E-DUANG : เหตุปัจจัย อันต่อต้าน นายกฯ”คนนอก” เหตุปัจจัย เนื่องแต่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กระแสต้านทางการเมืองอันสำแดงออกผ่าน #ไม่เอานายกฯพระ ราชทาน ดำเนินไปอย่างมีลักษณะวิพากษ์และปัดปฏิเสธการผลัก ดันเข้ามาอย่างรุนแรง

เป็นการวิพากษ์ไปยังสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนตุลาคม 2516 ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535

แม้ว่าปฏิมาอันสูงเด่นจะเคยปรากฏเมื่อมีการเอ่ยนามของ นาย สัญญา ธรรมศักดิ์ ขึ้น และเสียงไชโยขานรับต่อการย้อนกลับมาอีกหนของ นายอานันท์ ปันยารชุน

แต่แล้วในเดือนกรกฎาคม 2564 ก็เริ่มมีเสียงอันบ่งบอกถึงความไม่มั่นใจต่อการอุบัติอีกคำรบหนึ่งของ”นายกฯพระราชทาน”ว่าอาจไม่สอดคล้องกับจิตวิญญาณแห่งระบอบประชาธิปไตย

และมิได้สร้างความมั่นใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่าจะสามารถนำพาประเทศชาติและสังคมไทยให้รอดพ้นไปจาก”วิกฤต”ไปได้

ทั้งหมดนี้มิได้เป็นการวิพากษ์ต่อสถานการณ์เดือนตุลาคม 2516 หรือสถานการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 เท่านั้น หากมองจากที่เผชิญอยู่หลังรัฐประหาร 2 ครั้งในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา

 

ไม่ว่าจะเป็นมวลชนในยุคของพรรคไทยรักไทยที่ต้องเผชิญกับรัฐประ หารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าจะเป็นมวลชนในยุคพรรคอนาคต ใหม่ที่เติบโตมากับรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

มองการเคลื่อนไหวก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ก่อนการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 ไม่สู้จะดีนัก

เพราะมีความเด่นชัดว่าเป็นรัฐประหารที่มีการสมคบคิดเพื่อทำ ลายปรปักษ์ทางการเมือง ไม่เพียงแต่โดยการโค่นล้มหากแต่ยังมีการกล่าวหาในทางการเมืองอย่างผิดปกติ

ไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อ นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

และต่อเนื่องมายัง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งอนาคตใหม่

 

ไม่ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ล้วน เป็นผลผลิตของรัฐประหาร และก้าวเดินไปในร่องรอยที่ใกล้เคียงยิ่ง กับสถานะแห่ง”นายกฯพระราชทาน”

นี่คือห้วงยามสำคัญที่สังคมประเทศไทยตกอยู่ในความมืดมิด

ความเลวร้ายที่ประชาชนได้รับใน 1 ปีแห่งการเผชิญกับโควิดร้ายเป็นความเลวร้ายจากยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันทะยานมากับ”อำนาจพิเศษ”