จรัญ มะลูลีม : กวีนิพนธ์ยุคอับบาสิยะฮ์ตอนต้น

จรัญ มะลูลีม

อิบนุกุฎอยบะฮ์ (Ibn Qutayba – ค.ศ.828-889) ผู้เป็นนักทฤษฎีเกี่ยวกับวรรณกรรมคนสำคัญคนแรกได้บรรยายถึงแบบอย่างของบทกวีแบบกอศิดะฮ์ (qasida) ซึ่งนักกวีในสมัยต่อมาจะต้องคำนึงถึง

เขาแนะนำว่า กอศิดะฮ์ นั้นจะเริ่มต้นขึ้นด้วยการกล่าวถึงการสูญเสียที่อยู่อาศัยและสูญเสียความรัก ตามมาด้วยคำพรรณนาถึงการเดินทางและจบลงด้วยเนื้อหาอันแท้จริงในเรื่องการสรรเสริญ การไว้อาลัยหรือการเสียดสีเยาะเย้ย

ข้อเขียนของนักทฤษฎีนี้อาจมีความสำคัญต่อพัฒนาการของบทกวีน้อยกว่าการฝึกฝนของนักกวีแบบใหม่ๆ บทกวีของพวกเขาเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าบทกวีของผู้ประพันธ์กอศิดะฮ์ ก่อนสมัยอิสลาม

บางคนมิได้มีเชื้อสายอาหรับ อาศัยอยู่ในเมือง เป็นผู้รู้ถึงแบบอย่างของบทกวีที่ตกทอดมาถึงพวกเขา แต่ก็ใช้มันด้วยความสำนึกของตนเองในแบบที่เป็นงานศิลปะทางวรรณกรรม

 

บทกวีแบบบาดี (badi”) ที่เป็นรูปแบบใหม่เจริญขึ้น มีลักษณะเด่นโดยการใช้ภาษาที่ประณีตบรรจง มีลักษณะเป็นวาทศิลป์ และมีการใช้คำศัพท์ที่หายาก คำต่างๆ ที่มีความหมายกลับกันถูกวางไว้ติดๆ กัน ทั้งหมดนี้แสดงออกมาภายในโครงสร้างอันเข้มงวดของการใช้จังหวะและคำสัมผัส ซึ่งเป็นเครื่องหมายของกวีนิพนธ์ในระยะแรกๆ

เรื่องราวของบทกวีมีความหลากหลายมากกว่าเดิม

กวีได้เขียนถึงความรักในแนวเสน่หา ไม่ใช่เพียงแต่เป็นไปตามรูปแบบของการแสดงความเสียใจในการสูญเสียคนที่รักไปหรือถูกห้ามมีความรัก

บางคนก็เขียนถึงความขัดแย้งทางศาสนาและจริยธรรมแห่งศตวรรษต้นๆ ของอิสลามด้วย

อบุล-อะลา อัล-มะอัรรี (Abu”l-“Ala al-Ma”arri – ค.ศ.973-1057) กวีชาวซีเรียได้เขียนบทกวีและงานร้อยแก้วที่วิจิตรบรรจง ซึ่งแฝงความสงสัยต่อความคิดที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในเรื่องวิวรณ์และชีวิตหลังความตาย

เป็นเรื่องธรรมดาว่าการสดุดีจะต้องได้รับการเน้นเป็นพิเศษ การสรรเสริญเผ่าพันธุ์ของกวีเองมีไม่มากเท่ากับการสดุดีผู้ปกครองหรือผู้อุปถัมภ์

ในคำสดุดีนั้น ส่วนแรกของสิ่งที่อิบนุ กุฏอยบะฮ์ (Ibn Qutayba) ถือว่าเป็นแบบอย่างแรกของกอศิดะฮ์นั้นสั้นลงไป กลายเป็นแค่เพียงบทนำของเนื้อเรื่องสำคัญเท่านั้น

ผู้ปกครองหรือผู้อุปถัมภ์จะได้รับการสรรเสริญด้วยภาษาที่ประณีตบรรจงและเป็นทางการ ซึ่งบางครั้งอาจปรากฏบุคลิกภาพของกวีและความรู้สึกของเขาอยู่ในนั้นด้วย

 

อัล-มุตะนับบี (Al-Mutanabbi – ค.ศ.915-968) ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์วรรณกรรมสมัยต่อมาว่าเป็นกวีเอกที่เขียนบทกวีชนิดนี้

