กลยุทธ์ของ โจ ไบเดน/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

กลยุทธ์ของ โจ ไบเดน

 

“…การฟิ้นตัวของสหรัฐพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แสนสาหัส เป็นจังหวะเวลาสำหรับสหรัฐที่จะให้พิสูจน์ได้ว่า ประชาธิปไตยยังคงขับเคลื่อนและรักษาความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในโลกได้…”

อ้างจากสำนักข่าวเอพี 29 เมษายน 2021

มีโอกาสดูงานฉลองครบ 100 วันการบริหารประเทศของโจ ไบเดน ที่แถลงต่อสภาคองเกรส ดีใจกับคนอเมริกัน แล้วสำรวจคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เลยอยากนำมาเสนอให้ช่วยกันพิจารณาต่อ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในวันนั้น แถลงว่า รัฐบาลภายใต้การนำของเขา กระจายฉีดวัคซินไปแล้ว 200 ล้านโดส ออกกฎหมายงบประมาณเยียวยาผลกระทบโควิด-19 มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรีญญสหรัฐ ถ้าเงินที่อัดฉีดมากพอ เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 9% สูงกว่าก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ปี 1984 จะดึงคนกลับเข้ามาทำงานที่หายไปได้ 8.4 ล้านตำแหน่งในปีหน้า1

นอกจากนี้ เขายังเสนอแผนงานทางเศรษฐกิจด้วยการลงทุนด้านเด็ก ครอบครัว และการศึกษา มูลค่า 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 55 ล้านล้านบาท เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐให้แข่งขันในโลกได้2

100 วันของโจ ไบเดน

 

ท่ามกลางความยินดี มีข้อสังเกตว่า ด้วยความรีบเร่งกระมัง ดูเหมือนโจ ไบเดน บ่น แล้วก็ บ่น พร้อมทั้งสหรัฐกำลังเร่งมือแข็งขันหลายเรื่อง สิ่งที่ปรากฏออกมาตอนกล่าวแถลงของโจ ไบเดน ในวันนั้น ได้เผยสิ่งที่เรียกว่า ไม่แน่นอนและไม่คงเส้นคงวา ของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ การบริหารประเทศของเขา ชัดและทำให้สดใสในประเด็น กิจการภายใน แต่มีเหตุให้น่ารำคราญและคลุมเครือในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ

เนื่องจากสหรัฐตอนนี้ขาดการท้าทายทางยุทธศาตร์ใหญ่เร่งด่วน ขนาดประมาณ เหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม หรือสงครามอ่าว แล้วผลกระทบของโควิด-19 ได้ลดระดับให้กิจการต่างประเทศอยู่ระดับต่ำสุดของวาระการทำงานของรัฐบาลด้วย

โจ ไบเดน พูดเหมือนแนวนานาชาติเสรีนิยม (Liberal Internationalist) แต่กระทำการเหมือนสัจนิยมปฏิบัติ (pragmatic realist) เขาเข้าร่วมอีกครั้งในความตกลงพหุนิยมต่างๆ และร่วมงานกับสถาบันนานาชาติหลายแห่ง ที่ผู้นำคนก่อนหน้าเขาเลิกล้มไป และสุดท้ายเขาประกาศถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน

แต่การยึดมั่นในประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ไหนๆ ก็ตาม ยังคงเป็น วาทศิลป์

ทีมงานด้านนโยบายต่างประเทศของเขาได้รับมอบหมายให้ดำเนินการนโยบายที่ปฏิบัติได้ คิดถึงต้นทุน-กำไร เพื่อเหล่าคนชั้นกลาง (middle class) อีกทั้งกำลังเร่งความเป็นผู้นำโลกของสหรัฐในทุกวิถีทาง คำแถลงของโจ ไบเดน ได้เน้นความอ่อนน้อม แต่อ้างอิงกับศีลธรรม ตามติดผู้นำโลกคนอื่นๆ ด้วยคำมั่นเรื่องความเหนือกว่าของสหรัฐต้านจีนและมหาอำนาจโลกรายอื่นๆ

ไม่ประหลาดใจที่บางความเชื่อและการบริหารของเขา ไม่ได้คาดหวังว่าต้องมีท่าทีก้าวร้าว ในขณะที่ได้คำนวณความอ่อนแอของตนด้วย

โจ ไบเดน อาจมีสายตาที่ยาวไกลและมีประสบการณ์ แต่เขาไม่ชัดเจน คลุมเครือ หรือบางทีมีแต่ กลอุบายมากกว่ายุทธศาตร์ใหญ่ ซึ่งมันอนุญาตให้เจ้าหน้าที่บริหารพูดได้ทั้ง 2 ด้านคือ พูดอย่างหนึ่ง ทำอีกอย่างหนึ่ง สิ่งนี้เป็นแนวทางไม่ยุติธรรมและสร้างความขัดแย้งต่อพันธมิตรของสหรัฐ

เห็นได้จาก เขาเรียกวลาดิมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ผู้นำรัสเซียว่า โจรร้าย แต่กลับรักษาสถานะเดิม (status quo) กับรัสเซีย แล้วเตือนเสมอไม่ให้ทำอะไรก้าวร้าวกับปูติน ด้วยการเชิญปูตินเข้าร่วมประชุมสุดยอด (Summit) ทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อเจรจาเรื่องสันติภาพและความมั่นคงของโลก

