โลกาภิวัตน์ตายแล้วหรือ? | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์ | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

โลกาภิวัตน์ตายแล้วหรือ?

 

ท่ามกลางยุคสมัยของความไม่แน่นอน (Era of Uncertainty) ความสลับซับซ้อน ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั่วโลกเวลานี้ มีการสรุปสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกว่าเกิดจากการรุมเร้าด้วยสงครามห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) แตกสลาย และเสียหายจากโรคระบาดโควิด-19 และยิ่งแย่ลงไปอีกจากเงินเฟ้อขึ้นอย่างรวดเร็ว

มีข้อเสนอถึงโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนโลกมาอย่างยาวนาน

ผมขอนำข้อมูลบางส่วนจากการประชุมประจำปี 2022 ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจัดประชุมโดย Standard Charter ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกามานำเสนอดังนี้

 

ข้อถกเถียงหนึ่ง

ท่ามกลางคนจำนวนมาก พวกเขาเสนอว่า เราเห็นโลกาภิวัตน์ถดถอยอย่างรวดเร็ว ในขณะที่วาทกรรม ละเลิกโลกาภิวัตน์ (De-Globalization) ได้เปลี่ยนเรื่องเล่าในสื่อโลก เหมือนโลกกำลังเดินโซเซจากวิกฤตหนึ่งไปสู่อีกวิกฤตต่อไป อวสานของโลกาภิวัตน์มาถึงแล้ว

กล่าวอย่างย่อ อวสานมาจากการรุมเร้าด้วยสงครามห่วงโซ่อุปทานแตกสลายวางหัวกลับ และเสียหายจากโควิด-19 แถมยังมีคนบอกว่า การพัฒนาก็ไม่เท่าเทียม คุณสมบัติทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน (Cultural Homogenisation) การพังทลายของสภาพแวดล้อม การขูดรีดแรงงานต่างประเทศมีมากขึ้น

ในขณะที่ขบวนการชาตินิยมต่างๆ แสดงความไม่พอใจต่อโลกาภิวัตน์มีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ระบบพหุพาคี (Multilateralism) มีอำนาจเหนือกว่ารัฐ แล้วค่าเงินดอลลาร์แข็งยังเน้นถึงภัยร้ายของบูรณาการทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลแย้งจากการประชุมประจำปี 2022 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) และธนาคารโลก (World Bank) ที่ประชุมรายงานว่า โลกาภิวัตน์ยังมีฐานะเป็นผู้นำ พร้อมด้วยเหตุผลที่ว่า การไหลเวียนของทุน (Flow of Capital) ในระดับโลก โลกาภิวัตน์ทำกำไรดีกว่าการผลิตในราคาต่ำ เทคโนโลยีก้าวหน้าและนวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างประเทศมีการปรับปรุงมากขึ้น โลกาภิวัตน์ทำให้หลายชีวิตดีขึ้นในช่วงการเติบโตอย่างรวดเร็วจากปี 1988-2013 ความยากจนโลกอัตราต่อหัวลดลงจาก 35% เหลือ 10.7%

โลกาภิวัตน์ถูกโจมตีว่าเป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ก็มีการแก้ปัญหาโรคระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเปรียบเทียบกับการพัฒนาและการใช้วัคซีน

ประเด็นสำคัญในการอธิบายโลกาภิวัตน์สำหรับผมน่าจะอยู่ที่โลกาภิวัตน์ไม่สามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆ อธิบายอย่างตายตัว แข็งทื่อเกินไป ที่สำคัญ เราควรผลักดันให้โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการพัฒนาที่มีความยุติธรรมมากกว่าเดิม มีความเท่าเทียม และยั่งยืน

เรามาลองดูว่า อะไรเป็นพลังขับเคลื่อนโลกาภิวัตน์ และเรามีแง่คิดอะไรต่อโลกาภิวัตน์ได้บ้าง

 

การไหลเวียนของการค้า

ข้อมูลข่าวสารและทุน

ผมคิดว่า ประเด็นหลักคือ สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือ การประกอบสร้างความสัมพันธ์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา คือการผ่อนคลาย ปล่อยและเห็นประโยชน์อย่างมากของการค้า ข้อมูลข่าวสารและการไหลเวียนของทุน

ซึ่งผมพอสรุปได้ว่า ในที่ประชุมแห่งนั้นมีอยู่ 3 ปัจจัยหลักที่หนุนเนื่องโลกาภิวัตน์

การค้าโลก การค้าระหว่างประเทศ คือกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของหลายๆ อารยธรรม ดูได้จากศตวรรษที่แล้ว ความสามารถในการผลิต การถ่ายโอนเทคโนโลยีและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดที่ไหนก็ได้ในโลก นับเป็นการข้ามทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ตัวเลขการค้าโลกอยู่ที่ 28.5 หมื่นล้านดอลลาร์ปี 2021 เพิ่มขึ้น 13 % โดยเปรียบเทียบก่อนเกิดโควิดปี 2019

ในขณะที่องค์การการค้าโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และ OECD คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ทำให้การเติบโตของการค้าลดความเร็วลง

แต่การค้าระหว่างเขตเศรษฐกิจ APAC เป็นแบบอย่างของการเติบโต

องค์การการค้าโลกระบุว่า ข้อตกลงการค้าภูมิภาค (Regional Trade Agreement-RTA) กำลังเกิดขึ้น รวมทั้ง RTA อันใหม่ด้วย

