หนุ่มสาวแคชเมียร์ (จบ)/มุมมุสลิม จรัญ มะลูลีม

จรัญ มะลูลีม

มุมมุสลิม

จรัญ มะลูลีม

 

หนุ่มสาวแคชเมียร์ (จบ)

 

หญิงชาวญัมมูและแคชเมียร์

ท้าทายโอกาส

ที่จะประสบความสำเร็จ

ชาริยัต ฟาฏิมะฮ์ (Shariyat Fatima) นักศึกษาที่กำลังทำปริญญาโทด้านจิตวิทยาและเป็นนักเขียนอิสระของอินเดียได้บอกเล่าถึงชีวิตของผู้หญิงแคชเมียร์อย่างริฟัต แจน (Rifat Jan) เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

ฉันไม่เคยกลัวอะไรเลยและตั้งใจแน่วแน่ที่จะเผชิญกับความท้าทายทุกๆ อย่าง และมองตัวเองผ่านมัน ริฟัต แจน จากศรีนาการ์กล่าวขณะแบ่งปันความรู้ของเธอในการจัดการและบริหารการผลิตไม้ตีคริกเก็ต (bat-making) อันเป็นกีฬายอดฮิตของอินเดีย ธุรกิจการผลิตไม้ตีคริกเก็ตของเธอนับเป็นกิจการแห่งเดียวในรัฐ J&K ที่มีสตรีเป็นผู้บริหาร

แจนเริ่มลังเลที่จะทำธุรกิจนี้ เพราะนอกจากเธอจะมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในครอบครัวของเธอแล้วเธอก็เหมือนกับผู้หญิงส่วนใหญ่ในแคชเมียร์ที่ไม่มีเอกสิทธิ์ในการใช้จ่ายในแต่ละวันและได้รับโอกาส

อย่างไรก็ตาม หลังการจากไปของพ่อตาและสถานการณ์ทางการเงินที่เลวร้าย ผู้หญิงที่เต็มไปด้วยพลังอย่างแจนก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเริ่มต้นธุรกิจที่พ่อตาของเธอตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1970

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ดำเนินการร่วมทุนนี้ ธุรกิจก็เติบโตภายใต้การบริหารของแจน ซึ่งเห็นได้จากหน่วยการผลิตใหม่ที่ตั้งขึ้นในเมืองอวันติปอร์ (Awantipore) อนันตนาค (Anantnaq) และปัมโปเร (pampore) ธุรกิจนี้ตอบสนองความต้องการจากรัฐต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในมุมไบและเชนไน

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของเจตจำนงอันแรงกล้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงในดินแดนสหภาพอินเดียแห่งญัมมูและแคชเมียร์ เป็นความจริงที่สตรีชาวแคชเมียร์อาศัยอยู่ในสังคมปิตาธิปไตย ทั้งนี้ จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมทั้งในระดับโลกและระดับชาติที่สะท้อนให้เห็นในสหภาพยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก

พวกเธอยังคงผูกติดอยู่กับบทบาทในความเป็นเพศหญิงของพวกเธอ และผลกระทบของความไม่สงบในภูมิภาคที่เป็นหุบเขา

ผู้หญิงจำนวนมากในภูมิภาคนี้มักเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากของชีวิตที่ไร้ความปรานี โดยต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพังและดูแลบ้านเรือนโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าในการหารายได้ที่มั่นคง แม้จะมีข้อจำกัด แต่ผู้หญิงในรัฐ J&K ก็มีความใฝ่ฝัน และไม่ลังเลที่จะเผชิญหน้า และเอาชนะอุปสรรคที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่ขัดขวางการบรรลุความฝันดังกล่าวได้ในเวลาต่อมา

ในขณะที่การไม่รู้หนังสือเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้หญิงในการบรรลุความฝันของพวกเธอในดินแดนสหภาพ สถาบันต่างๆ เช่น สถาบันพัฒนางานฝีมือที่ศรีนนครหรือศรีนาการ์ ได้จัดให้มีการฝึกอบรมทักษะในด้านศิลปะในภูมิภาคที่ผู้คนมีความปรารถนาอย่างสูง เช่น การถักทอ นัมดา (Namda) หรือพรมแบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นจากการรีดและจากขนสัตว์

