From Harvard to Brexit : เสียงร่ำไห้ของนักฝัน : *John Harvard : ชายบริทแมนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยยุคอาณานิคม

Flashback : 1636 British America

ย้อนกลับไปในวันที่อเมริกา ยังถูกเรียกขานว่า British America จากเมืองขึ้นอังกฤษ อเมริกาประกาศอิสรภาพ วันนี้เจ้าแห่ง Western Imperialism แหวกวงล้อมออกมาจากอียู ทำไปเพื่ออะไร

ท่ามกลางการเกิดขึ้นของแนวรบใหม่ที่คอนโทรลไม่ได้ วันชาติที่ 4 กรกฎาคม ถูกท้าทายอีกครั้ง อังกฤษเองก็แตกเป็นเสี่ยง กว่าจะมาเละเทะกันได้ขนาดนี้ ไปดูสิว่าย้อนหลังไปในปี 1636 นั้นเกิดอะไรขึ้น

ต้องขอบคุณหนังสือเล่าเรื่องจากฮาร์วาร์ด ของคุณพ่อคมกริช วัฒนเสถียร ที่เขียนเล่าไว้หมดเปลือกว่า ทำไมต้องไปเรียนอเมริกา อีกทั้งไปโดยภาษาอังกฤษไม่กระดิกหู

ตอนแรกไปถึงไม่ได้เรียนที่ฮาร์วาร์ด แต่เพราะความยิ่งใหญ่ทำให้ต้องส่งใบสมัครไปเพราะเป็นที่สุดแล้วในด้านกฎหมาย ทำไมต้องไป ทำไมต้องฮาร์วาร์ด

แบรนด์ที่ถูกสร้างมาจนแข็งแกร่งอายุเกือบสี่ร้อยปี จะต้องเสียแบรนด์เพราะคนไทยหนีทุนหรือไม่ (หัวเราะทั้งน้ำตา)

Harvard-gazette-cover-final-web

John Harvard Brit man ผู้ก่อตั้ง Harvard Brands

เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยที่ดีทัดเทียมกับอังกฤษ หนุ่มน้อยหนึ่งในคณะเผยแผ่ศาสนา จอห์น ฮาร์วาร์ด เขาจบทั้งตรีและโทจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เขาเป็นหนึ่งกลุ่มพิวริแตนส์ที่เคร่งศาสนา ที่จะอพยพเข้ามา หลังจากชาวอังกฤษอพยพเข้าไปตั้งรกรากบนแผ่นดินโลกใหม่ตั้งแต่ปี 1607

ฮาร์วาร์ดถูกตั้งขึ้นในย่านที่เรียกว่า นิว อิงแลนด์ หรือ อังกฤษใหม่ ท่ามกลางความไม่พอใจของผู้อพยพจากยุโรปที่พากันเรียกหาเสรีภาพ ที่ไม่เหยียบบีบคอเขามาอีกที การดิ้นรนหาอิสรภาพกินเวลายาวนาน จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1776 ก็กลายเป็นวันชาติอเมริกาไป

จากจุดเริ่มเล็กๆ สถานภาพมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัย Research เพื่อคนหัวกะทิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

ศิษย์เก่าหลายคนกลายเป็นประธานาธิบดี รวมถึงโอบามาด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

“ทำไมต้องฮาร์วาร์ด”

ในหนังสือ “นักกฎหมายฮาร์วาร์ดสู่บัลลังก์ตุลาการ” มีบทหนึ่งชื่อว่า “ทำไมต้องฮาร์วาร์ด” เล่าถึงประสบการณ์ที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่ง และส่งจดหมายตั้งแต่ยังเรียนอยู่ที่วิสคอนซิน มาตรฐานของฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของเอกชนที่มีคุณภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตามที่พ่อคมกริช จารึกเน้นๆ เข้มๆ ไว้ในบทนี้ว่า

“เรื่องเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษานี้ตามความเห็นของผู้เขียนที่มีประสบการณ์การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศอย่างมากมายหลายสถาบัน ผู้เขียนเห็นว่าคุณภาพการศึกษาและศิษย์เก่าของสถานศึกษามีบทบาทสำคัญ”

เมื่อไม่กี่วันก่อนได้อ่านบทความ Why Brexit is a Big Deal จากวารสาร ฮาร์วาร์ด บิซสิเนส สคูล HBS จึงได้เห็นมุมมองที่เสียดสีประชดประชัน จากอาจารย์ประจำ HBS ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการ Leave ครั้งนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการซ้ำเติมโลกที่บาดเจ็บอยู่แล้วให้ตายลงอย่างช้าๆ

อาจารย์ท่านนี้จบบทความว่า เดวิด คาเมรอน ที่ก่อเรื่องนี้ขึ้นมาเอง และไม่ควรจะต้องอยู่ในตำแหน่งถึงตุลาคมด้วยซ้ำ

ความแตกแยกทางความคิดรอบนี้ หนักหนายิ่งกว่าสงครามครั้งใด เพราะอดีตที่ยิ่งใหญ่ของประเทศที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดิน กลายเป็นแก้วใบที่ตกแตก และมีการจะเอามันกลับมาต่อไป แต่ชิ้นส่วนมันไม่ครบซะแล้ว

AFP PHOTO / ANP / Koen van Weel / Netherlands OUT
AFP PHOTO / ANP / Koen van Weel / Netherlands OUT

บทลา Breaking News นักฝันตายหมดแล้ว! (ฮา)

Anarchy in U.K. วิดีโอผสมบทความชิ้นหนึ่งในบลูมเบิร์ก นำเพลงของ เซ็กซ์ พิสทอลส์ มาประกอบ เพลงนี้บอกอะไร บอกถึงความอหังการ หรืออย่างใด

เพราะตอนแรกไม่คิดว่า คนที่อยากแยกตัวจะมีมากกว่า (เพราะมันหมายถึงการไปหาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ) แต่ปรากฏว่าวันที่ผลฝ่าย Leave มากกว่า Remain ทำให้ต้องตกใจกันไปทั้งโลก ยิ่งมีเสียงเรียกร้องอยากจะโหวตใหม่ ยิ่งทำให้โลกเราดูมันเป็นเรื่องเล่นๆ กันไปหมดแล้วหรือนี่

ยิ่งเห็นกราฟจะยิ่งงง คนอายุเกิน 55 ปี อินดี้มาก พากัน Leave สูงลิ่ว ผู้สูงอายุอาจจะเป็นห่วงหลายๆ สิ่งมากเกินไป แต่ลืมคิดถึงคนรุ่นหลังที่เพิ่งเกิดมา ยังไม่พร้อมจะ Leave

วันชาติอเมริกา 2016 นี้ คงต้องชำระประวัติศาสตร์กันอีกครา และอาจจะไม่ต้องมีการเฉลิมฉลองกันอีกต่อไป แต่เปลี่ยนไปไว้อาลัย (กระแสตอนนี้เป็นอย่างนั้นจริงๆ)

สองเหตูการณ์สำคัญที่เหมือนไม่เกี่ยวแต่เกี่ยวกัน และวันนี้ ไม่มีแล้ว ความฝันของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะฝันบริต ฝันอเมริกัน เพราะเราอยู่ในโลกของการก่อการร้ายใบเดียวกัน

เศร้าจัง โลกมีแค่ใบเดียว!