เขาถือกำเนิดในเมืองคูฟะฮ์ มีเชื้อสายอาหรับ เขาใช้ระยะเวลาช่วงต้นๆ ของเขาไปในเผ่าของบะนู กัลบ์ (Banu Kalb) ซึ่งเป็นชนเผ่าของอาหรับ

เขาใช้ช่วงแห่งวัยหนุ่มของเขาไปในกิจกรรมทางการเมือง และใช้เวลาในช่วงหลังๆ ของเขาในฐานะนักกวีของราชสำนักอยู่หลายรัชสมัยในเมืองอเล็ปโป กรุงไคโร แบกแดดและชีราช

ปีที่มีผลสำเร็จมากที่สุดของเขาอาจเป็นระหว่างที่เขาเป็นกวีของชัยฟ์ อัด-เดาลา (Sayf al-Dawla) ผู้ปกครองราชวงศ์ฮัมดานิยะฮ์ (Hamduniyah) หรือที่ตะวันตกเรียกว่าฮัมดานิด (Hamdannid) แห่งเมืองอเล็ปโปและซีเรียเหนือ ผู้ปกครองได้รับการสรรเสริญด้วยถ้อยคำที่เกินจริง

เมื่อพระองค์ฟื้นจากความเจ็บป่วยกวีของพระองค์ได้ประกาศว่า

ความสูงส่งและเกียรติยศกลับมาเมื่อพระองค์หายป่วย และความเจ็บปวดได้ผ่านจากพระองค์ไปสู่ศัตรูของพระองค์… แสงสว่างซึ่งได้ละทิ้งดวงอาทิตย์ไปราวกับว่าต้องสูญเสียมันไปและกลายเป็นความเจ็บป่วยอยู่ในร่างกายก็ได้กลับคืนมายังดวงอาทิตย์แล้ว… ชาวอาหรับเป็นหนึ่งในโลกในความเป็นเผ่าพันธุ์ของเขา แต่ชาวต่างชาติมีส่วนร่วมกับชาวอาหรับในความกรุณาของเขา… มิใช่เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ข้าพระองค์ขอแสดงความยินดีในความหายจากการเจ็บป่วยของพระองค์ เมื่อพระองค์มีสุขภาพดี ทุกคนก็ย่อมมีสุขภาพดีด้วย (W.Madelung, “The assumption of the title Shahanshah by the Buyids and “the reign of Daylam””, Journal of Near Eastern Studies, Vol.28 (1969, pp.84-108, 168-183)

อย่างไรก็ตาม การผสมผสานเข้าด้วยกันเช่นนี้ย่อมทำให้มีการยกย่องตัวเองอยู่ด้วยอย่างที่มีอยู่ในบทกวี

เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ชัยฟ์ อัด-เดาลา ก็ได้เปลี่ยนความโปรดปรานด้วยกวีอีกบทหนึ่ง

โอ้ ผู้ที่ยุติธรรมที่สุดในหมู่มนุษย์ เว้นแต่การปฏิบัติของพระองค์ที่มีต่อข้าพระองค์ การวิวาทของข้าพระองค์อยู่กับพระองค์ พระองค์ทรงเป็นทั้งศัตรูและผู้พิพากษาของข้าพระองค์… ข้าพระองค์เป็นผู้ที่แม้กระทั่งคนหูหนวกก็ยังสดับฟังถ้อยคำของเขา ข้าพระองค์หลับไปโดยที่หนังตาของข้าพระองค์ปิดต่อถ้อยคำที่เร่ร่อนไปทั่ว ในขณะที่คนอื่นๆ มิได้หลับนอนเนื่องด้วยถ้อยคำเหล่านั้น พวกเขาแข่งขันกันและกัน… พระองค์ผู้ไร้ค่าเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับหรือชาวเปอร์เซียประกาศบทกวีของพวกเขาต่อหน้า นี่เป็นคำติเตียนต่อพระองค์ แต่ได้กระทำขึ้นด้วยความรัก มันมีไข่มุกฝังไว้ภายใน แต่มันก็คือถ้อยคำของข้าพระองค์

(G.Hanotaux (ed.), Historire de la nation egyptienne, Vol.4 : G.Wiet, L”Egypte arabe, Paris, 1937)

