22 มิ.ย.’64 วันครบรอบ 80 ปี ของมหาสงครามเพื่อปิตุภูมิของประชาชนชาวโซเวียต

รายงานพิเศษ 

 

วันครบรอบ 80 ปี ของมหาสงคราม

เพื่อปิตุภูมิของประชาชนชาวโซเวียต

 

วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นวันครบรอบ 80 ปีของการเกิดขึ้นของมหาสงครามเพื่อปิตุภูมิของประชาชนชาวโซเวียตที่ต่อสู้กับลัทธินาซีเยอรมัน ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวรัสเซีย นับเป็นการเผชิญหน้ากันครั้งสำคัญที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นายเยฟกินี โทมิคิน (Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย เล่าถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แห่งความทรงจำและความโศกเศร้า

นายเยฟกินี โทมิคิน (Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย

รุ่งเช้าของวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 กองทัพนาซีเยอรมันได้บุกเข้าสหภาพโซเวียตโดยไม่มีการแจ้งถึงการประกาศสงครามใดๆ เครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันได้ทำลายสนามบิน สถานีรถไฟ ที่ทำการของกองทัพเรือ ฐานทัพทางทหาร และอีกหลายเมืองได้ถูกทำลายไปกว่า 250 – 300 กิโลเมตรในดินแดนของสหภาพโซเวียต

ในขณะเดียวกันกองทัพนาซีเยอรมันได้เข้ายึดครองหลายประเทศในยุโรป เช่น โปแลนด์, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, ฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศ โดยสหภาพโซเวียตได้โต้กลับอย่างรุนแรง

ส่วนประเทศอิตาลี, สโลวาเกีย, ฟินแลนด์, ฮังการี และประเทศสุดท้าย นอร์เวย์ ได้เข้าร่วมการต่อต้านสหภาพโซเวียตกลางเดือนสิงหาคม ชาวโซเวียตได้ต่อต้านศัตรูด้วยความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยืนหยัดต่อความตาย เพื่อปกป้องปิตุภูมิ

Soldier of the Soviet Army, save us!

การรุกรานของกองทัพนาซี ในขณะที่สหภาพโซเวียตยังไม่ทันได้ระวัง เราจึงไม่พร้อมที่จะต่อสู้กับศัตรูผู้ยิ่งใหญ่ อีกทั้งรถถังและเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ประเทศต้องยอมแลกเพื่อชัยชนะ

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียตตลอดระยะเวลาสี่ปีนั้น เป็นการทดสอบความกล้าหาญอย่างมากในการฟื้นฟูสันติภาพ ซึ่งได้กลายเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมและน่าสะพรึงกลัวในเวลาเดียวกัน

motherland calls!

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่สหภาพโซเวียตเพียงประเทศเดียว คือ 40% ของการบาดเจ็บล้มตายทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารโซเวียตประมาณหนึ่งล้านนายได้สละชีวิตในระหว่างการปลดปล่อยประชาชนยุโรป การสูญเสียผู้คนรวมกันของสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเท่ากับ 27 ล้านคน

โดยมากกว่า 8.7 ล้านคนได้เสียชีวิตลงในสนามรบ

อีก 7.42 ล้านคนถูกฆ่าโดยพวกนาซีในพื้นที่ที่ถูกกองทัพนาซียึดครอง

มากกว่า 4.1 ล้านคนเสียชีวิตจากสภาพที่โหดร้ายของพื้นที่ที่ถูกยึดครอง

และอีก 5.27 ล้านคน ถูกนำตัวไปใช้แรงงานอย่างหนักในเยอรมนีและประเทศข้างเคียงซึ่งอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนีเช่นกัน

มีประมาณ 2.65 ล้านคน ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งได้กลับบ้าน และมีผู้อพยพมากกว่า 450,000 คน และ 2.16 ล้านคนได้เสียชีวิตลงหรือไม่ก็เสียชีวิตในกรงขัง

отстоим москву (we will defend Moscow)

