkaku) หรือไดหยู (Diaoyu) แต่มีเงื่อนไขว่า มีการจัดการได้และสิ่งแวดล้อมทั้งหมดมีความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงนี้ กำลังเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากการทะยานของความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่เกี่ยวกับการทะยานขึ้นทางเศรษฐกิจของจีน และมีเป้าหมายท้าทายสหรัฐอเมริกาทั้งทางทหารและเทคโนโลยี โลกร้อนยังเป็นทิศทางใหม่ของความตึงเครียดในหลายๆ ด้าน

เราอาจเรียกว่า นี่เป็นโลกร้อนใหม่ เราควรย้อนไปดูโลกร้อนดั้งเดิม

 

โลกร้อนดั้งเดิม (Conventional Climate Change)

องค์การสหประชาชาติประมาณการว่า โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ.2100 อุณหภูมิสูงขึ้นจะลดประสิทธิภาพการผลิตของมนุษย์และปัจจัยการผลิต เสี่ยงอันตรายต่อการผลิตอาหารในหลายๆ ประเทศ

ภาวะฝนตกเปลี่ยนไปและปรากฏการณ์ภูมิอากาศสุดขั้วบ่อยครั้ง จะก่อความเสียหายอย่างสาหัส การตอบสนองปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อทรัพยากรจนทำให้ต้องใช้การผลิตเพิ่มขึ้น เขตขั้วโลกหิมะละลายรวดเร็วและเขตทุ่งน้ำแข็งหิมาลายัน (Himalayan) ทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นประมาณ 0.44-0.76 เมตรในปี ค.ศ.2100

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสามารถเห็นรัฐเกาะเล็กๆ (Island state) ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมดในปี ค.ศ.2100 สาธารณรัฐคิริบาตี (Republic Kiribati) อ่อนแอเพราะความสูงของรัฐน้อยกว่า 2.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และประเทศมัลดีฟส์ (Maldives) ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน แล้วเกือบไม่มีหนทางย้ายประชากรออก แม้ว่าสาธารณรัฐ Kiribati และมัลดีฟส์มีประชากรน้อยเพียง 117,000 และ 510,000 คนตามลำดับ แต่ไม่มีใครรับประกันได้ว่า ประเทศอื่นๆ จะยินดีต้อนรับประชากรที่ย้ายมา

ประเทศเกือบทั้งหมดในเอเชีย-แปซิฟิกจะไม่เผชิญภัยคุกคามเหมือนกันจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แต่ประเทศจำนวนมากจะประสบน้ำท่วมรุนแรง กรุงเทพฯ จาการ์ตา โฮจิมินห์ เขต Sundarban ในบังกลาเทศและพื้นที่ปากแม่น้ำ Pearl ในจีนทั้งหมดอ่อนแอ การเคลื่อนย้ายประชากรจากพื้นที่เหล่านี้อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้การเคลื่อนย้ายประชากรคาดว่าเกิดภายใน (local) แต่ถ้าการจัดการไม่มีประสิทธิภาพ อาจกระตุ้นง่ายดายในการย้ายถิ่นข้ามพรมแดน (Cross boundary migration) อันก่อปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคได้

 

โลกร้อนแบบใหม่ (New Climate Change)

น่าสนใจมาก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่เกิดโลกร้อนบ่อยมาก ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง ไซโคลน คลื่นความร้อน (back-to back-heat waves)2 แล้วโลกร้อนยังก่อความรุนแรงทางพรมแดน (Territory) จีนตั้งต้นอ้างส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้ในเส้นเถ้าถ่าน 9 แห่ง (nine-dash lines) จีนอ้างแข่งกับมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แล้วฟิลิปปินส์นำความขัดแย้งนี้เข้าร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ศาลมีคำตัดสินแย้งจีน แต่จีนปฏิเสธฝ่ายเดียวต่อคำตัดสินของศาล

เราสามารถจินตนาการโลกร้อนกำลังสร้างความขัดแย้งใหม่ ถ้าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นทำให้ประชากรปลา (Fish population) ย้ายเข้ามาในบริเวณทะเลที่จีนอ้างความเป็นเจ้าของในทะเลจีนใต้ ถ้าจีนไม่ยินยอมให้ชาวประมงเข้าไปจับปลาและสัตว์น้ำบริเวณที่อ้าง ย่อมก่อภัยคุกคามต่อวิถีชีวิตและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

โลกร้อนสามารถสร้างความตึงเครียดใหม่เรื่อง การแข่งขันเรื่องน้ำ ประเทศแม่น้ำโขง 4 ประเทศ3 ก่อตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission – MRC) ปี 1995 MRC เป็นระบบจัดการแม่น้ำโขงร่วมกัน แต่จีนไม่ได้เป็นสมาชิก MRC และจีนควบคุมแม่น้ำโขงตอนบน (Upper Mekong River) ปี ค.ศ.2019 ระดับน้ำแม่โขงลดลงต่ำสุดในรอบ 100 ปี อันอาจเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ฝนตกต่ำกว่าเกณฑ์ และปัญหาการละลายของหิมะบนเทือกเขาหิมาลัย

