วันโลกที่ไร้ลายมือ/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

บทความพิเศษ

จักรกฤษณ์ สิริริน

 

วันโลกที่ไร้ลายมือ

 

ในวันที่โลกของเรากำลังจะก้าวไปสู่ MetaVerse หรือ “โลกคู่ขนาน” ระหว่าง “โลกแห่งความเป็นจริง” และ “โลก Online”

ตามคำประกาศของ Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook

ที่ชี้แจงแถลงไข แนวคิดโยกย้าย “มนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง” ไปมีชีวิตแบบคู่ขนาน ด้วยการสร้างตัวตนใหม่ใน “โลก Online”

แน่นอนว่า Facebook ก็ดี “โลก Online” ก็ดี Social Media ก็ดี ล้วนพึ่งพาอาศัย Digital Technology

ที่เต็มไปด้วยเสียง (Voice) Video ภาพถ่าย และ “ข้อความ” (Text) ที่ผลิตขึ้นผ่านระบบ Computer

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้อความ” ที่ Key ผ่าน “แป้นพิมพ์” ทั้ง Computer Keyboard หรือ “แป้นพิมพ์” ใน Application ต่างๆ

รวมถึงการสั่ง “พิมพ์ข้อความด้วยเสียง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่า “การสื่อสารด้วยตัวอักษร” ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ได้ถูกผลิตขึ้นผ่านตัวอักษร Digital แทบทั้งหมด

และกลืนกลบลบวิธีการ “สื่อสารด้วยตัวอักษร” แบบดั้งเดิม คือ “การเขียนหนังสือด้วยลายมือ”

 

ทําให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่ได้พูดตรงๆ ในประเด็น “วันโลกที่ไร้ลายมือ” เหมือนที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่

ทว่า ลีลาการดำเนินเรื่องได้เป็นไปในทิศทางนั้น

เรากำลังพูดถึง Caf? Society ของ Woody Allen

ที่แม้จะมีเพียงจดหมาย 2 ฉบับ คือของ Rudolph Valentino ที่นางเอกมอบให้เป็นของขวัญชู้รัก เนื่องในวันครบรอบหนึ่งปีที่พบกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จดหมายที่โต้ตอบระหว่างพระเอกกับพี่สาว

แต่ Caf? Society กลับให้บรรยากาศความโรแมนติกของ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” ได้อย่างลึกซึ้ง

ความโรแมนติกที่ภาพยนตร์เรื่อง Caf? Society ได้นำเสนอไว้ เป็นบรรยากาศในทศวรรษ 1930

ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression

เป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารทั่วทั้งโลกที่แม้จะมี “โทรศัพท์บ้าน” หรือ Landline แต่ก็มีใช้กันน้อยมาก

และแม้ “เครื่องพิมพ์ดีด” ได้ปรากฏตัวขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1910 ทว่า ก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะมีโอกาสเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ “เครื่องพิมพ์ดีด” ได้

ทั้งสองปัจจัยดังกล่าว จึงคล้ายกับตัวขับเคลื่อน ที่ทำให้ยุคทองของการเขียนจดหมายยังคงดำรงอยู่ในอีก 20 ปีถัดมา คือทศวรรษที่ 1930 ตามท้องเรื่อง Caf? Society

แม้ฉากการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างพระเอกกับพี่สาวในหนังเรื่อง Caf? Society จะเป็นแค่การส่งจดหมายจาก New York มา Los Angeles

ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคด้านเวลา กว่าที่จดหมายจะถึงมือผู้รับ

และแม้เราจะไม่พูดถึงเนื้อความในจดหมายกันมากนัก ซึ่งแน่นอนว่า “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” นั้น ย่อมต่างจากการเขียนจดหมายด้วยวิธีอื่น

ไม่ว่าจะเป็นการใช้ “เครื่องพิมพ์ดีด” หรือใช้ Computer Program ประเภท Word Processor

เพราะ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” ย่อมคลาสสิก และโรแมนติกกว่าการเขียนจดหมายด้วยวิธีอื่นอย่างแน่นอน

และแม้จะมีภาพยนตร์ ดนตรี วรรณกรรม ทัศนศิลป์ จำนวนนับไม่ถ้วน ที่พูดถึงการเขียนจดหมายด้วยวิธีอื่น

ทว่า ก็มีภาพยนตร์ ดนตรี วรรณกรรม ทัศนศิลป์ อีกนับไม่ถ้วนเช่นกัน ที่พูดถึง “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ”

รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งหมด ในการรับและส่งจดหมาย จากต้นทางถึงปลายทาง

Caf? Society ได้ชี้ให้เราเห็นว่า “โลกที่ไม่มีใครเขียนจดหมาย” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนหน้าเนื้อความในหนังเรื่อง Caf? Society เอง

ที่ Woody Allen ได้ถ่ายทอดบรรยากาศความโรแมนติกของการเขียนจดหมายในยุคทศวรรษที่ 1930 ดังได้กล่าวไป