 

กวีทั้งหลายยังคงใช้แบบแผนเดิมต่อไป แต่การเขียนร้อยแก้วด้วยภาษาอาหรับนั้นเป็นของใหม่ กุรอานเป็นงานร้อยแก้วงานแรกที่ใช้ภาษาอาหรับชั้นสูง (หรืออย่างน้อยก็เป็นร้อยแก้วชิ้นแรกที่ดำรงอยู่) และการผลิตของคนอื่นๆ ก็คือสิ่งที่ตามมาโดยธรรมชาติ

ได้มีการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับศาสดาและชัยชนะของชาวอาหรับและเขียนลงไว้ และนักเทศน์ที่ได้รับความนิยมก็ได้สร้างศิลปะการพูดที่มีแนวเรื่องของอิสลามขึ้นมา

ในตอนหลังร้อยแก้วชนิดใหม่ที่มีลักษณะศิลปะก็ได้ปรากฏขึ้น โดยสำรวจหาแนวเรื่องมาจากวัฒนธรรมอื่นๆ

ตัวอย่างในระยะแรกสุดและมีชื่อเสียงที่สุดตัวอย่างหนึ่งของร้อยแก้วแบบนี้ได้แก่ เรื่องกาลิลาและดิมนา (Kalila wa Dimna) ซึ่งเป็นการรวบรวมนิยายเชิงศีลธรรมเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ซึ่งรับมาจากภาษาสันสกฤตโดยผ่านมาทางภาษาปาห์ลาวี และแต่งเป็นร้อยแก้วภาษาอาหรับโดยอิบนุล-มุกัฟฟะฮ์ (Ibn al-Muqaffa” – ประมาณ ค.ศ.720-756) ผู้เป็นข้าราชการในสมัยอับบาสิยะฮ์ที่มีเชื้อสายอิหร่าน

เขาเป็นตัวอย่างของเลขานุการแบบอิสลามและแบบอาหรับคนหนึ่ง ผู้ซึ่งได้นำเอาความคิดและวรรณกรรมเรื่องราวในชีวิตประจำวันมาจากเรื่องเก่าแก่ที่ตกทอดมาถึงพวกเขาเข้ามาสู่ภาษาอาหรับ

 

แต่ที่เคียงคู่มากับคนเหล่านี้ก็คือนักเขียนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งดึงเอาความบันดาลใจของพวกเขามาจากโลกอันกว้างใหญ่ที่ถูกทำให้มีอยู่โดยการแพร่ขยายของอิสลามและอาณาจักรของอิสลาม นั่นคือประชาชนและประเทศต่างๆ หลากหลาย

ลักษณะใหม่ๆ ต่างๆ ของมนุษย์ ปัญหาใหม่ๆ ในเรื่องศีลธรรมและพฤติกรรม นักเขียนเหล่านี้พยายามที่จะมองสิ่งเหล่านี้จากมุมมองแห่งบรรทัดฐานของศาสนาใหม่คือศาสนาอิสลาม และแสดงมันออกมาในรูปแบบของวรรณกรรมที่น่าอ่าน

ในหมู่ผู้ปฏิบัติการตามรูปแบบของวรรณกรรมชนิดใหม่คือ อะดาบ (adab) นั้น มีอัล-ญาหิซ (al-Jahiz – ค.ศ.776/777-868/869) เป็นผู้ที่เด่นดังในฐานะนักเขียนระดับพิเศษและได้รับการตอบรับอย่างแข็งขันด้วยการแสดงออกโดยภาษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี เขามีรากเหง้าอยู่ในครอบครัวของชาวแอฟริกันที่มีเชื้อสายทาส ซึ่งติดต่อกับเผ่าต่างๆ ของชาวอาหรับ แต่ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นอาหรับมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

เขาได้รับการเลี้ยงดูในเมืองบัศเราะฮ์ แต่ต่อมาได้ไปอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของเคาะลีฟะฮ์ อัล-มะอ์มูน (Caliph al-Ma”mun) ความอยากรู้อยากเห็นในด้านวุฒิปัญญาของเขามีอยู่อย่างกว้างขวาง และงานของเขาก็เป็นการรวบรวมความรู้ที่หาได้ยากและน่าสนใจเกี่ยวกับมนุษย์และโลกธรรมชาติ

