E-DUANG : การแยกแตกตัว ในทาง “ความคิด” การแยกแตกตัว ในทาง “การเมือง”

การแยกและแตกตัวจาก “ภายใน” สรรพสิ่งมิได้เป็นปฏิกิริยาหรือเงา สะท้อนในทาง “ธรรมชาติ” เท่านั้น หากแต่ยังเป็นปฏิกิริยาหรือเงาสะท้อนอันแหลมคมยิ่งในทาง “สังคม”

ถามว่าเหตุใดอารมณ์และความรู้สึกที่ขาดความไว้วางใจต่อวัคซีนบางยี่ห้อเกิดขึ้นและมีลักษณะกัมมันตะได้อย่างไร

ลำพังปฏิกิริยาและความรู้สึกของประชาชนอาจเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากตัววัคซีนนั้นๆโดยตรง แต่ที่ทรงความหมายยิ่งกลับมาจากบุคลากรด้านการแพทย์

บรรดานายแพทย์ บรรดานางพยาบาล บรรดาอาสาสมัครมวล ชนสาธารณสุข ที่ประสบปัญหาจากตัววัคซีนนั้นต่างหากได้ก่อรูปขึ้นมาเป็น”หมอไม่ทน”ดังกึกก้องไปทั่วประเทศ

พลันที่เกิดเสียงร้องขึ้นมาจาก”หมอไม่ทน”ความเชื่อมั่นในหมู่ “ชาวบ้าน” ยิ่งเท่ากับได้รับการตอกย้ำ

จึงเริ่มทอดตามองไปยัง”วัคซีน”ยี่ห้อนั้นๆอย่างคลางแคลง

คลางแคลงไม่เพียงแต่คุณภาพอันดำรงอยู่ หากแต่ยังคลาง แคลงไปยังรากฐานการนำเข้ามาอย่างผิดปกติ

 

มีความผิดปกติเกิดขึ้นมากมายนับแต่สังคมประเทศไทยได้เข้าสู่สัง คมแห่งการแพร่ระบาดของโควิดเมื่อเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะในเรื่องของวิธีวิทยา ไม่ว่าจะในเรื่องของการบริหารจัดการ

ความไม่มั่นใจต่อรัฐบาลซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งได้รับการตอก ย้ำให้เห็นตลอด 1 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร

การแสดงความรู้สึกจาก”ภายใน”พรรคภูมิใจไทยต่อบทบาทและความหมายของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง

ในเมื่อปัญหาการไม่เพียงพอของ”วัคซีน”มิได้มาจากการตัดสิน ใจของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ความรับผิดชอบย่อมเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

อาการของพรรคภูมิใจไทย คืออาการแห่งการแยกและแตกตัวในทางความคิดอย่างมีนัยสำคัญและจะส่งผลสะเทือนก่อให้เกิดภาวะสั่นไหวในทางการเมืองอย่างแน่นอน

นี่คือความต่อเนื่องของปัญหาหนึ่งไปยังอีกปัญหาหนึ่ง

นี่คือความต่อเนื่องจาก”ความคิด”ไปสู่ปมทาง”การเมือง”