เหตุโจมตีมุมไบ 2008 : ความยุติธรรม 13 ปี ยังคงแสวงหาต่อ/บทความพิเศษ

บทความพิเศษ

 

เหตุโจมตีมุมไบ 2008

: ความยุติธรรม 13 ปี ยังคงแสวงหาต่อ

 

13 ปีผ่านไป ครอบครัวจากหลายสิบประเทศทั่วโลกของเหยื่อจากเหตุก่อการร้ายในนครมุมไบของอินเดียปี 2008 ยังคงเฝ้ารอผลการพิจารณาคดีและการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้บริสุทธิ์และไร้อาวุธไปถึง 166 คน

ผู้เสียชีวิตนอกจากชาวอินเดียแล้ว ในจำนวนนี้มีพลเมืองจากประเทศไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา จอร์แดน มาเลเซีย มอริเซียส และอิสราเอล

นอกจากนี้ มียังผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 179 ราย รวมถึงผู้หญิง 46 ราย และเด็ก 13 ราย

แต่ขณะนี้ไม่มีแม้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์มืดมิด ผู้ต้องหาในเหตุการณ์ครั้งนี้ยังคงลอยนวล พวกเขายังคงใช้ชีวิตระหว่างเรือนจำ สลับกับการได้รับอิสรภาพจากการประกันตัว หรือยังคงลอยนวลต่อไป โดยยังคงดำเนินธุรกิจอันตราย ยังไม่มีผู้ใดถูกดำเนินคดีจนถึงที่สุด

และแม้ว่าบางรายถูกตัดสินแล้ว แต่กลับถูกปล่อยตัวเนื่องจากคดีมีช่องโหว่

ไม่น่าแปลกใจที่ปากีสถานปฏิเสธเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลเพียงพอที่จะตั้งข้อสงสัยว่าช่องโหว่ดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการวางแผนเอาไว้ ดังนั้น การที่ศาลกล่าวโทษหน่วยงานสืบสวนสอบสวนและอัยการเรื่องช่องโหว่ดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นสาระสำคัญ

 

การจัดฉากเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่มีพัฒนาการใหม่เกิดขึ้น นั่นคือรายชื่อผู้ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคดีหรือที่ถูกกล่าวหาแล้วถูกลบไป แม้ว่ากระทรวงต่างประเทศของปากีสถานออกมาปฏิเสธเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน โดยชี้แจงว่าการพิจารณาคดียังไม่ได้ข้อสรุป และไม่มีการลบรายชื่อใดออก

หากพิจารณาจากกระบวนการพิจารณาคดีฆาตกรรมนายแดเนียล เพิร์ล ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันที่ถูกฆ่าในปี 2002 ที่ยังคงไม่ถึงที่สุด การกลับคำพิพากษาผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด การอุทธรณ์ของบิดามารดาที่แก่ชราของนายแดเนียล เพิร์ล ที่ยังไม่ได้รับการไต่สวน ท่านคงจะนึกออกว่ามีการดำเนินการอะไรต่อผู้ก่อการร้ายในมุมไบไปแล้วบ้าง

สรุปคือ ปากีสถานไม่ได้ดำเนินการใดๆ ต่อสำนวนความต่างๆ ที่ทางการอินเดียได้ส่งให้ ซึ่งที่ผ่านมามีแต่การตอบกลับมาว่าสำนวนเหล่านี้เป็น “คำบอกเล่า” หรือ “ไม่มีหลักฐาน” และ “ไม่สามารถดำเนินการได้”

ไม่เพียงเท่านี้ ปากีสถานยังได้ขอให้อินเดียส่งมอบตัวนายอัจมาล คาซาบ หนึ่งในผู้ก่อการร้ายทั้ง 10 คนที่ถูกจับเป็น รวมทั้งทางการปากีสถานยังได้ประณามการแขวนคอนายอัจมาล คาซาบ แม้ได้มีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยในชั้นศาลนานกว่า 2 ปี และได้รับสิทธิให้มีทนายต่อสู้คดี

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ปากีสถานใช้เวลากว่า 5 เดือนในการยอมรับว่าผู้ก่อการร้ายทั้ง 10 คนเป็นบุคคลสัญชาติปากีสถานจริง ตามที่สื่อท้องถิ่นได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล

พล.ท.อาซาด ดูร์รานี เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง (ISI) ถูกสั่งปลดทันทีหลังจากที่เขาได้ออกมายอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

สํานักงานสอบสวนแห่งชาติ (NIA) ของอินเดีย ซึ่งได้ทำการสืบสวนการสมคบคิดเบื้องหลังการโจมตี ได้ยื่นคำฟ้องบุคคล 9 คน รวมถึงนายเดวิด เฮดลีย์ ชาวอเมริกันที่มีบิดาเป็นคนปากีสถาน

