อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : คิดใหม่เกี่ยวกับอาเซียน (Rethinking ASEAN)

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : คิดใหม่

อาเซียนซึ่งหมายถึงอาณาบริเวณของ 10 ประเทศอันประกอบด้วย สหภาพเมียนมา สปป.ลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ราชอาณาจักรบรูไน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ประกอบด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคน ซึ่งมีความหลากหลาย (Diversity) ทั้งศาสนา เพราะประกอบด้วยความเชื่อถือผี ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ พุทธเถรวาท ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า

ทั้งชาติพันธุ์ (Ethnicity) เช่น ไท มาเลย์ คะฉิ่น กะเหรี่ยง มอญ ขแมร์ จาม ฯลฯ ภาษา เช่น บาลี สันสกฤต มอญ-ขแมร์ บาฮาสา อินโดนีเซีย ตากาล็อก เป็นต้น

แต่ความหลากหลายทั้งทางชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมยังเป็นอัตลักษณ์สำคัญให้เกิดทั้งการเกาะกลุ่มของคนหลายระดับชั้นทั้งชนชั้นสูง ชนชั้นล่าง การพัฒนาที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันทั้งชนบทและเมือง ทั้งจากระบบทุนนิยมโลกที่มาจากลัทธิจักรวรรดินิยมและระดับศักดินาภายในสังคมชนเผ่าดั้งเดิมด้วย

ความหลากหลายของอาเซียนได้รับการท้าทายจากระบบทุนนิยมโลก การล่าเมืองขึ้นและก็ไม่ได้ถูกแทนที่ด้วยองค์กรอาเซียนซึ่งประสบความสำเร็จมาในระดับหนึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งโดยผู้นำไทย อินโดนีเซียและมาเลเซียนับตั้งแต่ปี 1967 จนถึงปัจจุบัน

แต่ความหลากหลายกลับเป็นทั้งจุดเด่นที่ยืดหยุ่นให้เกิดการปรับตัวภายในของชนชั้นต่างๆ และมีประสิทธิภาพที่มากกว่าเชื้อชาติ องค์การพหุภาคีในยุโรปและตามทฤษฎี International Relation

แนวทฤษฎีดั้งเดิม สำนัก Realist เน้นบทบาทแต่ของรัฐที่มีความเป็นอิสระ เอกเทศ มีพรมแดนและอธิปไตย มีแกนหลักอยู่ที่ power relation และประเทศมหาอำนาจครอบงำและอยู่บนสุดของยอดพีระมิดโครงสร้างอำนาจ

ตรงนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีข้อจำกัดอยู่ที่รัฐ เป็น top down แม้ในองค์การระหว่างประเทศ อธิบายความแตกต่างของชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นเรื่องที่ยังมีพลังในระบบระหว่างประเทศไม่ได้

แนวทฤษฎีนอกกระแส เช่น Constructivism ย้อนกลับไปเน้นที่ภูมิศาสตร์ เน้นการศึกษาพื้นที่ จึงให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและ cross culture study เช่น Identity IR ที่เชื่อว่า ความหลากหลายของชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมช่วยให้เกิดทั้งการรวมกลุ่ม (integration) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคได้ เช่น องค์กรอาเซียน แต่ความรู้ใหม่เกี่ยวกับอาเซียน ควรพัฒนาการวิเคราะห์การข้ามพื้นที่ ข้ามวัฒนธรรมและความเชื่อมโยงของชาติพันธุ์ต่างๆ และการผลิตในระบบดั้งเดิมและระบบทุนนิยมข้ามพรมแดนอาเซียน อาจเรียกแนวการวิเคราะห์อย่างคร่าวๆ คือ ASEAN”s Transboundary socio economic and culture

เพื่อความเข้าใจสิ่งที่เป็นอยู่ กำลังเคลื่อนไหวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน เพื่อนำเสนอ ASEAN เป็นข้อเสนอทางนโยบายระหว่างประเทศที่ดีกว่า และการเปรียบเทียบที่เป็นไปได้ระหว่างเอเชียกับยุโรปในประเด็นดังต่อไปนี้

 

