E-DUANG : จังหวะก้าว ของ #ม็อบ9กุมภา มายัง จังหวะ #ม็อบ10กุมภา

มาตรการ”เข้ม”ผ่านการฝากขัง 4 แกนนำ”ราษฎร”ที่นำโดย นายอา นนท์ นำภา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กำลังกลายเป็น”หินลองทอง”อันคมแหลมในการพิสูจน์ทราบทางการเมือง

ที่สำคัญก็คือ ความเชื่อมั่นที่ว่านับแต่เดือนกันยายน 2563 เป็น ต้นมา การเคลื่อนไหวของ”ราษฎร”ฝ่อลง แผ่วลงเป็นลำดับ

ยิ่งความตั้งใจเดิมของ”ราษฎร” คือคำประกาศรวมพลคนไม่มีจะกิน เปิดปฏิบัติการ”ตีหม้อไล่เผด็จการ” ณ สถานีรถไฟฟ้า MBK คือ #ม็อบ10กุมภา

เมื่อมาเกิดขึ้นเป็น #ม็อบ9กุมภา จึงกะทันหันผ่านคำประกาศ รวมพลล่วงหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง จึงคาดหมายได้ว่าการชุมนุมในตอนค่ำของวันที่ 9 กุมภาพันธ์เป็นการชุมนุมอย่างเร่งด่วน

แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีความเชื่ออยู่แล้วว่าม็อบฝ่อและแผ่วลงเป็นลำดับนับแต่เดือนกันยายน 2563 เป็นต้นจึงจัดกำลังรับมือไม่มากนัก

เพียงปะทะเข้ากับขบวนของมวลชนที่ดาหน้ามาพร้อมเสียงตะโกน”ออกไป ออกไป”ก็ต้องถอยร่นจากพื้นที่อย่างทุลักทุเล

 

ทำไมรัฐบาลจึงมีความมั่นใจว่าการเคลื่อนไหวไม่ว่าเรียกตัวเองว่า”เยาวชนปลดแอก” ไม่ว่าเรียกตัวเองว่า”คณะราษฎร 2563”จะต้องฝ่อลง แผ่วลง

เป็นความมั่นใจจาก 1 ปรากฏการณ์ ณ ศิริราชพยาบาล เมื่อเดือนกันยายน 2563

เป็นความมั่นใจว่าปรากฏการณ์นั้นจะส่งผลสะเทือนเข้าไปยังการหนุนเสริมจากพรรคเพื่อไทย การหนุนเสริมจากบรรดานปช.ซึ่งมากด้วยความจัดเจนในการเคลื่อนไหว

ขณะเดียวกัน ยังเป็นความมั่นใจจาก 1  เมื่อการเคลื่อนไหวมีรูปการขยายตัวรวดเร็วมากเกินไป จึงนำไปสู่ความขัดแย้ง แตกแยก อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

โดยเฉพาะรูปธรรมจากความขัดแย้งภายใน”กลุ่มการ์ด”

เมื่อมีความมั่นใจเป็นอย่างสูงเช่นนี้จึงไม่แปลกที่จะต้องเพิ่ม มาตรการ”เข้ม”ในการจัดการสยบ”ม็อบ”

 

ปรากฏการณ์ #ม็อบ9กุมภา อาจยังไม่อาจตอบคำถามต่อความเชื่อ มั่นที่ว่าการเคลื่อนไหวของ”ราษฎร”ฝ่อลงแผ่วลง จากการที่”แกนนำ”ต้องคดีกันเป็นจำนวนมากหรือไม่

มีความจำเป็นต้องผ่านจาก #ม็อบ9กุมภา เข้าไปยังภารที่จะเกิดขึ้นของ#ม็อบ10กุมภา ในทางเป็นจริงว่าจะเป็นอย่างไร