บทบาทอาเซียนอยู่ตรงไหนในเอเชีย-แปซิฟิก/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

บทบาทอาเซียนอยู่ตรงไหนในเอเชีย-แปซิฟิก

 

ตอนนี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกร้อนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ด้วยจีนเพิ่มกิจกรรมทางการเมืองและการทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้ผลักดันสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรของตน ตกอยู่ในสภาพโกลาหลเพื่อผลักดันกลไกการเมืองและการทหารของตน เพื่อฉายภาพสถานะของพวกเขาขึ้นมาบ้าง

ประเด็นคือ ประเทศอาเซียนต้องจัดรูปแบบยุทธศาสตร์ของตนให้สอดคล้องและนำไปสู่การนำไปใช้ที่สะท้อนความเป็นจริง

ก่อนถึงตรงนี้ ควรถามว่า บทบาทอาเซียนอยู่ตรงในในเอเชีย-แปซิฟิก เสียก่อน

การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

 

สหรัฐอเมริกา

ปลายเดือนพฤษภาคม 2564 การเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศสหรัฐ Wendy Sherman ที่จาการ์ตา กรุงเทพฯ และพนมเปญ และการเยือนของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ Lloyd Austin ที่สิงคโปร์ มะนิลา และฮานอย ต้นสิงหาคม 2564

อันตามติดด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย Retno Marsudi เยือนวอชิงตันเพื่อเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ Antony Blinken และบุคคลสำคัญอื่นๆ การประชุมพบปะเน้นความสำคัญของพันธมิตรยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกา-อินโดนีเซีย เพื่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของอินโด-แปซิฟิก

ยังมีการดำเนินการทางการเมืองในภูมิภาคจากมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก นั่นคือการเดินทางมาเยือนของกองเรือหลวง HMS Queen Elizabeth สหราชอาณาจักรต้นปีนี้

เยอรมนีเพิ่งส่งเรือรบของตนแล่นสู่ทะเลจีนใต้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ

การเพิ่มมากขึ้นของการปรากฏตัวทางทหารในบริเวณพื้นที่ความขัดแย้งในภูมิภาค เพื่อส่งสัญญาณให้จีนเห็นว่า ไม่ควรกระตุ้นความตึงเครียดให้เกิดขึ้น

 

อาเซียนทำอะไรอยู่

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้แนะให้เห็นว่า การแข่งขันระหว่างสหรัฐ-จีนในภูมิภาคนี้จะยังไม่ยุติในเวลาอันใกล้นี้ ที่แน่ๆ มันอาจกำลังมีความตึงเครียดมากขึ้น อันสำคัญมากขึ้นต่ออาเซียน ที่เน้น การอยู่ตรงกลาง (centrality) ความเป็นกลาง (neutrality) ความเป็นผู้นำ (Leadership) ในอินโด-แปซิฟิกอีกครั้ง

เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่ ASEAN Outlook on the Indo-Pacific-AOIP ในคราวประชุม ASEAN Summit มิถุนายน 2019 ที่ริเริ่มและผลักดันโดยอินโดนีเซีย เป้าหมายหลักของ AOIP ก็เพื่อทำให้การอยู่ตรงกลางของอาเซียนแน่นอน

ตอนนี้อาเซียนต้องการประเมินว่า อะไรที่ AOIP ได้นำไปใช้บ้างแล้ว และ AOIP ทำอย่างไร จะได้มีหน้าที่มากกว่าเดิม เพื่อเผชิญหน้าต่อสิ่งท้าทายต่างๆ ในอนาคต

แม้ว่า AIOP จะไม่ได้ตั้งใจสถาปนาชุมชน หรือกลไกสำหรับอาเซียน ที่สำคัญ AIOP อนุญาตอาเซียนจัดวางประเด็นวาระ (อเจนด้า) สำหรับความร่วมมืออินโด-แปซิฟิก มี 2 ประเด็นสำคัญได้แก่ ความร่วมมือดำเนินการทางเศรษฐกิจและความสำคัญของเขตมหาสมุทร

ตอนนี้ อาเซียนต้องถามว่า เราสามารถดำเนินการได้จริงๆ อย่างไร และสามารถเพิ่มเติมประเด็นที่ต้องการนำเสนอสิ่งที่ต้องการของตนได้อย่างไร

หากปราศจากการก้าวเดินที่เป็นรูปธรรมแล้ว AOIP จะไม่สามารถรักษาสิ่งที่คาดหวังได้

แต่นี่เป็นบทบาทที่ไม่ง่ายนักสำหรับอาเซียน ที่แต่ละประเทศมีผลประโยชน์ภายในของตัวเอง