ประเด็นอาเซียนที่ควรศึกษาและระเบียบวิธี
ข้อมูลสังคมเศรษฐกิจและทิศทาง : การตีความ (Socio Economic data and trend)
Global Economy is effecting to ASEAN”s Aging Society

ข้อมูลพื้นฐานของโครงสร้างทางสังคม-เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างไร ประชากรของภูมิภาคนี้มีจำนวน ความแตกต่างทางชนชั้น ความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองและคนชนบทเป็นอย่างไร นับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ต้องรู้ก่อน

การก้าวสู่สังคมสูงวัยเกิดขึ้นที่ประเทศไหน เช่น ไทยและสิงคโปร์นั้นสังคมสูงวัยแตกต่างกันอย่างไร

รัฐบาลของสิงคโปร์จัดการสังคมสูงวัยอย่างไร และร่วมศึกษาจากสหราชอาณาจักรหรือประเทศไทย ศูนย์ฟื้นฟูผู้สูงวัยของสิงคโปร์ต้องการรองรับผู้สูงวัยสิงคโปร์หรือคนญี่ปุ่น

กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพและเครือลงทุนสร้างโรงพยาบาลข้ามชาติทั้งในกัมพูชา เวียดนาม (โรงพยาบาลกรุงเทพ) ต้องการรองรับผู้สูงวัยในสองประเทศนี้ ซึ่งมีและต้องการการดูแลอย่างเข้มข้นโดยไม่ต้องมาสาขาโรงพยาบาลกรุงเทพที่กรุงเทพฯ เพราะราคาแพงกว่า

ที่ใดที่หนึ่งอาจเป็นฮับด้านการรักษาพยาบาล พร้อมกับเป็นสถานที่ฝึกพยาบาลวิชาชีพที่อาจมาจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มากกว่าที่จะไปตั้งโรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ไปประจำเพราะพื้นที่นั้นมีความต้องการทางการแพทย์แค่ระดับอนามัยขั้นพื้นฐาน

นี่อาจต้องเป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทยกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เพื่อทำงานด้านสาธารณสุขของคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคมากกว่าที่จะเป็นศูนย์การแพทย์ระดับสูงรักษาลูกค้าที่มาจากประเทศตะวันออกกลางเพียงอย่างเดียว

ในเวลาเดียวกัน กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพกำลังเปิดวิทยาลัยผลิตพยาบาลวิชาชีพโดยความร่วมมือกับรัฐบาลและภาคเอกชน รวมถึงคนท้องถิ่นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่ต้องการเป็นพยาบาลวิชาชีพดูแลผู้สูงวัยหรือที่เรียกว่า care taker ในภูมิภาคนี้มากกว่าไปทำงานเดียวกันในสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือญี่ปุ่น

 

ชีวิตความเป็นเมืองของคนรุ่นใหม่
(Urbanized life of young generation)

ในทางตรงกันข้าม อาเซียนตอนบนคือ สปป.ลาว กัมพูชาและเวียดนามเป็นสังคมของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีจำนวนมาก

ได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจว่า คนรุ่นใหม่ในกัมพูชานี้เป็นคนชั้นกลางและก่อให้เกิดตลาดใหม่ในพนมเปญ รวมทั้งการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

ซึ่งก็เกิดขึ้นในเวียดนาม สปป.ลาวและเมืองอุดรธานี อุบลราชธานีภาคอีสานของไทยอีกด้วย

คนกัมพูชา เวียดนาม ลาวและคนชั้นกลางในไทยเหล่านี้ไม่รู้จักสงครามเย็นและสงครามกลางเมือง แต่บริโภคสินค้าและบริการแบบเดียวกับชนชั้นกลางในยุโรป เช่น ดื่มและกินอาหารแดกด่วน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เดินทางท่องเที่ยวทั้งในยุโรปและอาเซียนเป็นประจำ ต้องการทำงานอิสระมากกว่าเป็นข้าราชการและลูกจ้างบริษัท แต่งงานแต่ไม่ต้องการมีลูก

แนวโน้มเช่นนี้ ภาครัฐและบรรษัทข้ามชาติมีนโยบายและแผนการตลาดอย่างไร จะตอบสนองคนรุ่นใหม่และเศรษฐีใหม่อย่างไร

 

