เปิดอาเซียนอีกครั้ง/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

เปิดอาเซียนอีกครั้ง

 

นับจากเดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป ขอต้อนรับภูมิภาคอาเซียนที่เปิดใหม่อีกครั้ง หลังภูมิภาคอาเซียนปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่แพร่กระจายจากภายนอก

โควิด-19 ได้ทำลายและก็ได้สร้างอะไรอีกมากมาย โควิด-19 ได้ปิดอะไรหลายอย่าง แต่โควิค-19 เองก็ได้เปิดอะไรอีกหลายอย่างให้ปรากฏ อย่างกว้างๆ คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากโรคระบาดครั้งใหญ่กระทบทุกอณูของสังคม ทุกช่วงชั้นของสังคม ข้ามพรมแดน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกวัฒนธรรม ทุกศาสนา และสถาบันทางสังคมทุกชนิดต่างเผชิญความเปลี่ยนแปลงนี้จากไวรัสตัวนี้

บทความนี้ จะหยิบยกการเปิดอีกครั้งของภูมิภาคอาเซียน โดยเพียงกล่าวถึง ภาคการท่องเที่ยว (tourist sector) หนึ่งความหวังของการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ โดยหยิบยกภาพรวม ความจริงบางชุด ข้อจำกัดบางประการ โดยพาไปดูข้อตกลงและกติกาด้านภาคการท่องเที่ยวของอาเซียน อาจมีแง่มุมการอธิบายทางเศรษฐศาสตร์ โลจิสติกส์ ความเชื่อมโยง (connectivity) ทางกายภาพ (Physical) เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อเตือนว่า ภาคการท่องเที่ยวนั้นมีหลากหลายมิติ หาใช่มีแต่ด้านสร้างสรรค์แบบ Creative Tourism เท่านั้น

 

เปิดอาเซียนอีกครั้งเถอะ

อาจกล่าวได้ว่า ตอนนี้อาเซียนแต่ละประเทศเร่งเปิดพรมแดนภายใต้โรคระบาดใหญ่โควิด-19 อาเซียนได้พบอีกครั้งหนึ่งในสิ่งที่ภูมิภาคต้องการคือ ภาคการท่องเที่ยว

ช่วงนี้อาจกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติสมาชิกอาเซียนมีสัญญาณผ่อนคลายในหลายมิติ การเดินทางข้ามพรมแดนแบบกลุ่มกลับสู่สภาพเดิม แล้วตอนนี้ทุกประเทศยังมีข้อห้ามบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีข้อจำกัดเลย โชคไม่ดีเอาเลย อาเซียนในฐานะองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ไม่ได้เรียนรู้อะไรมากนัก จากบทเรียนอันทรงคุณค่าจากโรคระบาดโควิด

เรื่องแรก การประสานระเบียบการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

เรื่องที่สอง ทักษะและนโยบายการบินของแต่ละประเทศในอาเซียน

 

การประสานระเบียบการท่องเที่ยว

สิ่งที่ขาดไม่ได้ เราควรมองภาพรวมด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนจาก ระเบียบระหว่างประเทศ คือ ASEAN Travel Corridor Arrangement Framework-ATCAF ก่อตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2020 ระเบียบการจัดการด้านการท่องเที่ยวที่มีความตั้งมั่นสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโรคระบาดโควิด และฟื้นชีวิตของความเชื่อมโยงของภูมิภาค (regional connectivity)

ทั้งนี้ ทำให้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก ATCAF มีคนเปรียบเปรยว่า เหมือนชามก๋วยเตี๋ยวของการแลกเปลี่ยนแบบทวิภาคี (bilateral) ของบรรดาข้อมูลมาตรฐานและการจัดหา (procurement) มาตรฐาน รวมทั้งมาตรฐานด้านสุขภาพทั้งก่อนเดินทาง (pre-departure) และหลังมาถึง (post-arrival)

เมื่อเราได้พิจารณาแล้ว การแลกเปลี่ยนเหล่านี้มันเป็นทวิภาคีโดยสถานะ (bilateral nature) ช่วยพิสูจน์ให้เห็นว่า ATCAF เป็นการจัดการที่ยุ่งยากและกินเวลา ทั้งนี้ การสถาปนาช่องทางแบบทวิภาคีนี้ แต่ละประเทศและทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ดูเหมือนมีความเป็นเหตุเป็นผลทีเดียวคือ ต่างมีความแตกต่างด้านมาตรฐานของแต่ละประเทศ ด้วยธรรมชาติที่เป็นระบบทวิภาคีของ ATCAF ATCAF จึงพ่ายแพ้ต่อเป้าหมายการจัดการระดับภูมิภาค (regional arrangement)

นอกจากนั้น การปฏิบัติของ ATCAF ยังมีข้อจำกัดเรื่องพลเมือง (citizen) ผู้พักอาศัยถาวร (permanent residents) หรือคนที่อยู่ระยะยาว (long-term pass holders) ที่สำคัญมาก ยังมีผลว่า ประเทศอาเซียน ขาดเป้าหมาย วางอาเซียนเป็นเป้าหมายตลาดท่องเที่ยวตลาดเดียวปี 2025 (single tourism destination by 2025) อีกด้วย

ATCAF ความจริงมีสถานะเหนือกว่านโยบายการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นฝ่ายเดียว (unilateral) ซึ่ง ATCAF สิ่งนี้กำจัดมาตรการเดินทางที่ยุ่งยาก รวมทั้งการตรวจการเดินทางก่อนและหลังการเปิดอาเซียนอีกครั้ง ผลักดันการท่องเที่ยว และเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ประเด็นสำคัญคือ ในขณะนี้อาเซียนยังคงถกเถียงการปฏิบัติตาม ATCAF อยู่เลย ความจริงคือ การท่องเที่ยวตามระเบียงอาเซียน (ASEAN-wide travel corridor) ไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว

