ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ หนุ่มเมืองจันท์ : การเคลื่อนที่ ‘หนุ่มเมืองจันท์’

หนุ่มเมืองจันท์facebook.com/boycitychanFC

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ

หนุ่มเมืองจันท์

www.facebook.com/boycitychanFC

 

การเคลื่อนที่ ‘หนุ่มเมืองจันท์’

 

ช่วงโควิด 2 ปีนี้ทำให้ผมได้บทเรียนบทหนึ่ง

เรื่อง “คุณค่าการเคลื่อนที่”

อะไรที่อยู่นิ่ง รอคนเดินมาหา

เจอโควิดรอบนี้เข้า เรียบร้อยเลยครับ

เพราะโควิดทำให้คนอยู่ที่บ้านเยอะขึ้น ไม่กล้าไปไหน กลัวจะติดเชื้อ

ทำงานยังทำที่บ้านเลย

พอคนหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนที่ ธุรกิจอะไรที่รอคนเดินมาหาก็จะเสียหายหนักกว่าธุรกิจอื่น

เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว

ทะเล ภูเขา ต้องให้คนไปหา

จะเคลื่อนมาหาคนไม่ได้

ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงสาหัสที่สุดเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น

ไม่เหมือนกับสินค้า หรืออาหาร

จากเดิมที่รอคนมาช้อปปิ้งหรือมากินที่ร้าน

พอเจอสถานการณ์โควิดเข้า รูปแบบการค้าขายก็เปลี่ยนไป

จากที่รอ “คน” มาหา “ของ”

กลายเป็น “ของ” ไปหา “คน” แทน

ช้อปปิ้งออนไลน์ จึงเติบโตมโหฬารในช่วง 2 ปีนี้

เพราะคนเดินทางไปห้างไม่ได้

แต่ยังอยากซื้อสินค้า

เขาก็ช้อปปิ้งหน้าจอ สั่งซื้อ และรอสินค้ามาส่ง

บางบ้านมีไรเดอร์มาส่งของวันละ 2-3 ราย

รปภ.หมู่บ้านบางแห่งบ่นเลยว่าเปิดไม้กั้นจนเมื่อยมือ

คนไทยช้อปเก่งจริงๆ ครับ

เช่นเดียวกับธุรกิจร้านอาหาร ที่ปรับระบบการเคลื่อนที่ใหม่

จาก “คน” ไป “ร้านอาหาร”

เปลี่ยนเป็น “อาหาร” ไปหา “คน”

การสั่งอาหารเดลิเวอรี่เติบโตมาก

ตอนนี้โครงสร้างรายได้ของร้านอาหารเปลี่ยนไปแล้ว

จากเดิมที่พึ่งพาหน้าร้านเกือบ 100%

ตอนนี้รายได้ของเดลิเวอรี่ของทุกร้านขยับสูงขึ้น

บางร้านเกือบ 50%

วิธีคิดของเจ้าของร้านอาหารจึงเปลี่ยนไป แต่ก่อนเคยพึ่งพาศูนย์การค้า พยายามเปิดร้านในห้าง

ตอนนี้ปรับใหม่แล้วครับ

เขาชอบคอมมูนิตี้มอลล์มากขึ้น

เพราะนอกจากขายหน้าร้านแล้ว การขายแบบเดลิเวอรี่ก็สะดวกกว่า

ไรเดอร์หาที่จอดรถ รับอาหารได้ง่าย

หลังโควิดจบ ผมเชื่อว่าเราคงเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงเยอะทีเดียวครับ

 

ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เป็นประจำ

บางวันสั่ง 3 มื้อเลย

ระบบเดลิเวอรี่ทำให้ชีวิตผมสะดวกสบายขึ้นเยอะมาก

เมื่อก่อนถ้าสั่งอาหารมากินบ้าน ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกฟาสต์ฟู้ดหรือร้านอาหารดังๆ

แต่วันนี้ผมเลือกร้านอาหารใกล้บ้าน

ตามปกติร้านอาหารที่รู้จักจะเป็นร้านริมถนนใหญ่ แต่เดลิเวอรี่ทำให้ร้านในซอยได้แจ้งเกิด

มีร้านอร่อยในซอยเต็มไปหมด

หลังจากลองผิดลองถูกได้พักใหญ่

ตอนนี้ผมมีลิสต์ร้านอาหารอร่อยแถวบ้านในรัศมีไม่เกิน 5-6 ก.ม.หลายร้าน

มีทั้งราดหน้า ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู อาหารอีสาน ร้านข้าวแกง ฯลฯ

