Small Wins Theory (ทฤษฎีสะสมชัยชนะ) กรณีศึกษา Che Guevara /จักรกฤษณ์ สิริริน

บทความพิเศษ
จักรกฤษณ์ สิริริน

Small Wins Theory (ทฤษฎีสะสมชัยชนะ)
กรณีศึกษา Che Guevara

จุดเปลี่ยนสำคัญของ Che Guevara จากนักศึกษาแพทย์หนุ่มน้อย กลายเป็นนักปฏิวัติหมายเลข 1 ของโลก คือการที่เขาได้ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวท่องล่องไปทั่วแผ่นดินอเมริกาใต้
ได้สัมผัสความยากจนข้นแค้นที่หนักหนาสาหัสของคนละติน
Che จึงตั้งปณิธานมุ่งมั่นทำลายล้างทุนนิยมขูดรีด เริ่มต้นด้วยการเข้าไปข้องเกี่ยวกับการปฏิรูปสังคมในกัวเตมาลา
ค่อยๆ สะสมชัยชนะ จากกัวเตมาลา Che เข้าไปสังเกตการณ์ในเม็กซิโก ที่นี่เองที่ทำให้เขาได้พบกับ Fidel Castro ผู้หวังจะเปลี่ยนแปลงแผ่นดินคิวบา Che เข้าร่วมขบวนการ M-26-7
M-26-7 หรือ “ขบวนการ 26 กรกฎาคม” จัดตั้งในเม็กซิโกเมื่อปี ค.ศ.1955 โดยกลุ่มนักปฏิวัติลี้ภัยจำนวน 82 คน แน่นอนย่อมต้องมี Fidel และ Ra?l Castro รวมถึง Che Guevara
การเข้าร่วมปฏิวัติคิวบา Che ได้เขียนคู่มือปฏิบัติการรบแบบกองโจร ที่ต่อมาได้พัฒนาเป็น “ทฤษฎีการสงครามกองโจร” หรือ Guerrilla Warfare Theory ส่งอิทธิพลใหญ่หลวงต่อมา
จากอาร์เจนตินาบ้านเกิด Che ค่อยๆ “สะสมชัยชนะ” ด้วยบทเริ่มต้นงานปฏิวัติในกัวเตมาลา เม็กซิโก ประสบความสำเร็จสูงสุดที่คิวบา จากนั้นเขาไปที่คองโก และถูกสังหารชนิดโลกตะลึงที่โบลิเวีย
คำว่า “สะสมชัยชนะ” นี้ ถือเป็นทฤษฎีหนึ่งซึ่งมีความน่าสนใจ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

“ทฤษฎีสะสมชัยชนะ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Small Wins Theory เป็นแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร. Karl Weick นักทฤษฎีองค์กรจากมหาวิทยาลัย Purdue แห่ง Indiana รัฐ Ohio สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ ดร. Karl Weick บอกว่า “ทฤษฎีสะสมชัยชนะ” หรือ Small Wins Theory เป็นกลยุทธ์หนึ่งในยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management
“ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนใหญ่ใช้เวลาดำเนินการที่ยาวนานมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร หรือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ และที่สำคัญที่สุดก็คือการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร” ศาสตราจารย์ ดร. Karl Weick กระชุ่น
เมื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือการทำงานในโครงการหนึ่ง ใช้เวลายาวนาน เราจึงควรนำ “ทฤษฎีสะสมชัยชนะ” มาปรับใช้เพื่อความเหมาะสม ศาสตราจารย์ ดร. Karl Weick กล่าว และว่า
“จากเวลาที่ยาวนานของการทำงาน ควรแบ่งโครงการเป็นระยะ หรือเป็น Phase ที่มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่สั้นลง เมื่อทำเช่นนี้เป้าหมายใหญ่ก็จะถูกซอยออกเป็นเป้าหมายย่อย ทำให้พนักงานมีกำลังใจในการบรรลุเป้าหมายเล็กเป็น Phase”
การบรรลุเป้าหมายในแต่ละ Phase ก็คือ Small Wins หรือการ “สะสมชัยชนะ” นั่นเอง ศาสตราจารย์ ดร. Karl Weick ทิ้งท้าย

หากเปรียบการทำ Small Wins กับการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะจ๊อกกิ้ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นกล้าม ไม่มีใครที่วันแรกจะจ๊อกกิ้งรวดเดียว 42 กิโลเมตร ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ ก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มีใครที่เล่นกล้ามวันแรกแล้วกล้ามจะขึ้นเป็นมัดๆ ได้ทันที
การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะจ๊อกกิ้ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นกล้าม ต้องการการ “สะสมชัยชนะ” หรือ Small Wins กันไปวันต่อวัน สะสมกล้ามเนื้อ ฝึกระบบการหายใจ และพัฒนาศักยภาพร่างกายไปเรื่อยๆ วันต่อวัน
เหมือนกับการลดความอ้วน ที่หากเราตั้งเป้าจะลดน้ำหนักให้ได้ 12 กิโลกรัม ภายใน 1 ปี
น้อยคนที่จะโหมลดน้ำหนักรวดเดียว 12 กิโลกรัมในเดือนแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
เราจึงควรทำ Small Wins ด้วยการลดน้ำหนักเป็น Phase เช่น เดือนละ 1 กิโลกรัม (ใช้เวลา 12 เดือนหรือ 1 ปีพอดี) หรือเดือนละ 2 กิโลกรัม (ใช้เวลา 6 เดือน)
ถือเป็นกลยุทธ์การ “สะสมชัยชนะ” ของคนอ้วนที่น่าสนใจครับ