การศึกษาข้ามพรมแดนของอาเซียน
(ASEAN Transboundary Education)

นโยบายของรัฐใดรัฐหนึ่งในอาเซียนย่อมไม่อาจนำมาใช้ในการวางแผนประชากร สุขอนามัย และการศึกษาได้ แต่ต้องร่วมมือระหว่างรัฐต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรมของไทย กัมพูชา สปป.ลาวและเวียดนามอาจต้องมีแผนการศึกษานานาชาติโดยให้ที่ใดที่หนึ่งในสี่ประเทศนี้เป็นโรงเรียนนานาชาติเพื่อรับนักศึกษาเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามาเรียน โดยนักศึกษาจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเสียแล้ว

ในเวลาเดียวกัน การศึกษาที่ต้องร่วมมือกันระหว่างหลายประเทศ เช่น ไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์คงไม่ใช่การศึกษาในระบบเดิมซึ่งเน้นรับปริญญาขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์เพียวๆ หรือมนุษยศาสตร์ที่ไม่มีงานทำ

ตรงกันข้าม การเรียนมนุษยศาสตร์ด้านภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในอาเซียนอาจมีศูนย์กลางได้ถึงสองแห่งในเวลาเดียวกันคือ ที่หลวงพระบาง สปป.ลาว และโฮจิมินห์ซิตี้ เวียดนาม

โดยเปิดการศึกษาภาษาอาเซียนคือ เวียดนาม บาฮาสา อินโดนีเซียและกัมพูชาในหลักสูตรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในอาเซียน เปิดสอนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เปิดสอนการจัดการด้านกิจการท่องเที่ยว การโรงแรม การสื่อสารออนไลน์

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ต่อคนหลายอาชีพ มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องตามความต้องการของคนหลากหลายชาติ ทั้งคนจีนที่มีจำนวนมากและมีกำลังซื้อ คนยุโรปที่มีกำลังซื้อสูงและตอบสนองการเดินทางที่เพิ่มขึ้นด้วยสายการบินราคาต่ำทั่วโลก รวมถึงอาเซียนด้วย

ดังนั้น การเปิดหลักสูตรการศึกษานานาชาติของหลายชาติในอาเซียนด้านการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมนอกจากเป็นการกระจายรายได้ในหลายระดับ ยังเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างกันของคนทั่วไป

ที่สำคัญยอมรับในอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันด้วยความเข้าใจ ยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติที่ระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาขณะนี้

 

แนวโน้มการเคลื่อนย้ายในระดับโลก
(Global Mobility trends)

ขณะที่โลกกำลังตระหนกกับการย้ายถิ่น (migration) ของคนในตะวันออกกลางเข้าไปในยุโรป แต่บางการศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า หากรวมคนย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยจากความอดอยากและสงครามซึ่งคาดว่ามีคนราว 250 ล้านคน อาจนับเป็น new republic ที่ท้าทายรัฐเดิมทั้งในยุโรปและเอเชีย

ในความเป็นจริง คนย้ายถิ่นอาจเป็นนิยามที่ล้าสมัย คือ คนย้ายจากที่หนึ่งด้วยเหตุผลหนึ่ง แล้วย้ายกลับมาอยู่ถิ่นฐานเดิม

เช่น คนกะเหรี่ยงในเมียนมาย้ายมาทำงานในเมืองแม่สอด และจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดสมุทรสาคร แล้วเดินทางกลับหมู่บ้านของตนในรัฐกะเหรี่ยง เมียนมา

แต่ปัจจุบัน คนย้ายถิ่นอาจเป็นคนที่ไม่ได้เข้ามาทำงาน แต่เขาเคลื่อนย้ายเพราะเขามาเป็นนักศึกษา เป็นแรงงานและแม้แต่นักท่องเที่ยว บางส่วนของนักศึกษาจีนและเกาหลีใต้เรียน แต่งงานและทำงานประจำในญี่ปุ่นแล้วไม่กลับหมู่บ้านของตนในกว่างซี จีนอีกเลย

ดังนั้น Mobility นับเป็นแนวโน้มของการเคลื่อนย้ายของผู้คนทั่วโลกมากกว่าคนย้ายถิ่น