การศึกษา / เจาะรายละเอียด…ทีแคส ปี 2564 รับสมัคร 4 รอบ 5 รูปแบบ

การศึกษา

 

เจาะรายละเอียด…ทีแคส ปี 2564

รับสมัคร 4 รอบ 5 รูปแบบ

 

เริ่มกันไปแล้ว สำหรับระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ประจำปีการศึกษา 2564 ในรอบที่ 1 รอบแฟ้มสะสมงาน ที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยปีนี้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้มหาวิทยาลัยเปิดรับได้อย่างอิสระ จากเดิมที่ให้เปิดรับพร้อมกันในช่วงเดือนธันวาคม

หรือมหาวิทยาลัยใดจะรับสมัครพร้อมการเปิดระบบให้นักเรียนเข้าไปลงทะเบียนใช้งานในระบบทีแคสของ ทปอ.ในวันที่ 5 มกราคม 2564 ก็ทำได้

ซึ่งขณะนี้กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) มหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ.หลายแห่ง ก็อยู่ระหว่างเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนในรอบ 1

สำหรับการรับสมัครผ่านระบบทีแคส ประจำปีการศึกษา 2564 ทาง ทปอ.ได้ปรับเปลี่ยนการรับสมัครใหม่ ซึ่งลดจากเดิม 5 รอบ เหลือเพียง 4 รอบ ได้แก่ รอบ 1 รอบแฟ้มสะสมงาน หรือพอร์ตฟอริโอ รอบ 2 รอบโควต้า รอบ 3 รอบรับตรงร่วมกัน และรอบแอดมิสชั่นส์ และรอบ 4 รอบรับตรงอิสระ

โดย ทปอ.ได้รวมรอบการสมัครในรอบ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบ 4 แอดมิสชั่นส์ ให้เป็นรอบเดียวกัน เรียก “แอดมิสชั่นส์” แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแอดมิสชั่นส์ 1 หรือรับตรงร่วมกันเดิม และรูปแบบแอดมิสชั่นส์ 2 หรือแอดมิสชั่นส์เดิม ผู้สมัครสามารถเลือกอันดับรวมกันได้ถึง 10 อันดับ โดยจะประมวลผลคัดเลือก และประกาศผล 2 ครั้ง

ทั้งนี้ ทปอ.มีมติยกเลิกแอดมิสชั่นส์ 2 ในระบบทีแคส ปีการศึกษา 2565 เนื่องจากมีแนวโน้มว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแอดมิสชั่นส์ 2

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของระบบทีแคสในปีการศึกษา 2564 จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ใน 4 ประเด็น คือ

  1. รวมทีแคสรอบ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบ 4 แอดมิสชั่นส์ โดยรับสมัครคัดเลือกพร้อมกัน เพื่อลดระยะเวลาการคัดเลือกให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน
  2. กำหนดเรื่องการสละสิทธิ์ในระบบ 2 ช่วงเวลา จากเดิมมี 4 ช่วง คือ รอบ 1 แฟ้มสะสมงาน และรอบ 2 โควต้า ทำให้เด็กต้องตัดสินใจแน่นอน
  3. ให้อิสระมหาวิทยาลัยรับสมัครรอบพอร์ตฟอริโอ และรอบโควต้าโดยไม่กำหนดช่วงเวลา แต่ต้องส่งรายชื่อสละสิทธิ์เข้ามาในระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อให้เด็กยืนยันสิทธิ์ภายในเวลาที่กำหนดในช่องทางนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมระบบทีแคสมากขึ้น

และ 4. เปลี่ยนแปลงเนื้อหาการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ทั้งหมด ให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ของนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่เปลี่ยนไป โดยให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผู้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร จะเป็นผู้ออกข้อสอบ 8 รายวิชา คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT1) และวิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT2) รวมถึงวิชาสามัญในส่วนของวิชาคณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์) วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา

ส่วนวิชาอื่นๆ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบตามเดิม

นอกจากนี้ ยังลดการสอบวิชาสามัญ จากเดิม 9 วิชา เหลือ 7 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์) และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ให้ใช้คะแนนสอบโอเน็ตแทนได้

 

ทั้งนี้ ทปอ.ได้แบ่งกลุ่มสาขาวิชาในระบบทีแคสออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ

กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ

กลุ่มที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์

กลุ่มที่ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์

กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์

กลุ่มที่ 6 บริหาร พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การท่องเที่ยวและการโรงแรม และเศรษฐศาสตร์

กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขศึกษา

กลุ่มที่ 8 วิจิตรศิลป์ ศิลปประยุกต์ ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ ศิลปะการออบแบบที่พัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

และกลุ่มที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สัดส่วนองค์ประกอบ และค่าร้อยละในระบบทีแคส รอบ 3 รูปแบบแอดมิสชั่นส์ 2 ทปอ.กำหนดรายละเอียด ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมปลาย (GPAX) 20% โอเน็ต (5 กลุ่มสาระวิชา) 30% การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) 10-50% และ PAT 0-40% รวม 100%

ส่วนรหัส และชื่อวิชาสอบโอเน็ต, GAT และ PAT มีดังนี้ โอเน็ต แบ่งเป็น ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ GAT วิชาความถนัดทั่วไป และ PAT ความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ แบ่งเป็น PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ได้แก่ PAT7.1 ภาษาฝรั่งเศส PAT7.2 ภาษาเยอรมัน PAT7.3 ภาษาญี่ปุ่น PAT7.4 ภาษาจีน PAT7.5 ภาษาอาหรับ PAT7.6 ภาษาบาลี และ PAT7.7 ภาษาเกาหลี

สำหรับสัดส่วนองค์ประกอบ และค่าร้อยละของกลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่

  1. สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์การกีฬา ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 20% และ PAT2 30%
  2. ทันตแพทยศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 20% PAT1 10% และ PAT2 20%
  3. เภสัชศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% และ PAT2 40%
  4. สัตวแพทยศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 20% PAT1 10% และ PAT2 20%

กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ได้แก่

  1. วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% PAT1 10% และ PAT2 30%
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% PAT1 20% และ PAT2 20%

กลุ่มที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 15% PAT2 15% และ PAT3 20%

กลุ่มที่ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% และ PAT4 40%

กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% PAT1 10% และ PAT2 30%

กลุ่มที่ 6 บริหาร พาณิชยศาสตร์ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 30% และ PAT1 20% การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 1 ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% และ GAT 50% การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 2 ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 40% และ PAT7 (เลือก 1 วิชา) 10%

กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขศึกษา รูปแบบที่ 1 ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 20% และ PAT5 30% รูปแบบที่ 2 ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% PAT5 20% และ PAT1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 20%

กลุ่มที่ 8 ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ ศิลปประยุกต์ ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 10% และ PAT4/6 (เลือก 1 วิชา) 40%

และกลุ่มที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งเป็น พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ใช้ GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 30% และ PAT1 20% พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 GPAX 20% โอเน็ต 30% และ GAT 50% รูปแบบที่ 2 GPAX 20% โอเน็ต 30% GAT 30% และ PAT7 (เลือก 1 วิชา) 20%

 

สําหรับปฏิทินการทดสอบต่างๆ ได้แก่ สอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) วันที่ 20-23 มีนาคม 2564 ประกาศผลสอบ วันที่ 23 เมษายน 2564 สอบโอเน็ต วันที่ 27-28 มีนาคม 2564 ประกาศผลสอบ วันที่ 27 เมษายน 2564 และสอบวิชาสามัญ วันที่ 3-4 เมษายน 2564 ประกาศผลสอบ วันที่ 29 เมษายน 2564 และสอบวิชาเฉพาะของแต่ละสถาบัน วันที่ 6-10 เมษายน 2564 ประกาศผลสอบตามที่สถาบันกำหนด

การรับสมัครรอบ 1 พอร์ตฟอริโอ รับสมัคร และคัดเลือกสถาบันกำหนด ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ยืนยันสิทธิ์ในระบบ วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2564 สละสิทธิ์ในระบบ วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2564 สถาบันประกาศชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564

รอบ 2 โควต้า วันรับสมัคร สถาบันกำหนด ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ยืนยันสิทธิ์ในระบบ วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2564 สละสิทธิ์ในระบบ วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2564 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2564

รอบ 3 รอบแอดมิสชั่นส์ 1 และรอบแอดมิสชั่นส์ 2 รับสมัคร วันที่ 7-15 พฤษภาคม 2564 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ วันที่ 10 มิถุนายน 2564

และรอบ 4 รับตรงอิสระ มหาวิทยาลัยกำหนดวันรับสมัคร และคัดเลือก ส่งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564

สำหรับระบบทีแคสในปีการศึกษา 2565