Start-up ‘ฟักไข่’ สไตล์ญี่ปุ่น /บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

บทความพิเศษ 

จักรกฤษณ์ สิริริน 

  

Start-up ‘ฟักไข่’ สไตล์ญี่ปุ่น 

  

คําว่า “ฟักไข่” นั้น ในความหมายทั่วไปของศัพท์ หากแปลตรงตัวก็คือ Incubation ที่สะท้อนผ่านภาพ “แม่ไก่” 

แต่สำหรับวงการ Start-up แล้ว Incubation หมายถึง “การบ่มเพาะธุรกิจ” หรือในความหมายแบบไทยก็คือ “ตั้งไข่” 

อุปมาอุปไมยธุรกิจ Start-up ช่วงแรกคล้ายเด็กหัดยืน ที่ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแล พูดอีกแบบก็คือ เป็นระยะเวลาของการ “ตั้งไข่” ธุรกิจนั่นเอง 

ช่วงเวลาของการประคบประหงมนี้เอง ที่ Start-up เกิดใหม่ล้วนต้องผ่านขั้นตอนของการ Incubation หรือ “ฟักไข่” แทบทั้งสิ้น 

สำหรับ Start-up ในโลกตะวันตก คงต้องเอ่ยถึงสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Silicon Valley ที่เปรียบเสมือน “เมกะของ Start-up” 

ธรรมชาติดั้งเดิมของอเมริกา เอื้ออำนวยต่อการเป็น “เมกะของ Start-up” จาก “ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรม” ที่มีมากกว่าใครๆ ในโลก 

ต่างจากยุโรป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชีย ที่เต็มไปด้วยปัญหา “ความหลากหลายด้านสังคม” และ “วัฒนธรรม” ที่สูงมาก 

ทำให้ Start-up อเมริกัน สามารถมองเป้าหมายระยะยาวใน Growth Stage และมุ่งขยาย Scale ได้รวดเร็วกว่า เหตุผลหลักก็คือ การแทบไม่ต้องปรับตัวเมื่อเข้าสู่ตลาดในประเทศใหม่ 

ทั้งๆ ที่ Start-up อเมริกันจำนวนมาก ที่แม้จะทำรายได้สูง แต่ก็มี “อัตราล้างผลาญเงิน” หรือ Cash Burning สูงลิบจนแทบจะไม่เห็นกำไรเช่นกัน 

ส่วน Start-up ในโลกตะวันออก ก็มี “จีน” และ “อินเดีย” เป็นพี่ใหญ่ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อินโดนีเซีย” 

  

 มเคยเขียนถึงเรื่องราว Start-up ของ “อินโดนีเซีย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อินโดนีเซีย” มี Unicorn มากถึง 6 ตัวด้วยกัน 

ในบทความ “อินโด” โชว์ Unicorn “ไทย” มีแต่ “ม้าป่วย” 

เรียงไล่ไปตั้งแต่ Gojek Traveloka Tokopedia Bukalapak OVO และ JD.id 

อย่างไรก็ดี สภาพการณ์ Start-up ของเอเชีย มีปัญหาคล้ายคลึงกับยุโรป เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ Start-up ในโลกตะวันออกเติบโตช้าเมื่อเทียบกับอเมริกา 

นั่นก็คือ ปัญหา “ความหลากหลายด้านสังคม” และ “วัฒนธรรม” ที่สูงมาก ดังที่กล่าวไป 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดอ่อนในแง่ของความขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแบบจริงๆ จังๆ 

ยังไม่ต้องพูดถึงความเปราะบางทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “จีน” ในกรณี Ant Group ของ “แจ๊ก หม่า” ซึ่งกำลังถูกจัดหนักจากรัฐบาล 

ส่งผลให้หลายประเทศต้องหันกลับมาสร้าง Incubation Center หรือ “ห้องฟักไข่” ซึ่งหมายถึง “โรงบ่มเพาะธุรกิจ Start-up” เพื่อระดมผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ 

เพื่อรองรับกับกระแสการลงทุน ที่เริ่มจะหันเหทิศทางมายังเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังวิกฤต COVID-19 ในอนาคตข้างหน้า 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นชาติที่คนทั่วไปมองว่า น่าจะเป็นประเทศที่มี Start-up มาก หากพิจารณาจากศักยภาพของ “คนญี่ปุ่น” 

กระทั่ง “ญี่ปุ่น” คงจะมี Unicorn มากมายไม่แพ้ชาติใดในโลก 

 

ต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว “ญี่ปุ่น” กลับมี Unicorn ไม่มากนัก 

ที่มาที่ไปก็คือ ไม่เฉพาะ “ญี่ปุ่น” แต่อุปสรรคเฉพาะตัวของ Start-up ฝั่งเอเชีย ก็คือประเด็นข้อกฎหมาย ที่ไม่ค่อยเอื้อให้ผู้ประการรุ่นใหม่ ที่เติบโตมาพร้อมกับแนวคิดใหม่ๆ ได้ลงหลักปักฐาน-สร้างเนื้อสร้างตัว 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนรุ่นใหม่ต้องใช้เวลาที่ยาวนานมากในการ “สร้างเครดิต” ให้ผู้ใหญ่ยอมรับ 