ฮาฟิซ ซาอีด ผู้ก่อตั้งกองกำลัง Lashkar-e-Taiba (LeT) ที่มีผู้ก่อเหตุทั้งสิบเป็นสมาชิกตาฮาววูร์ รานา นักธุรกิจปากีสถาน-แคนาดา พ.ต.อิกบาล และ พ.ต.ซามีร์ อาลี เจ้าหน้าที่กองทัพปากีสถาน อิลยาส แคชเมียร์ ซายิด มาลิค และอับดุล เรห์มาน ฮัชมี ล้วนเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อเหตุ

ในจำนวนนี้ ฮาฟิซ ซาอีด อยู่ในเรือนจำหลังถูกตำรวจปากีสถานจับในปี 2018 โดยได้รับโทษจากข้อหาฟอกเงินเป็นเวลา 9 ปี การถูกตัดสินโทษดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความพอใจให้กับหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจด้านการเงิน (FATF) ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมดูแลที่จัดตั้งขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้จัดให้ปากีสถานอยู่ใน “บัญชีเทา” (Grey List) เฮดลีย์ได้ให้ความร่วมมือกับทางการสหรัฐ และได้ให้การเป็นพยานในศาลอินเดีย ได้รับตัดสินโทษจำคุกเป็นเวลา 35 ปี

รานาถูกจับและได้รับการปล่อยตัว และถูกจับอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2019 ที่ลอสแองเจลิส โดยทางการสหรัฐกำลังต่อสู้เพื่อคัดค้านการดำเนินการของสหรัฐในการส่งตัวเขาไปรับการพิจารณาคดีที่อินเดีย

สำนวนคดีที่มีร่วมกันกับทางการปากีสถานประกอบด้วยหลักฐานสำคัญต่างๆ รวมถึงคำให้การจากพยานสำคัญ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ของสหรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับซิมการ์ด และพิกัดจีพีเอสที่ผู้โจมตีที่ผู้โจมตีใช้เพื่อก่อการร้าย

นอกจากนี้ สำนวนคดียังมีรายงานเกี่ยวกับดีเอ็นเอของผู้ก่อการร้ายปากีสถานทั้ง 10 คนที่เกี่ยวข้องในเหตุโจมตี รวมถึงคำให้การในศาลเขตนครมุมไบ ซึ่งคาซาบ มือปืนปากีสถานที่ถูกจับกุมเพียงคนเดียวได้ให้การรับสารภาพต่อศาลด้วยความสมัครใจว่า ตนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุโจมตี

ในคำให้การต่อศาลเขต คาซาบรับสารภาพว่าการสมคบเพื่อก่อเหตุโจมตีเริ่มต้นที่ปากีสถานโดยหน่วยปฏิบัติการของกองกำลัง LeT รวมถึงซาคี อูร์ เรห์มาน ลัคห์วี ซึ่งเป็นแกนนำผู้ดำเนินการ

 

ยังมีหลักฐานสำคัญที่เป็นผลการสืบสวนของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ ซึ่งได้ให้การต่อศาลพิจารณาคดีที่มุมไบว่าโทรศัพท์มือถือที่พบในที่เกิดเหตุ เป็นโทรศัพท์ที่ผู้ก่อการร้ายใช้ติดต่อกับผู้ดำเนินการในปากีสถานในระหว่างเหตุโจมตี พิจารณาจากคำให้การเหล่านี้ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ จึงได้ทำการจับกุมเดวิด เฮดลีย์ และรานา

นอกจากนี้ มีกรณีตัวอย่างในคดีของซายิด มีร์ หนึ่งในผู้บงการ ซึ่ง 5 ประเทศต้องการตัว ได้แก่ อินเดีย สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม เขายังคงลอยนวลอยู่ในปากีสถาน รายงานข้อมูลก่อการร้ายของประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2562 ก็ได้บันทึกประเด็นนี้ไว้

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นฟ้องซายิด มีร์ และอับดุล เรห์มาน ปาชา แต่ปากีสถานไม่ดำเนินการเพื่อจับกุมหรือดำเนินคดีกับปาชา ทั้งๆ ที่อยู่ในปากีสถาน แต่ไม่มีผู้ใดทราบที่อยู่ของเขา และซายิดยังคงปรากฏอยู่ในใบประกาศจับของเอฟบีไอมานับตั้งแต่ปี 2020 พร้อมรางวัลจากการแจ้งเบาะแสมูลค่า 5 ล้านเหรียญ

ความล้มเหลวของปากีสถานในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดในประเทศของตนเอง หรือการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าปากีสถานไม่ปฏิบัติตามพันธสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการก่อร้าย