แต่มีความกังวลว่า ระดับน้ำลดลงเพราะเขื่อนที่ก่อสร้างตอนบนแม่น้ำโขง เพื่อผันน้ำไปใช้ในจีน การผันน้ำนี้จะเป็นปัญหามากหากการขาดแคลนน้ำแย่ลง

ความกังวลแบบเดียวกันนี้มีการแสดงออกในอินเดีย ที่มีรายงานถึงแผนของจีนเบี่ยงแบนน้ำจากแม่น้ำ Tsang Po ที่ไหลไปทางตะวันออกผ่านทิเบต แล้วปริมาณน้ำลดลงเมื่อเป็นแม่น้ำ Brahmaputra ในอินเดีย

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ให้เพียงแนวทางทั่วไปต่อประเทศทั้งหลายคือ ใช้น้ำร่วมกันด้วยหลักยุติธรรม แต่อะไรคือการใช้น้ำร่วมกันอย่างยุติธรรม ยังไม่มีการนิยามออกมา ยังไม่มีข้อตกลงอะไรเรื่องการใช้น้ำร่วมกัน

มีการคาดการณ์ว่า โลกร้อนจะเกิดปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว เช่น ไซโคลน หรือสึนามิ

ปรากฏการณ์รุนแรงสุดขั้ว ชี้ถึงความต้องการสถาปนาความร่วมมือ อันไม่ใช่แค่มีซัพพลายที่ใช้บรรเทาความรุนแรงจากภัยพิบัติเพียงพอ หรือแม้แต่ฝึกอบรมบุคลากรเพื่อจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใดและไม่ได้คาดการณ์มาก่อน

 

สรุป โลกร้อนใหม่ ความท้าทายใหม่

ควรยอมรับว่า สภาวะโลกร้อนหาใช่เรื่องใหม่ สภาวะโลกร้อนเคยถูกตีกรอบเพียงแค่เป็นเรื่องปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกี่ยวพันใกล้ชิดกับเรื่องทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ความไม่มั่นคงทางอาหาร ความไม่มั่นคงทางด้านพลังงาน ปัญหาความยากจนในพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติ การใช้งบประมาณอย่างมหาศาลในการจัดการและบรรเทาผู้ได้รับภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดและรูปธรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของประเด็นโลกร้อน ซึ่งผู้เขียนเรียกว่า โลกร้อนใหม่

กล่าวคือ โลกร้อนใหม่ยังคงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างมากด้านเศรษฐกิจ แต่อาจเป็นภาระทางเศรษฐกิจอีกหลากหลายด้าน เช่น เมื่อโลกร้อนทำให้เมืองได้แก่ กรุงเทพฯ โฮจิมินห์ จาการ์ตาจมน้ำเพราะน้ำทะเลมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ไม่เพียงการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่แห่งใหม่

เราไม่ควรลืมว่า สังคมโลกมีคนจนเมือง (Urban Poor) ทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะที่เมืองหลวง4 ดังนั้น ไม่ใช่แค่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ชายขอบที่เกิดพิบัติภัยเท่านั้น คนจนเมืองที่อยู่ในเมืองหลวง ย่อมได้รับผลกระทบ ควรเข้าใจด้วยว่า คนจนเมืองเหล่านี้เป็นพลังการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลก

ในเวลาเดียวกัน เราแยกไม่ออกระหว่างโลกร้อนใหม่กับความเปลี่ยนแปลงทางการผลิต เราเห็นได้ชัดเรื่องพลังงานช่วงเปลี่ยนแปลง (Energy in transition) จากพลังงานคาร์บอน (ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) สู่พลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานทดแทนเหล่านี้ย่อมเป็นความไม่มั่นคงทางพลังงาน ทั้งไม่เสถียรไปจนถึงขาดแคลน เนื่องจากโลกร้อน ไม่ว่าน้ำแล้ง ฝนตกน้อยลงจนถึงภัยแล้ง

อย่างไรก็ตาม โลกร้อนใหม่ เกี่ยวพันอย่างมากต่อความมั่นคง ความมั่นคงที่เป็นทั้งเรื่องอธิปไตย บูรณภาพทางดินแดน และศักดิ์ศรีของประเทศ ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เคยเป็นเพียงความขัดแย้งเรื่องดินแดนและเขตแดน โลกร้อนใหม่ ในทะเลจีนใต้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน การแข่งขันเรื่องน้ำในแม่น้ำโขง และแม่น้ำในอินเดียกับบังกลาเทศนับว่าเห็นได้ชัด

ประเด็นคือ โลกร้อนที่มนุษย์จัดการได้ยากและควบคุมไม่ได้กำลังสร้างปัญหาความขัดแย้งด้านความมั่นคงในภูมิภาค นับเป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าเดิม

1ความสำคัญของสภาพเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนับเป็นนโยบายการต่างประเทศของชาติมหาอำนาจ ในศตวรรษที่ 21 ดู “21st Century Diplomacy : Foreign Policy is Climate Policy” Wilson Center’s Environmental Change and Security Program, 20 October 2020.

2Kristie L. Ebi, “Health risk of Climate Change in Asia” East Asia Forum 24 October 2020.

3คือ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม

4Mahendra Sethit and Felix Creutzig, “Covid-19 recovery and the global urban poor” Urban Sustainability : 23 (2021).