“ญี่ปุ่น” จึงเป็นชาติแรกที่พยายามแหวกวงล้อมข้อจำกัดเก่าๆ ด้วยการปูพรมนโยบาย Japan 5.0 

ทลายกับดัก กำแพง กฎเกณฑ์เก่าๆ ที่ขัดขวางการหยั่งรากเติบโตของนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Start-up ที่ต้องใช้เวลาอย่างเนิ่นนานในการสร้างความยอมรับจากภาครัฐ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการเงินสมัยใหม่ที่ดูเหมือนว่า โลกการเงินทุกวันนี้ก้าวไกลไปมากแล้ว 

ตัวอย่างสำคัญก็คือ การเกิดขึ้นของ UTokyo IPC 

  

U Tokyo IPC ย่อมาจาก UTokyo Innovation Platform Center หรือ “ศูนย์บ่มเพาะและกิจการร่วมทุนของมหาวิทยาลัยโตเกียว” แน่นอนว่า UTokyo ย่อมาจาก University of Tokyo 

UTokyo IPC เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุง Tokyo ประเทศญี่ปุ่น 

โดย “ศูนย์บ่มเพาะและกิจการร่วมทุนของมหาวิทยาลัยโตเกียว” หรือ Start-up “ฟักไข่” สไตล์ญี่ปุ่นแห่งนี้ มิได้จำกัดการให้บริการเฉพาะนักศึกษา ศิษย์เก่า และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย Tokyo เท่านั้น 

หากแต่ยังเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย และน่าจะเป็นเป้าหมายหลักของ UTokyo IPC ด้วยซ้ำ 

โดย UTokyo IPC จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนในฐานะบริษัทเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจการนำผลการวิจัยและผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัย Tokyo กลับคืนสู่สังคม 

โดยทางมหาวิทยาลัย Tokyo มีเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมาย ESG (Environmental, Social and Corporate Governance) หรือการคำนึงถึง “สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง SDGs (Sustainable Development Goals) หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” 

ดังปณิธาน การเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมวิชาการที่มีคุณธรรมนำหน้า! 

ดังจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัย Tokyo คือการสร้างฐานที่มั่นระดับโลกสำหรับการสร้างความรู้ร่วมกันที่เอื้อต่อสังคมในอนาคตของมวลมนุษยชาติ 

ตลอดจนการมีบทบาทอย่างแข็งขันในการเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เน้นความรู้อย่างเข้มข้น 

ด้วยการจัดตั้งบริษัท UTokyo Innovation Platform Co., Ltd. ขึ้น ซึ่งเป็นธุรกิจของมหาวิทยาลัยโตเกียว หรือ UTokyo IPC ดังกล่าวนั่นเอง 

  

ซึ่ งที่ผ่านมา UTokyo IPC ได้จัดทำแนวคิดการลงทุนเพื่อพัฒนากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ นำไปสู่การเป็นองค์กรที่ชุมชนสามารถไว้วางใจได้ดังต่อไปนี้ 

  1. ระดมทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการบ่มเพาะและให้ความรู้แก่บริษัทร่วมทุน ระดมทุนร่วมทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุน หรือการระดมทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างธุรกิจใหม่โดยร่วมมือกับบริษัท สถาบันวิจัย และองค์กรอื่นๆ โดย UTokyo IPC วางแผนที่จะตอบแทนสังคมด้วยการจัดหาเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นโดย UTokyo IPC ผลการวิจัย และผลประโยชน์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
  2. มีส่วนร่วมเพื่อความยั่งยืนทางสังคมผ่านการส่งเสริมธุรกิจการลงทุนที่คำนึงถึง “สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” (ESG) สำหรับบริการสาธารณะทั่วโลกที่ UTokyo IPC จัดหาให้หรือในฐานะที่มีความรับผิดชอบในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีส่วนร่วมในการบรรลุ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ที่รับรองโดย “สหประชาชาติ”
  3. ดำเนินการลงทุน และรับประกันผลกำไรโดยรวมที่เหมาะสมผ่านธุรกิจการลงทุน การมีส่วนร่วมกับนักลงทุน และความต่อเนื่องของธุรกิจการจัดหาเงินทุน

ภารกิจ “ฟักไข่” ของ UTokyo IPC ก็คือการจัดตั้งหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Tokyo กับบริษัทห้างร้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Start-up ของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาร่วมในฐานะผู้ร่วมทุน 

โดยทาง UTokyo IPC จะเน้นไปที่การให้ทุนแก่บริษัทในอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง 

ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ สนับสนุนนวัตกรรมองค์กร และการลงทุนสำหรับการเริ่มต้นเพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมผ่านระบบนิเวศทั้งหมดของมหาวิทยาลัย Tokyo และภาคีความร่วมมือทั่วโลก 

ภายใต้ปรัชญาการลงทุนในฐานะมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ในประเทศแห่งแรกของญี่ปุ่น ที่เพิ่งฉลองครบรอบ 140 ปี 

และภายใต้กฎบัตรของ UTokyo IPC ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการให้บริการสาธารณะทั่วโลก ด้วยจุดมุ่งหมายก้าวเดินต่อไปข้างหน้าในอีก 70 ปีที่กำลังจะมาถึงนั่นเอง