ที่แม้จะมีเพียงจดหมาย 2 ฉบับ คือของ Rudolph Valentino ที่นางเอกมอบให้เป็นของขวัญชู้รัก เนื่องในวันครบรอบหนึ่งปีที่พบกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จดหมายที่โต้ตอบระหว่างพระเอกกับพี่สาว

แต่ Caf? Society กลับให้บรรยากาศความโรแมนติกของการเขียนจดหมายได้อย่างลึกซึ้ง

 

กระนั้นก็ดี โลกได้ถือว่า “เครื่องพิมพ์ดีด” เคยเป็นอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งได้มาแทนที่ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1910

ที่ในเวลาต่อมา สนนราคาของ “เครื่องพิมพ์ดีด” ได้ถูกลงเรื่อยๆ ตามความนิยมของตลาด

โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ ที่นำ “เครื่องพิมพ์ดีด” มาใช้ในการทำงาน

ผ่านมาอีกเกือบ 70 ปี ที่โลกของเราได้ทำความรู้จักกับ Word Processor

คือในต้นทศวรรษที่ 1980 ที่โลกได้รู้จักกับ WordStar โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Word Processor ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC เป็นครั้งแรก

และหลังจากนั้น “โลกที่ไม่มีใครเขียนจดหมาย” ได้กลายเป็นโลกที่ “ความโรแมนติก” ของ “การเขียนจดหมาย” ค่อยๆ ลดความหมายลงเรื่อยๆ

โดยเฉพาะการต่อยอดระบบการทำงานแบบ Word Processor ไปสู่เครื่องไม้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อาศัย “การเขียน” เป็น “การสื่อสาร”

แต่ไม่ใช่ “การเขียนด้วยลายมือ”

แม้เราจะไม่พูดถึงเนื้อความในจดหมายกันมากนัก ซึ่งแน่นอนว่า “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” นั้น ย่อมต่างจากการเขียนจดหมายด้วยวิธีอื่น

ไม่ว่าจะเป็น การใช้ “เครื่องพิมพ์ดีด” หรือใช้ Computer Program ประเภท Word Processor

เพราะ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” ย่อมคลาสสิก และโรแมนติกกว่าการเขียนจดหมายด้วยวิธีอื่นอย่างแน่นอน

ทว่า ในยุคที่ผู้คนแทบไม่สนใจทั้งความคลาสสิก หรือความโรแมนติก ที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องราวของ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ”

แต่แทบจะไม่สนใจในทุกเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินก็ว่าได้

“วันโลกที่ไร้ลายมือ” จึงเกิดขึ้น และค่อยๆ แพร่กระจายวิถีทางนี้อย่างเต็มรูปแบบไปทั่วทุกมุมโลก

 

“โทรเลข” นั้นตายไปแล้วเมื่อต้นสหัสวรรษใหม่

และ “การเขียนจดหมายด้วยลายมือ” ใส่ซอง ปิดแสตมป์ หยอดตู้ แล้วรอคอยบุรุษไปรษณีย์มาส่งจดหมายที่ตอบกลับมาจากผู้รับนั้น

ได้กลายเป็นสิ่งล้นเกินความจำเป็นในชีวิตผู้คนยุคปัจจุบัน ใน “โลกที่ไม่มีใครเขียนจดหมาย” มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

ในอนาคตอันใกล้ “ธุรกิจรับจ้างเขียนจดหมาย” ที่เคยรุ่งเรืองในยุคหนึ่ง อาจจะหวนกลับมาใน “วันที่โลกไร้ลายมือ”

และ “อาชีพรับจ้างเขียนจดหมาย” อาจจะกลายเป็นศิลปะแขนงใหม่ในยุคที่ “คนเขียนหนังสือด้วยลายมือ” ลดน้อยถอยลงจนแทบไม่เหลือ

และ Plot เรื่อแบบนี้ อาจเป็นหนังเรื่องต่อไปของ Woody Allen ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า ในปัจจุบันนี้ นอกจากการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในระดับปฐมวัยแล้ว

เด็กในชั้นเรียนที่โตขึ้นมา ได้พากันถอยห่างจาก “การเขียนหนังสือด้วยลายมือ” ไปทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว

ในช่วงที่ผ่านมา จึงเห็นความพยายามจากหลายภาคส่วน ในการร่วมกันรื้อฟื้น “การเขียนหนังสือด้วยลายมือ”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการสร้าง Computer Program ในเครื่อง PC และ Application บนโทรศัพท์มือถือ เกี่ยวกับ “การคัดลายมือ”

ภาษาอังกฤษนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ต่างก็เป็นต้นตำรับการสร้าง Computer Program และ Application กันอยู่แล้ว

และทุกวันนี้ Software “ฝึกคัดลายมือ” มีหลายชาติหลายภาษามาก พูดอีกแบบก็คือมีหมดเกือบทุกภาษา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาไทยของเรา มี Software “ฝึกคัดลายมือ” มากมายหลายตัวด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็น “คัดลายมือ อ่าน เขียน ก. ไก่” Thai Handwriting “เก่งไทย” และอื่นๆ อีกมากมาย

แฟน “มติชนสุดสัปดาห์” Search จาก Google เองได้ไม่ยากครับ