 

ในช่วงเวลาที่มีข้อมูลที่ผิดพลาดและการรายงานข่าวเชิงลบยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย การมองแคชเมียร์ผ่านมุมมองการเติบโตของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ นอกเหนือไปจากด้านการเมืองและความมั่นคง และเรื่องราวของการเสริมกำลังในเชิงบวก

การร่วมทุนทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการเป็นทางเลือกหลักที่ผู้หญิงในแคชเมียร์ให้ความสนใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้หญิงแคชเมียร์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เลือกงานหรือการลงทุนทางธุรกิจซึ่งเป็นความก้าวหน้าในอาชีพการงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่ถูกมองว่าการพัฒนาทางสังคมมีความล่าช้าและสิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนในที่สุด

การแยกส่วนของรัฐญัมมูและแคชเมียร์เข้าสู่ดินแดนสหภาพที่มีสภานิติบัญญัติรองรับได้รับแรงผลักดันอย่างมากจากการขาดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง การพัฒนาอย่างแท้จริงในภูมิภาคได้รับความยากลำบากมาเป็นเวลานาน

ตัวอย่างเช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจในรัฐนั้นไม่แน่นอนมานานแล้ว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของรัฐจะผันผวนระหว่าง 3.2% ถึง 17.7% ในช่วงสองปี อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประกาศเป็นสหภาพ การส่งออกทั้งหมดจากที่มีอยู่ 188.18 ล้านดอลลาร์ในปี 2019-2020 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 159.64 ล้านดอลลาร์ในปีการเงิน 2021

ผู้หญิงอย่างอารีฟา (Arifa) ก็เห็นประโยชน์จากการงานเหล่านี้เช่นกัน เธอประสบความสำเร็จในการทำความฝันให้เป็นจริง และยังทำงานสำคัญๆ เพื่อปูทางให้ผู้หญิงและช่างฝีมือคนอื่นๆ มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การเริ่มต้นจากความปรารถนาที่จะเป็นตัวของตัวเองสำหรับอาริฟาได้เติบโตขึ้นมาเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม ซึ่งทำให้เธอสามารถขยายการจ้างงานไปยังผู้หญิง 12 คนจากทั้งหมด 25 คน ในขณะที่เธอได้ฝึกอบรมให้กับผู้หญิงคนอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมหัตถกรรมของแคชเมียร์ได้นำไปสู่การจ้างงานโดยตรงและเป็นประโยชน์แก่ช่างฝีมือประมาณ 340,000 คนโดยรวม นับเป็นผู้ประกอบการหญิงที่สร้างความเติบโตให้กับรัฐ J&K อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ยังมีการให้ความสำคัญกับการจัดตั้งสหกรณ์สตรีล้วนโดยมีผู้ถือหุ้นเป็นช่างฝีมือ เพื่อให้ผลกำไรหมุนเวียนกลับมาที่กลุ่มของผู้ที่ทุ่มเทให้แก่การทำงานหนักทุกคน

 

ท่ามกลางความโกลาหลของภูมิภาค และสภาพความเป็นอยู่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากการระบาดใหญ่ของโควิดไปทั่วโลก ผู้หญิงในภูมิภาคนี้ไม่เคยท้อถอย พวกเธอได้ทุ่มเทให้กับสังคมและชุมชนอย่างสุดความสามารถ

ด้วยการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ประกอบการสตรีได้สร้างชื่อเสียงให้กับทุกชีวิต ตั้งแต่ธุรกิจนมที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงสิ่งจำเป็นที่ผู้คนต้องการ รวมไปจนถึงนักออกแบบแฟชั่นที่หันมาผลิตหน้ากากและชุดป้องกันเชื้อโรค