แม้โจ ไบเดน ประกาศว่า ทั้งหมดนี้มาจากพิษจากทรัมป์ แต่เขายังใช้การแซงก์ชั่นแบบที่ทรัมป์ทำอย่างหลักแหลมเพื่อแสวงหาสัมปทานต่างๆ ด้านอาวุธนิวเคลียร์จากอิหร่าน สาธารณรัฐประชาชนจีนและรัสเซีย

การต่างประเทศสำคัญ

 

นโยบายต่างประเทศสำคัญที่สุดของโจ ไบเดน คือ นโยบายต่อจีน นโยบายจีนกลับคลุมเครือ แต่จีนเองไม่ได้บ้าง่ายๆ หรืองงๆ กับสิ่งที่เรียกว่า ทำสมดุล (Balance Act) ต่อจีน ซึ่งไม่เป็นจริงและไม่สมดุล

โดยสรุปคือ ความคลุมเครือช่วงนี้อาจช่วยให้ฝ่ายบริหารการต่างประเทศสหรัฐ มีเวลาและมีพื้นที่ดำเนินการกับความวุ่นวายต่างๆ และความไม่มีเสถียรภาพอันสืบทอดมาจากอัจฉริยะแน่นิ่งของทรัมป์ อันเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ

อาจจำเป็นที่สหรัฐต้องประนีประนอมต่อข้อจำกัดการเพิ่มเป้าหมายอันสูงส่งต่างๆ แต่มันไม่มีทางเลือกสำหรับยุทธศาสตร์ระยะยาว นั่นคือขาดเสียไม่ได้ของการเป็น มหาอำนาจโลก

โจ ไบเดน อ้างอีกครั้ง อเมริกันกลับมา (America is Back) สหรัฐกำลังเคลื่อนไหว นี่เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้า คือเกลี้ยกล่อม รวมทั้งแข่งขันอย่างสุดขั้วกับจีน แต่เขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่า เขาวางแผนอย่างไรเพื่อให้อเมริกันกลับมาอีก

ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แสดงให้เห็นว่า ทำไมอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐจึงไม่สามารถสับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหญ่เป็นเล่ห์เหลี่ยมและเล่นเกมได้นานๆ ได้ ไม่เหมือนกับประธานาธิบดีทรัมป์ โจ ไบเดน ชำนาญและหลักแหลม มีจุดยืนด้านคุณค่าเสรีนิยมอเมริกัน

น่าสนใจ โจ ไบเดน หลังจากดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประธานาธิบดีบารัก โอบามา นาน 8 ปี ไบเดนดูไม่ได้โน้มน้าวประธานาธิบดีโอบามาด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการเผชิญหน้า ยุทธศาสตร์นำจากภายในต่อการทะยานขึ้นของจีน และกล้าให้กำลังใจต่อรัสเซีย สงสัยว่า ช่วงนั้นไบเดนได้นำจากข้างหน้า หรือไบเดนไม่ได้นำอะไรเลย

ต้องเน้นอีกครั้งว่า ความจำเป็นของยุทธศาสตร์ใหญ่ สิ่งหนึ่งต้องแสดงความมั่นใจท่ามกลางความสงสัยของคนยุโรปและคนเอเชียที่แปลกแยกกับนโยบายนี้ ไม่ต้องพูดถึงว่า สหรัฐควรวางยุทธศาสตร์ต่อสงครามเย็นอีก หรือตรงข้าม ที่โต้แย้งกันมานานคือ ต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าต่างๆ และเร่งเจรจาอย่างเร่งด่วน

การประชุมสุดยอดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดโลก (Climate Change) เมื่ออาทิตย์ก่อน สหรัฐได้แสดงบทบาทของสหรัฐแล้วว่า อย่างไรก็ตาม สหรัฐหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเป็นผู้นำ ในความพยายามของโลกต่อประเด็นที่สืบเนื่องนี้ ในขณะที่ประธานาธิบดีคนก่อนได้พิสูจน์ว่า สหรัฐควรถ่วงความก้าวหน้าและฉันทานุมัติในประเด็นที่สำคัญของโลกนี้

หลายปีมาแล้ว สหรัฐได้พิสูจน์ สหรัฐเป็นประเทศแห่งคุณค่าของโลกที่อิงอยู่กับคุณค่าและผลประโยชน์ของตนที่จัดวางเอาไว้แล้ว

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องแสดงให้เห็นว่า สหรัฐจะทำอย่างนี้ ทำไมและอย่างไร เพื่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของสหรัฐเอง ยุทธศาสตร์ของสหรัฐต้องไม่ขาดความคงเส้นคงวา ด้วยเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องแสดงให้เห็นว่า ทำไมและอย่างไร การเมืองของมหาอำนาจโลกต้องไม่ได้เป็นแบบได้หมดหรือเสียหมดทุกอย่าง (Zero-sum game)

หรืออย่างย่อที่สุด ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องมียุทธศาสตร์ใหญ่ที่ชัดเจน คงเส้นคงวา ไม่ใช่เป็นได้เพียงแค่ กลยุทธ์ แล้วก็พร่ำบ่น บ่น แน่ละ นี่เพียงแค่เวลา 100 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โจ ไบเดน มีทั้งประสบการณ์ มีทรัพยากร มีเครื่องมือ ไม่ว่ายุทธศาสตร์ใหญ่นั้นจะเรียกว่าอะไร เราก็ควรเห็น เข้าใจและเตรียมตัวต่อสิ่งนี้ เพื่อประโยชน์ของไทยเอง

ควรเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ได้แล้ว

1สำนักข่าวเอพี วันที่ 29 เมษายน 2021

2เพิ่งอ้าง