E-DUANG : เป้าหมาย รัฐประหาร 15 ปีก่อน สถานะ 2 พี่น้องตระกูล ชินวัตร

การเวียนมาของวันที่ 19 กันยายน ก่อผลสะเทือนไม่เพียงแต่นำไปสู่การทบทวนมูลเชื้อและรากที่มาแห่ง”รัฐประหาร”อันเกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อนเท่านั้น

หากยังก่อให้เกิดการทบทวน”บทเรียน”ว่ารัฐประหารครั้งนี้มีผล กระทบอย่างไรในทางการเมือง

“บทเรียน”นี้แหละที่เรียกขานผ่านวลีที่ว่า”ตาสว่าง”

บทเรียนแรกที่เห็นร่วมกันอย่างอัตโนมัติก็คือ ไม่ว่ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 254* กับ รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มีความสัมพันธ์และต่อเนื่องกัน

บทสรุปเช่นนี้ได้ทำให้กลุ่มที่”ยึดอำนาจ”มิได้ดำรงอยู่อย่างแตก กระจายแบบ”เอกระ” ตรงกันข้าม สามารถมองเห็นอย่างเป็นระบบดังที่ โทนี่ วู้ดซั่ม เรียกตามนักวิชาการว่าเป็นเงาสะท้อน”รัฐพันลึก”

ไม่ว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ไม่ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์  ล้วนเป็น “ตัวแทน”

เหมือนกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นตัวแทนในวันนี้

 

การมองรัฐประหารจึงมิใช่มองที่”ตัวบุคคล” ตรงกันข้าม จำเป็นต้องมองทะลุจากตัวบุคคลไปยัง”กลุ่มบุคคล”อันมีส่วนอย่างสำคัญในการกำหนดและชี้ทิศทาง

ตรงนี้แหละที่มีการสรุปว่าต้องมองให้เห็นองค์ประกอบของป่า จากการดำรงอยู่ของต้นไม้แต่ละต้น

นั่นก็คือ อย่ามองอย่างตัดตอน อย่ามองอย่างแยกส่วน

อย่างที่ครั้งหนึ่ง นายทักษิณ ชินวัตร เรียกคนที่คอยกำกับและบงการการไหวเคลื่อนทางการเมืองว่า เป็น”ผู้มีบารมี”นอกรัฐธรรม นูญที่แสดงตัวในเดือนสิงหาคม 2549

เป็นสัญญาณไปยังบรรดานักเรียนนายทหารใน 3 เหล่าทัพ

เป็นสัญญาณก่อนสถานการณ์ในเดือนกันยายน 2549

 

คำถามก็คือ เป้าหมายของรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 คือ นายทักษิณ ชินวัตร เป้าหมายของรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ถามว่า 2 พี่น้องตระกูล”ชินวัตร”หมดบทบาทตามเป้าหรือไม่

คำตอบจากบทบาทของพรรคเพื่อไทย จากบทบาทของกลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย เด่นชัดยิ่ง

เด่นชัดว่า 2 พี่น้องตระกูล”ชินวัตร”ยังมี”ความหมาย”อยู่