การเป็นรัฐเกษตรกรรมถึงร้อยละ 65-70 ของประชากรญัมมูและแคชเมียร์ทำให้ผู้คนขึ้นอยู่กับการเกษตร ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยวิธีการทั่วไปในการทำมาหากิน ผู้หญิงแคชเมียร์จึงหันไปใช้ความพยายามทางการเกษตรเพื่อเติมเต็มความทะเยอทะยานในอิสรภาพและการยังชีพของตนเอง

นุสรัต ญะฮาน อารา (Nusrat Jahan Ara) เป็นหนึ่งในผู้หญิงของแคชเมียร์ซึ่งลาออกจากงานรัฐบาลเพื่อเริ่มต้นธุรกิจไม้ตัดดอกที่เฟื่องฟูเมื่อเกือบสองทศวรรษที่แล้ว ไปจนถึงฟารีดา บาโน ที่เริ่มกิจการผ้าไหมของเธอเองและหางานกับผู้หญิงอีก 10 คน ผู้ประกอบการเหล่านี้พลิกชีวิตของพวกเขาและช่วยให้ผู้อื่นมีงานทำเช่นเดียวกัน

ในเรื่องรัฐสหพันธ์นี้รัฐบาลอินเดียได้มุ่งเน้นโดยตรงไปที่การเติบโตในทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ โดยมีการเปิดตัวกองทุนพัฒนาคลัสเตอร์มูลค่าสองพันล้านรูปี และล่าสุดธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กแห่งอินเดีย (SIDBI) จากโครงการ Jammu and Kashmir Bank ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินจำนวน 500,000 รูปีแก่เด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 18 ถึง 35 ปีเพื่อเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง

และโครงการของธนาคารแห่งชาติปัญจาบ (PNB) ก็ได้อนุมัติเงินมูลค่าสูงถึงสองพันล้านรูปี สำหรับอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวรายย่อย

ในเดือนเมษายน ปี 2021 รัฐบาลญัมมูและแคชเมียร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 456 ฉบับกับบริษัทต่างๆ เพื่อการลงทุนที่มีศักยภาพมูลค่า 23,152 สิบล้านรูปี (3.17 พันล้านดอลลาร์)

นับเป็นการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและการเริ่มต้นธุรกิจในภูมิภาคที่ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น

 

ความลำบากใจที่ผู้หญิงได้แสดงออกเมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากยังได้รับความช่วยเหลือจากความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่น เช่นเดียวกับกรณีของฟารีดา (Fareeda) ที่รัฐบาลของรัฐสหพันธ์มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการจัดหาผลประโยชน์ของผู้ประกอบการสตรี และในกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับการทำงานของพวกเธอ

แผนงานต่างๆ ของรัฐบาล เช่น UMEED, SAATH และ HAUSLA ได้ก้าวไปไกลในการให้การสนับสนุนผู้หญิงที่ต้องการหรือก้าวเข้าสู่วงการของผู้ประกอบการ กลุ่มช่วยเหลือตนเองมากกว่า 50,000 กลุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในชนบท และผู้หญิงที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับผู้หญิงมากกว่า 450,000 คน

ชาริยัต ฟาฏิมะฮ์ ปิดท้ายการบอกเล่าของเธอว่าด้วยผู้หญิงแคชเมียร์ที่เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการด้วยการให้กำลังใจว่าพวกเธอจงอย่ากลัวที่จะเอาชนะความทะเยอทะยานของตนเอง ความกลัวมีอยู่ในใจเท่านั้น พวกเธอต้องการแค่ความกล้าเพื่อก้าวแรกนั้น และเมื่อทำตามขั้นตอนแรกแล้ว เส้นทางจะปรากฏต่อหน้าพวกเธอเอง

ด้วยการมาจากผู้หญิงที่เอาชนะอุปสรรค คำเหล่านี้เป็นจริงสำหรับทุกคนที่มีอยู่แล้วหรือหวังว่าจะสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เรื่องราวของผู้หญิงแคชเมียร์เหล่านี้มักถูกบดบังด้วยความขัดแย้งในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องยอมรับการทำงานพวกเธอ เพื่อให้พวกเธอได้รับการยอมรับและเติบโตต่อไปในที่สุด