การ “สะสมชัยชนะ” ของ Che Guevara ก็เช่นเดียวกัน
จากอาร์เจนตินาบ้านเกิด Che ค่อยๆ “สะสมชัยชนะ” ด้วยบทเริ่มต้นงานปฏิวัติในกัวเตมาลา มาเม็กซิโก และประสบความสำเร็จสูงสุดที่คิวบา จากนั้นเขาไปที่คองโก และถูกสังหารชนิดโลกตะลึงที่โบลิเวีย
จากจุดเริ่มต้นงานปฏิวัติ จุดเปลี่ยนสำคัญของ Che Guevara จากนักศึกษาแพทย์หนุ่มน้อย กลายเป็นนักปฏิวัติหมายเลข 1 ของโลก คือการที่เขาได้ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวท่องล่องไปทั่วแผ่นดินอเมริกาใต้
การได้สัมผัสความยากจนข้นแค้นที่หนักหนาสาหัสของคนละติน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความขาดแคลนด้านการศึกษา เขาจึงตั้งปณิธานมุ่งมั่นทำลายล้างทุนนิยมขูดรีด เพื่อปฏิวัติสังคมอเมริกาใต้ และของโลก!
นำไปสู่ “คำคม” สำคัญ คือ Quote ระดับโลกของ Che Guevara เกี่ยวกับการศึกษา ที่เขาได้กล่าวเอาไว้ว่า The First Duty of a Revolutionary is to be Educated
“ภารกิจแรกของการปฏิวัติ คือปฏิรูปการศึกษา”
เพราะ Che เล็งเห็นแล้วว่า มีแต่ “การศึกษา” เท่านั้นที่จะสร้างสำนึกของการเป็น “คนใหม่” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยจริยธรรม แทนที่จะเป็นสิ่งจูงใจทางวัตถุ
เราจึงได้เห็นความพยายามปฏิรูปการศึกษาควบคู่ไปกับงานปฏิวัติในทุกสถานที่ที่เขาได้เข้าร่วม
ความพยายามปฏิรูปการศึกษา จึงถือเป็นการ “สะสมชัยชนะ” อีกรูปแบบหนึ่งของ Che Guevara เช่นกัน

หากมองกลับมาในบ้านเรา จากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองในหลายเดือนที่ผ่านมาของ #เยาวชนปลดแอก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง #นักเรียนเลว
แม้เราจะยังไม่เห็นชัยชนะจากข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม แต่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามีการ “สะสมชัยชนะ” หรือการชนะในเรื่องเล็กๆ แต่ละ Phase อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการเขย่าองค์กรสื่อบางแห่ง
การสร้างแนวร่วมคนรุ่นใหม่อย่างมากมายมหาศาล
การเปิดพรมแดนข้อมูลข่าวสาร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการศึกษาของ #นักเรียนเลว
ที่มีเป้าหมายปฏิรูปการศึกษาโดยภาคประชาชน ชัยชนะหนึ่งอย่างน้อยๆ ก็ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ลงมารับฟังข้อเรียกร้องของ #นักเรียนเลว
นำไปสู่การยับยั้งการใช้อำนาจในสถานศึกษา ทั้งของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จากเดิมที่ใช้อำนาจกับนักเรียนอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม การข่มขู่ คุกคาม หรือคอร์รัปชั่นในเรื่องต่างๆ
การยับยั้งให้เกิดการชะลอการใช้อำนาจเต็มในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู จึงถือเป็นการ “สะสมชัยชนะ” หรือ Small Wins รูปแบบหนึ่งของ #นักเรียนเลว ที่เราสัมผัสได้อย่างแน่นอน
ถือเป็นการ “สะสมชัยชนะ” หรือ Small Wins รูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับที่ Che Guevara เคยทำมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการศึกษา

ตามปณิธานของ Che Guevara จากนักศึกษาแพทย์หนุ่มน้อย กลายเป็นนักปฏิวัติหมายเลข 1 ของโลก เริ่มต้นจากการที่เขาได้ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวท่องล่องไปทั่วแผ่นดินอเมริกาใต้
ทำให้ได้สัมผัสความยากจนข้นแค้นที่หนักหนาสาหัสของคนละติน Che จึงตั้งปณิธานมุ่งมั่นทำลายล้างทุนนิยมขูดรีด
จากประสบการณ์การต่อสู้ Che Guevara เล็งเห็นแล้วว่า มีแต่ “การศึกษา” เท่านั้นที่จะสร้างสำนึกของการเป็น “คนใหม่” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยจริยธรรม แทนที่จะเป็นสิ่งจูงใจทางวัตถุ
เป็นการ “สะสมชัยชนะ” ตาม Small Wins Theory หรือ “ทฤษฎีสะสมชัยชนะ” ผ่านกรณีศึกษาของ Che Guevara ที่น่าสนใจมาก!