ตอนนี้ 6 ชาติสมาชิกอาเซียนได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน ทำงานร่วมกันก่อให้เกิดสิ่งใหม่อย่างเร่งด่วน และฟื้นฟูการเดินทางทางอากาศระหว่างเมืองต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตามแถลงการณ์ของทั้ง 6 ประเทศ1

“…จะอำนวยการยอมรับใบรับรองด้านสุขภาพด้านโรคระบาดโควิด-19 ของผู้เดินทางอาเซียน และร่วมกันพัฒนาตลาดการบินเดียว (single aviation market) ของอาเซียน…”

อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของความเชื่อมโยงทางอากาศระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นๆ ทั้งจะสนับสนุนการฝึกอบรมและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการฟื้นตัวและการเติบโตภาคการบินพลเรือน และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของแรงงานในภาคการบินอีกด้วย ทั้งนี้ เป็นแถลงการณ์ของรัฐมนตรีชาติอาเซียนมีขึ้นในวันแรกของการฉลองการเปิดสนามบินนานาชาติสิงคโปร์ Changi ในงานประชุม Changi Aviation Summit ที่ Sands Expo and Convention Center

เราควรหันมาดูข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนโดยพิจารณาจากคนเดินทางที่ได้รับวัคซีน

 

สถานะชาติสมาชิกอาเซียน

เปิดอีกครั้ง

สำหรับคนเดินทางที่ได้รับวัคซีน

ข้อมูลการเดินทางของประเทศสมาชิกอาเซียนกับมาตรการด้านการรับวัคซีนโรคโควิด ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2022 เราจะพบว่า ทุกประเทศได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว แทบไม่มีการตรวจโรคระบาดก่อนเดินทาง (pre-departure test) และหลังจากเดินทางมาถึง (post-arrival test)

มี 4 ประเทศที่ไม่ต้องทำ ประกันขั้นต่ำ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย และสิงคโปร์

มีประเทศที่ต้องทำประกันขั้นต่ำคือ บรูไน (50,000 เหรียญบรูไน) อินโดนีเซีย (25,000 เหรียญสหรัฐ) เมียนมา (25,000เหรียญสหรัฐ) ฟิลิปปินส์ (35,000 เหรียญสหรัฐ) ไทย (10,000 เหรียญสหรัฐ) เวียดนาม (10,000 เหรียญสหรัฐ)

กล่าวโดยสรุป แม้ข้อจำกัดเนื่องจากความเข้มงวดของมาตรการโควิด-19 ที่มีผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศอาเซียนเหลือน้องลงมาก จนแทบไม่มีแล้ว แต่กรอบความร่วมมือ ATCF นับว่าไม่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในและระหว่างประเทศอาเซียน

ด้วยเหตุของแต่ละประเทศมีแนวทางและนโยบายการท่องเที่ยวแตกต่างกัน การปฏิบัติการกรอบกติการะหว่างชาติอาเซียนไม่เกิดขึ้นจริง

ในทางปฏิบัติและความเป็นจริง ความร่วมมือที่ริเริ่มจากแต่ละประเทศทำงานในกรอบความร่วมมือใหม่นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังการประชุม Changi Aviation Summit กลับประสบความสำเร็จมากกว่า

คราวนี้เรามาดูนโยบายการบินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาเซียน

 

ทักษะและนโยบายการบิน

ของแต่ละประเทศในอาเซียน

ความจริงแล้ว นโยบายการบินของแต่ละประเทศอาเซียนแตกต่างกัน แม้ในช่วงโรคระบาดโควิด-19 มีข้อตกลงด้านการขนส่งทางอากาศจำนวนมากมายก่ายกองแล้ว แต่ละประเทศต่างมีมาตรการของตนเอง ระบบการจัดการโรคระบาดโควิด-19 ภายในของตนเอง ได้แก่ เลนสีเขียว หรือการเดินทางของผู้เดินทางที่รับวัคซีนแล้ว

แต่ข้อเสนอเปิดน่านฟ้าอาเซียนตลาดเดียว (ASEAN Single Aviation Market) ที่ลงนามในปี 2016 ไม่อาจทันกาลกับการฟื้นตัวด้านการเปิดเสรีการเดินอากาศของภูมิภาคได้

ประเด็นสำคัญคือ ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) การรักษาผลประโยชน์ของสายการบินแห่งชาติ (National Carrier) ก่อให้ไม่เกิดผลกำไรต่ออุตสาหกรรมการบินโดยรวม

ไม่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของสนามบินเพื่อบริการด้านการขนส่งทางอากาศ

 

สรุป

การเปิดพรมแดนใหม่อีกครั้งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองมากกว่า

ความจริงที่ยังคงอยู่คือ การตัดสินใจร่วมกันปฏิบัติได้จริงๆ ยังไม่เคยปรากฏและจะไม่มีวันสำเร็จ

เจตจำนงทางการเมือง (political will) และสถาบันที่เข้มแข็งมากกว่า ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีความจำเป็น ไม่เพียงแต่เป็นการเร่งกระบวนการฟื้นตัว แต่ยังรักษาผลประโยชน์ภูมิภาค นับเป็นสิ่งคุ้มครองท่ามกลางผลประโยชน์แห่งชาติ

เราจะเลือกผลประโยชน์ภูมิภาคหรือผลประโยชน์แห่งชาติแคบๆ

1Clement Young, “S’pore, 6 other ASEAN Nations to work together” The Strait Times, 17 May 2022, : 1.