ความสูญเสียชีวิตของผู้คนและสิ่งปลูกสร้าง ที่สหภาพโซเวียตได้รับจากการรุกรานของกองทัพนาซีนั้นหาที่เปรียบมิได้ ประวัติศาสตร์ไม่เคยได้รู้จักกับการทำลายล้าง ความป่าเถื่อน และความไร้มนุษยธรรมเช่นนี้มาก่อน ดังที่เห็นได้จากการกระทำอันโหดร้ายของพวกนาซีในดินแดนโซเวียต

ทุกวันนี้เราได้แต่เห็นถึงความพยายามต่อการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่มขึ้นจากการดูถูก หรือนิ่งเฉยกับบทบาทของสหภาพโซเวียตในการเอาชนะลัทธินาซี การจับคนร้าย ทำให้ผู้ที่ถูกสังหารชีวิตและเหยื่อของพวกเขาอยู่ในระดับเดียวกัน และการตั้งคำถามถึงผลลัพธ์ของสงครามและคำตัดสินของศาลนูเรมเบิร์ก

เป้าหมายของการกระทำดังกล่าวมีความชัดเจน เป็นการดูหมิ่นประเทศรัสเซียยุคใหม่ในฐานะผู้สืบทอดของอดีตสหภาพโซเวียต และยังเป็นการปกปิดบทบาทที่ไม่เหมาะสมของการกระทำโดยสมรู้ร่วมคิดของรัฐตนกับระบอบฮิตเลอร์เพื่อพิสูจน์ความน่ารังเกียจของลัทธินีโอนาซีและสงครามที่ไร้ความอายต่ออนุสาวรีย์ของทหารผู้ปลดปล่อยครั้งนั้น

เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การย้ำเตือนทุกคนว่าประเทศของเรานั้นได้มีส่วนสำคัญในการเอาชนะเครื่องจักรสงครามของฮิตเลอร์ ได้ปลดปล่อยยุโรปและโลกจากลัทธินาซี

วันที่ 22 มิถุนายน ของทุกปี จึงเป็นที่รู้จักกันในประเทศรัสเซียว่า เป็นวันแห่งความทรงจำและความโศกเศร้า โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา วันนี้ได้กลายเป็นวันที่รำลึกถึงอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ได้ลงนามแก้ไขกฎหมาย “ในวันแห่งความรุ่งโรจน์ทางทหารและวันครบรอบของประเทศรัสเซีย” ซึ่งได้เพิ่มวันครบรอบเข้าไปทำให้วันที่ 22 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันแห่งความทรงจำและความโศกเศร้า

ท่านทูตเปิดนิทรรศการโปสเตอร์“ความรุ่งโรจน์สู่ชัยชนะของทหารโซเวียต

ในวันนี้ของทุกปี ธงชาติของประเทศรัสเซียจะถูกลดระดับลง กิจกรรมบันเทิงและรายการต่างๆ จะถูกระงับหรือทำให้สั้นลง ผู้นำประเทศรัสเซียจะวางพวงมาลาไว้ทุกข์ที่สุสานทหารนิรนามในกรุงมอสโก ชาวรัสเซียจะคร่ำครวญถึงเพื่อนร่วมชาติทุกคนที่ได้ปกป้องบ้านเกิดด้วยชีวิต หรือตกเป็นเหยื่อของสงครามโดยเฉพาะมหาสงครามแห่งเพื่อปิตุภูมิในปี พ.ศ. 2484-2488

ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อให้เราได้รู้บทเรียนจากมัน หนึ่งในนั้นคือ ความปรารถนาที่จะครองโลกย่อมจบลงด้วยความล้มเหลวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับประกันความปลอดภัยของตนย่อมแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายของอีกฝ่าย มันเป็นความไว้วางใจ ที่มาพร้อมกับความเป็นจริงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะรับประกันสันติภาพอันยั่งยืนในโลก

ในโอกาสนี้ สถานเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย จึงขอเชิญชมนิทรรศการโปสเตอร์สงครามของสหภาพโซเวียตในนิทรรศการ “ความรุ่งโรจน์สู่ชัยชนะของทหารโซเวียต” ระหว่างนี้ จนวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ณ ห้องจัดแสดง RCB ชั้น 1 ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้กรุงเทพฯ