E-DUANG : ก้าวที่รุก ของราษฎร ทางการเมือง หยิบมาตรา 112 สู่ พรรคการเมือง

หากมองในด้านของ “ปริมาณ” การเคลื่อนไหว ณ แยกราชประสงค์ในเดือนตุลาคม 2564 ไม่อาจเปรียบเทียบกับความคึกคักซึ่งเคยปรากฎเมื่อเดือนตุลาคม 2564

กระนั้น ก็ต้องยอมรับว่าหากเปรียบเทียบกับการชุมนุมอื่นๆก่อนหน้านี้ของปี 2564 อาการ”คัมแบ็ค”เริ่มแสดงออก

เห็นได้จากความสามารถในการค่อยๆทยอยอย่างซึมลึกเข้าไปแย่งยึดพื้นที่และแปรบรรยากาศการเคลื่อนไหวให้เป็นในแบบเทศ กาลทางการเมืองได้อย่างเด่นชัด

เป็นความเด่นชัดที่ “หน่วยควบคุมฝูงชน” หรือ “คฝ.” ได้แต่ซุ่มอยู่ห่างๆไกลออกไป เป็นความเด่นชัดที่ระดมดาวปราศรัยดวงใหม่ให้ขึ้นสู่เวที คนแล้วคนเล่า

ทดแทนดาวดวงเด่นอย่าง นายอานนท์ นำภา อย่าง นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ อย่าง นายภาณุพงศ์ จาดนอก และอย่าง ไผ่ ดาวดิน

ยิ่งกว่านั้น หากหยั่งลึกลงไปภายใน”องค์ประกอบ”และความต่อเนื่อง จะสัมผัสได้ในความเด็ดเดี่ยว มั่นคงต่อประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112 และมาตรา 116 อย่างเด่นชัด

 

ต้องยอมรับว่าตลอดการเคลื่อนไหวจากเดือนกรกฎาคมของ”เยาวชนปลดแอก”จนสามารถยกระดับขึ้นเป็น”คณะราษฎร”ในเดือนตุลาคม 2563

เนื้อหาใจกลางสำคัญ 2 ประการอยู่ที่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ประสานเข้ากับคำขวัญที่ว่า”ปฏิรูปสถาบัน”

กล่าวสำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งเป็นประชาธิปไตยเพื่อลิดรอนและทอนการสืบทอดอำนาจของระบอบอันมี พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา อาจมีความแจ่มชัด

แต่ภายในคำขวัญที่ว่า”ปฏิรูปสถาบัน”ยังไม่สามารถแปรนามธรรมในทางความคิดให้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้

แต่เมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคม 2564 ก็แจ่มชัดที่”มาตรา 112”

 

หากประเมินผ่านแถลงการณ์ราษฎรที่ น.ส.ปภัสรา สิทธิวัฒนจิรกุล ยืนอ่านก่อนยุติการชุมนุม ประสานเข้ากับรายละเอียดอย่างเป็นรูป ธรรมจากข้อเสนอของพรรคก้าวล่วง

ก็จะสัมผัสได้ใน”เค้าโครง”การเคลื่อนไหวในขั้นตอนต่อไป

ทางหนึ่ง จะมีการรณรงค์เพื่อล่ารายชื่อผู้สนับสนุนให้ได้ 1 ล้าน คน ทางหนึ่ง จะกดดันโดยตรงไปยังแต่ละพรรคการเมือง

โดยพื้นฐานจักต้องแสดง”ท่าที”ออกมาให้มีความเด่นชัด