ข้อมูล (ดูกราฟิก) แสดงให้เห็นวิวัฒนการของความตกลงทางด้านการค้าที่เกิดขึ้นและเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนับตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ การบริโภคแสดงบทบาทสำคัญในปี 2020 ข้อมูล 9.3 พันล้านคำสั่งของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross Border E Commerce) ราวๆ 60% เป็นคำสั่งซื้อระหว่างทวีป (Inter continental) อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเท่าที่มีการประมาณการต่ำๆ จะมีมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ปี 2030 จากมูลค่าราว 300 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

ความเชื่อมโยงดิจิทัลที่เติบโต เป็นแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยคนจำนวน 782 ล้านคนเข้าสู่ออนไลน์ในโลก ในครั้งแรกของปีที่เกิดโควิด-19 ดิจิทัลไลเซชั่นที่ต่อเนื่อง เปลี่ยนสังคม เศรษฐกิจ และวิธีการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กัน ด้วยปฏิสัมพันธ์ดิจิทัลกลายเป็นศูนย์กลางของวิถีชีวิตของพวกเรามากขึ้น

 

ข้อมูล ข่าวสาร

โลกาภิวัตน์ของวัฒนธรรม (Cultural Globalization) ของข้อมูลข่าวสารและของความคิดทางการเมืองกำลังเกิดขึ้นรวดเร็วมาก

และเกิดขึ้นในหนทางแตกต่างกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

การไหลเวียนของทุน

ทุนไหลเวียนข้ามพรมแดนต่อเนื่องด้วยปี 2020 การลงทุนต่างประเทศโดยตรงไหลเวียนถึง 1.58 หมื่นล้านดอลลาร์

ซึ่งผลักดันโดยการควบรวม (merger) และการได้รับมา (acquisition) รวมทั้งการเติบโตอย่างรวดเร็วของโครงการการเงินระหว่างประเทศ

แรงขับเคลื่อนนี้ ในที่ประชุมยังเห็นว่า แนวโน้มในระยะยาว การใช้เงินข้ามพรมแดนยังไม่เสียหาย และจะมองเห็นได้ในอนาคต

 

โลกาภิวัตน์ยังอยู่

เมื่อมาถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่าในที่ประชุมแห่งนั้น โลกาภิวัตน์ยังอยู่ ที่ประชุมเสนอว่า พวกเราจึงต้องแสดงเครื่องหมายการวัดโลกาภิวัตน์อีกครั้ง ให้เกิดความแน่นอนว่า มีการเติบโตที่เท่าเทียมและยั่งยืนในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ มีการเสนอว่า การค้าโลกเปลี่ยนโดยรากฐานจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ตอนนี้รวมไปถึงข้อมูล ความคิดและทุน ได้อำนวยให้เกิดแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ (new digital platform) และเทคโนโลยีเกิดใหม่ การบูรณาการตลาดพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprise-SME) เข้าสู่การค้าโลกเป็นจริง SME จำนวนราว 90% เป็นธุรกิจและการจ้างงานมากกว่าครึ่งทั่วโลก พวกเขาให้ 40% ของ GDP ในเศรษฐกิจใหม่ โลกาภิวัตน์ต้องให้โอกาส SME มีโอกาสเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลก

เทคโนโลยีสามารถเข้าร่วมกับการค้าโลก ผลประโยชน์ตอบแทนข้ามการผลิต ความคล่องแคล่ว (agility) เห็นได้และฟื้นตัว โรคอุบัติใหม่ท้าทาย SME ที่ต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แต่มีเพียง SME ทั่วโลกไม่มากที่อุทิศทรัพยากรให้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ ด้วยเงินทุนไม่พอและความชำนาญเป็นอุปสรรค

ความยั่งยืนต้องอยู่ด้วยส่วนหน้าคือ จิตใจ เป็นแรงขับเคลื่อนโลก มุ่งสู่เป้าหมายในช่วงกลางศตวรรษ หมายความว่า มีความเกี่ยวข้องกับทุกอย่างนับตั้งแต่ฝุ่นจากการขนส่ง การทำลายป่าเพื่อผลิตสินค้า ห่วงโซ่อุปทานเชื่อมกับการทำลายสภาพแวดล้อม ความสำเร็จที่เลี่ยงไม่ได้จากมาตรฐานธรรมาภิบาลระดับโลก ความร่วมมือเพื่อกำกับดูแลเพื่อความยั่งยืน

กล่าวโดยสรุป ที่ประชุมแห่งนั้นเสนอว่า

ยุติธรรมมากกว่าเดิม (Fairer) มีส่วนร่วมมากกว่าเดิม (more inclusive) และยั่งยืนมากกว่าเดิม (more sustainable)

 

ย้อนพินิจ

ผมจึงอยากเสนอว่า เราควรมองและเข้าใจเศรษฐกิจไทยให้ถ่องแท้มากกว่าที่เป็นอยู่

น่าเป็นห่วงเศรษฐกิจไทย และน่าเป็นห่วงคนไทยยิ่งกว่า เมื่อบางคนพูดว่า เศรษฐกิจไทยดีขึ้น ดีกว่าเดิม ดูจากมีคนซื้อข้าวโพดคั่วมากขึ้น ซื้อรถยนต์มากขึ้น

ในเวลาเดียวกัน ผู้นำเราก็เสนอหนังสือที่ควรอ่านให้เราอ่าน

เดิมเคยเสนอให้เราอ่านหนังสือเกี่ยวกับสี จิ้นผิง ผู้นำจีน

ตอนนี้เสนอให้พวกเราอ่านทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 แล้วบอกว่า พวกเราจะร่ำรวย

ตอนนี้ย้อนกลับมาคิด เราควรใช้ไชน่าโมเดล ที่เป็นระบอบอำนาจนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์หรือครับ เช่นกัน ท่านพลเอกแห่งกองทัพไทย เสนอระบบทุนนิยม

แปลกใจจริงๆ ครับ น่าห่วงคนไทย