การสั่งอาหารจากร้านใกล้บ้านนอกจากค่าส่งจะถูกมาก

แค่ 10-20 บาท

ระยะทางที่ใกล้ทำให้อาหารยังร้อนเหมือนกินที่ร้าน

ยิ่งช่วงหลังผมเจอร้านโจ๊กสามย่านและร้านน้ำเต้าหู้อร่อยแถวบ้าน

ตื่นเช้ามานึกอะไรไม่ออก

“โจ๊กสามย่าน” เลย

มาถึงบ้าน ควันยังฉุยอยู่เลย

เย็นๆ ไม่อยากกินอะไรหนักๆ

น้ำเต้าหู้

อุ่นสบายท้อง

ชีวิตสบายขึ้นมาก

แต่ดูเหมือนว่ากล้ามเนื้อขาจะเริ่มลีบลง

 

วันก่อน ตอนไปเซ็นหนังสือเล่มใหม่

“จะข้ามมหาสมุทร อย่าหันกลับไปมองชายฝั่ง”

ผมนั่งคุยกับ “สิน” น้องที่ “งานดี” ที่ช่วยจัดส่งหนังสือครั้งนี้

“สิน” มีงานเสริมคือเป็น “ไรเดอร์” ส่งอาหาร

นั่งคุยแล้วได้รู้เรื่องลึกๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน

รายได้การวิ่งส่งอาหารช่วงวันหยุดของเขาดีทีเดียวครับ

วันละ 1,000 บาทขึ้นไป

เขาเล่าว่า การแข่งขันของกลุ่มไรเดอร์ด้วยกันค่อนข้างรุนแรง

ผมเพิ่งรู้ว่า “โทรศัพท์” มีผลอย่างมาก

ถ้าเครื่องดีๆ แรงๆ สัญญาณจะขึ้นเร็ว

ลูกค้าสั่งปั๊บ เห็นปุ๊บ

“สิน” เคยเอาเครื่องโทรศัพท์ 2 เครื่องที่ความแรงแตกต่างกันมาเทียบกัน

ชัดเลยว่าเครื่องที่แรงกว่า คำสั่งซื้อจะขึ้นเร็วกว่าประมาณ 3-4 วินาที

แค่นั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการกดรับออเดอร์ก่อนเพื่อน

การแย่งชิงออเดอร์ถึงขั้นที่มีบางคนให้ร้านมือถือลงแอพพ์แบบตอบรับอัตโนมัติ

พอคำสั่งซื้อมาปั๊บ รับทันทีเลย

แต่ตอนนี้แทบไม่มีแล้ว เพราะบริษัทแม่ไล่ตรวจสอบ และถ้าเจอก็แบน “ไรเดอร์” คนนั้นถาวร

ถามว่าร้านอาหารแบบไหนที่ “ไรเดอร์” ชอบ

“สิน” บอกว่าร้านเครื่องดื่ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว เพราะทำอาหารเร็ว ไม่ต้องรอนาน

ทำเวลาได้

แล้วร้านไหนที่รอนาน

“สิน” บอกว่าร้านอาหารอีสาน

เพราะคนสั่งจะไม่ได้สั่งส้มตำอย่างเดียว แต่จะสั่งอาหารอื่นๆ ด้วย

คนขายก็จะทำทีละอย่าง

กว่าจะได้ครบ ก็ต้องรอนานพอสมควร

เช่นเดียวกับร้านดังๆ ที่คิวยาว

นอกจากร้านอาหารทั่วไปแล้ว ตอนนี้มีร้านใหม่ๆ ที่ไม่สนใจ “ทำเล”

มีทั้งร้านในทาวน์เฮาส์ ร้านในคอนโดมิเนียมที่ไม่ขายหน้าร้าน

ขายเดลิเวอรี่อย่างเดียว

แค่ผลไม้หั่นชิ้นแช่เย็นก็ขายได้

ตอนไปรับของ แม่ค้าจะลงมาส่งให้ป้อม รปภ.

“เดลิเวอรี่” จึงเหมือนกับการตัดถนนใหม่ทางธุรกิจ

ทำให้ห้องพักในคอนโดฯ หรือบ้านในหมู่บ้าน ที่เหมือนกับ “ที่ตาบอด” ของธุรกิจร้านอาหารในยุคก่อน

กลายเป็น “ตึกแถว” ริมถนน

เพราะรูปแบบเดลิเวอรี่ได้เปลี่ยนระบบการเคลื่อนที่ทางธุรกิจใหม่

“สินค้า” ไปหา “คน