ดังนั้น การตกลงกันในแผนปฏิบัติการร่วมกันจึงท้าทาย

อินโดนีเซีย เสนอสถาปนาฟอรั่มโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยงอินโด-แปซิฟิก เพื่อนำมาใช้ต่อ เป้าหมายความร่วมมือทางเศรษฐกิจฟอรั่มนี้ ตั้งใจเพื่อทำให้ข้อริเริ่มความเชื่อมโยงในอินโด-แปซิฟิกมั่นคง อันนำไปประกอบและช่วยให้ แผนแม่บทความเชื่อมโยงอาเซียน (ASEAN Master plan on Connectivity 2025) ที่มีอยู่แล้ว การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อเป้าหมายเหล่านี้ จะผลักดัน AOIP ให้ร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมกว่าการจัดเตรียมมาตรฐานอันคลุมเครือ

นี่เป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับอาเซียน เพื่อสร้างเศรษฐกิจขึ้นใหม่อีกครั้งหลังโควิด-19 และบรรลุความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการโดยอาเซียน มากกว่าทำตามวาระอื่นๆ ของแต่ละประเทศเพียงอย่างเดียว เช่น ข้อริเริ่มแถบและถนน ( Belt and Road Initiative-BRI) ของจีน

ช่างอับโชคยิ่ง ฟอรั่มนี้ถูกเลื่อนจากปี 2020 เพราะโควิด-19

 

เขตมหาสมุทร

AOIP ยังเน้นความสำคัญของ เขตมหาสมุทร อีกด้วย อินโด-แปซิฟิกคือ แนวคิดมุ่งมหาสมุทร การปฏิบัติรูปธรรมเกี่ยวกับประเด็นมหาสมุทรมีความสำคัญ มีหลายประเด็นต้องนำเสนอคือ มลพิษและสิ่งแวดล้อมมหาสมุทร การขูดรีดทรัพยากรทางทะเล อาชญากรรมข้ามชาติทางทะเล ความเชื่อมโยงทางทะเล ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ที่ต้องเน้นมากที่สุดคือ ความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change)

มหาสมุทรคือส่วนประกอบสำคัญของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวคิดอินโด-แปซิฟิกนั้นเน้นแนวคิด 2 โลกที่สำคัญมหาสมุทรสำคัญที่สุดของโลกซึ่งมีบทบาทนำ

นี่หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีความสำคัญในหนทางผลักดันโดยอาเซียน ให้ใช้การดำเนินการของ AOIP การรวมกลุ่มกันอาจสามารถทำงานผ่านกรอบที่มีอยู่แล้ว เช่น ASEAN Cooperation on Coastal and Marine Environment ที่เกี่ยวโยงอย่างกว้างขวางกับรัฐต่างๆ ในอินโด-แปซิฟิก

 

ปัจจุบัน

AOIP เน้นมาก ประเด็น แนวทางการพัฒนาและให้ความสนใจประเด็นความมั่นคงน้อยลง เช่น ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ของเขตทางทะเล เสรีภาพในการเดินเรือและบิน แต่ความจริงคือ มีฐานที่ตั้งกองทัพและการดำเนินการทางทหารเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นในภูมิภาค หมายความว่า สำคัญมากที่อาเซียนจัดรูปแบบ AOIP เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น

อาเซียนควรพัฒนาแผนงานความร่วมมือด้านความมั่นคงที่จับต้องได้ในอินโด-แปซิฟิก เพื่อประเทศสมาชิกได้ประโยชน์จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

ความท้าทายทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่เพิ่มมากขึ้นในอินโด-แปซิฟิก มีความจำเป็นต่ออาเซียน เพื่อทำ AOIP ให้เหมาะสม ขยายกำหนดการ และทำก้าวเดินที่เป็นรูปธรรม

เวลามาถึงแล้วที่อาเซียนต้องก้าวเหนือการวางมาตรฐานอย่างแท้จริง

 

ข้อสังเกต

ก่อนจะถึง AOIP การจัดรูปแบบใหม่ กรอบคิด อาเซียนของชนชั้นนำทางนโยบายของอาเซียนเองต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจเป็นรูปธรรมของ กรอบคิดใหม่ ต่อภูมิภาคอาเซียนที่ทันยุค ทันการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม รูปแบบการปกครองอันครอบงำด้วย ระบอบอำนาจนิยม เข้มข้นในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนได้บดบัง อะไรที่เป็น กบฏ ต่อกรอบคิดดั้งเดิมของอาเซียนเสมอมา

ไยไม่ต้องพูดถึง การนิยาม ผลประโยชน์ภายใน ของแต่ละประเทศซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรอบ รัฐ-ชาติ เช่น เขตแดน อธิปไตย แม้ว่าเราได้ ข้ามพรมแดน (transboundary) ในทุกๆ ภาคส่วนแล้ว สงครามเย็น เช่น ความมั่นคงของชาติ อันคือความมั่นคงของระบอบอำนาจนิยมและเผด็จการ การผูกขาดทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยพลังของคนจำนวนน้อย แนว คณาธิปไตย (Oligarchy) ที่น่าสนใจ อภิมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ยังคงครอบงำและต้องการการครอบงำอินโด-แปซิฟิกต่อไป

ยังไม่ได้ยินอาเซียนอยู่ตรงไหนของอินโด-แปซิฟิกเลยจากปากของชนชั้นนำอาเซียน