จลาจลที่เมืองหลวงสหรัฐ / อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

จลาจลที่เมืองหลวงสหรัฐ

บทความสั้นๆ นี้ยังคงเห็นความสำคัญอันอาจเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตยเลยทีเดียว จึงนำเอาข้อมูลการจลาจลที่เมืองหลวง (Capitol Hill) สหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ในมุมมอง ในสายตา (percieption) ของชาวอเมริกันโดยการอ้างอิงบทความจาก ที่มาจากการสำรวจบทความจำนวน 180 บทความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา
บทความนี้จะเสนอเป็นประเด็นหลักคือ
ประการที่ 1 สรุปข้อค้นพบในการสำรวจบทความของเว็บไซต์
ประการที่ 2 นำเสนอมุมมองของสื่อใหม่ (New Media) ในแง่บทบาทและความสำคัญต่อโลก

จลาจลที่เมืองหลวงสหรัฐ : ความหมาย

ในงานค้นคว้าข้างต้น ทีมงานของบล็อกนี้ใช้บทความจำนวน 180 บทความจากเว็บไซต์ของสื่อใหม่สหรัฐอเมริกา โดยมองเห็นภาษา (language) ที่ใช้ในรายงานของสื่อต่อเหตุการณ์จลาจลที่เมืองหลวงของสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา
ภาษาที่ใช้ประกอบด้วย บุกยึด (Occupation) อาละวาด (Rampage) ลุกฮือ (Uprising) จลาจล (Riot) จลาจล/กบฏ (Insurrection) รัฐประหาร (Coup) โจมตี (Attack) ล้อมโจมตี (Siege) ประท้วง/กบฏ (Unrest) ประท้วง (Protest)
ภาษาต่างๆ เหล่านี้มีการใช้อย่างหลากหลายจากสื่อหนึ่งสู่อีกสื่อหนึ่ง โดยเราจะเห็นว่า สื่อทั้งหมดล้วนเป็นสื่อใหม่ของสหรัฐและของโลกไปแล้วคือ Yahoo news, CNN, The New York Times (NYT), Fox, Washington Post (WaPO), Breitbart, Epoch Time, BBC and Business Insider
สรุปเกือบทั้งหมด ภาษาที่ใช้อธิบายเหตุการณ์นี้คือ จลาจล
ส่วนในอีกตารางที่ 2 ได้แสดงถึงผู้มีส่วนร่วม (participation) ในการก่อจลาจลครั้งนี้ สื่อใหม่ใช้คำเรียกชื่อของพวกเขาแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ใช้คำว่า ผู้ก่อการจลาจล/ม็อบ (rioters/mob) ตามมาด้วยผู้ประท้วง (Protesters) และใช้ผู้สนับสนุนทรัมป์ (Trump supporters)

ผลของพาดหัวข่าว

เป็นที่ทราบกันว่า อิทธิพลของสื่อแสดงการรับรู้สาธารณะไม่อาจปฏิเสธได้
ในรายงานนี้แสดงความจริงเช่นนั้น
ความจริงของ 88% การสำรวจคนอเมริกันเห็นว่า ข่าว เป็นอุปกรณ์สำคัญของกิจการสาธารณะ
ทั้งนี้ รายงานชิ้นนี้สำรวจข่าวในสื่อที่ไม่นับสื่อที่เน้นเสนอข่าวหลักด้านกีฬา บันเทิงและธุรกิจ
ดังนั้น บทบาทของ สื่อ จากเหตุการณ์การจลาจลครั้งนี้ยังช่วยย้ำถึงเรื่องสำคัญและความเปลี่ยนแปลงของสื่อ คือ สื่อใหม่
ดังจะกล่าวต่อไปด้วย

สื่อใหม่ (New Media)

กล่าวโดยย่อ สื่อใหม่ คือแบบต่างๆ ของสื่อที่ดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์และอิงกับคอมพิวเตอร์ในการกระจายเนื้อหา เช่น การ์ตูนคอมพิวเตอร์ เกมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ตอบโต้ระหว่างผู้ใช้ เว็บไซต์ และโลกเสมือนจริง (virture)
สื่อใหม่บ่อยครั้งอยู่ตรงกันข้ามกับ สื่อเก่า (Old media) เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์
แม้ว่านักวิชาการด้านสื่อสารและสื่อศึกษาวิจารณ์การนิยามที่ไม่ยืดหยุ่นของความแตกต่างที่ความเก่าแก่ (Oldness) และเรื่องราวระหว่างสื่อสองประเภทนี้
แต่สื่อใหม่ก็ยังไม่ได้รวม การแพร่ภาพระบบอะนาล็อก รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์สารคดี นิตยสารหรือหนังสือ หากสื่อเก่าเหล่านี้ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้ดิจิตอลหรือกระบวนการตอบโต้สื่อสารระหว่างผู้ใช้
โซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือการให้บริการเครือข่ายทางสังคม เช่น Face Book และ Twitter เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสื่อใหม่ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนมากเกี่ยวข้อง
น่าสนใจว่า รายงานข้างต้นนำเสนอข้อมูลและทำการวิเคราะห์ การรับรู้ (perception) เหตุการณ์จลาจลที่เมืองหลวงสหรัฐจากคนอเมริกันจำนวนมากจากการนำเสนอข่าวและการตอบสนองของผู้รับสารจากสื่อใหม่
ทั้งนี้ ด้วยอิทธิพลและพลังของการพาดหัวข่าว เรื่องการจลาจลที่เมืองหลวงสหรัฐในสื่อใหม่ โดยสื่อเก่า ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ ข่าวในสื่อเก่าไม่ได้อยู่ในความสนใจและการรับรู้ข่าวสารของผู้รับสารมากพอ หรือไม่สะท้อนมติมหาชน (Public opinion) ของคนอเมริกันอีกต่อไปแล้ว
นี่เป็นทั้งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องประชาธิปไตยของสหรัฐและโลก และเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิวัติทางเทคโลโลยีการสื่อสารซึ่งสื่อมวลชนได้เปลี่ยนสถานะและบทบาทของตนไปแล้ว ถึงแม้จะมีความรุนแรงและความเสียหายทั้งอาคาร สถานที่ และชีวิตผู้คนซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ทางการเมืองและสื่อปฏิวัติฉายภาพความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในอนาคตของโลกด้วย
เข้าใจว่า บริบทสังคมไทยก็โน้มไปทางเดียวกัน

ที่มา Visualcatitalist January 17, 2021