ประเทศต่างๆ สัตว์สิ่งแปลกๆ ในมนุษย์ ภายใต้สิ่งนี้ยังมีการสอดแทรกคำอธิบายเรื่องศีลธรรมเข้าไปด้วย เช่น เรื่องมิตรภาพและความรัก ความอิจฉาและความหยิ่งทระนง ความตระหนี่ ความเท็จและความจริงใจ อย่างเช่น

คนที่ดีงามนั้นมิได้เสแสร้งว่าเป็นคนดีงาม สิ่งที่เป็นมากไปกว่าการมีโวหารนั้นก็คือการพูดจาคล่องแคล่วที่เสแสร้ง เมื่อคนคนหนึ่งพูดถึงคุณภาพของเขามากเกินจริง ก็เป็นเพราะว่าในตัวของเขาขาดอะไรบางอย่างไป นักเลงทำท่าอวดดีก็เพราะรู้ถึงความอ่อนแอของตนเอง ความหยิ่งผยองนั้นเป็นความน่าเกลียดในคนทุกคน… มันเลวทรามเสียยิ่งกว่าความโหดร้ายซึ่งเป็นบาปที่เลวร้ายที่สุด และความถ่อมตนนั้นดีกว่าความเมตตาซึ่งเป็นการกระทำที่ดีที่สุดเสียอีก (M.Canard, Histoire de la dymastie des Hamdanides, (Paris, 1953).

ร้อยแก้วแบบอะดาบที่เกิดขึ้นในตอนต้นของสมัยอับบาสิยะฮ์นั้นตั้งใจที่จะอบรมศีลธรรมและให้ความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน

 


โค้งสุดท้ายกับโปรโมชั่นเอาใจคอนิตยสารในเครือมติชน

สมาชิกตลอดปีลดทันที 40%
.
มติชนเอาใจนักท่าน จัดโปรโมชั่นให้กับผู้สมัครนิตยสารในเครือมติชน ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 31 ตุลาคม 2563 ที่ลดราคาพิเศษมากถึง 40% จัดส่งลงทะเบียน ได้แก่
.
📷มติชนสุดสัปดาห์ 52 ฉบับต่อปี
จากราคา 3,692.- เหลือเพียง 2,652.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/wgo32TT](https://cutt.ly/wgo32TT?fbclid=IwAR04elXa3x7sarnLW6XV_rpaz_iBPRjklMsARiSFCmwI8bPV2XvtUFpz9cU)
.
📷ศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับต่อปี รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
จากราคา 1,692.- เหลือเพียง 1,116.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/8go39qV](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2F8go39qV%3Ffbclid%3DIwAR1_bNE5QNkuUrUk6AWV4IErd2yJV8C_KxbMMGSNF8uuBEyv5zeMizXPOxA&h=AT1cca8T767PgQR-dUL9viQ1qaiYSrdmaaW9dZDtCLJMj3kbmKG8yPlD6Lq7C8CP64TXzlRK-G-9iqvTLMMLhaA6c6QR56P1rhwurkRDtYJfHQkxt2EETYa9RXxdrTarfmUX&__tn__=-UK*F)
.
📷เทคโนโลยีชาวบ้าน 24 ฉบับต่อปี รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
จากราคา 1,704.- เหลือเพียง 1,224.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/cgo39D2](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2Fcgo39D2%3Ffbclid%3DIwAR3nl3HmZQY84OGLn5Vc3NCx171_Z1ZOvM6MgJxSO6wx6jpjp-pTJuhTrCE&h=AT0SV643sUGwxQ_ruE9zOfxa3FiVXunxX6fu2is3d9XgyM9wIvdcudrui57szQKMjSRDq-6ZB0YWalSeCg1y9dmeY8GjhXv_WATOMRXhBnZAilZ5EA8W7NfGP7UsZff6tpjG&__tn__=-UK*F)
.
📷สมาชิกนิตยสาร 3 ปกรายปี ประกอบด้วย
– นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์รายปี (52 ฉบับ)
– นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปี (24 ฉบับ)
– นิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายปี (12 ฉบับ)
.
จากราคา 7,088.- เหลือเพียง 4,992.-
*รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน
[https://cutt.ly/qgo8uAY](https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fcutt.ly%2Fqgo8uAY%3Ffbclid%3DIwAR3u7VdRS2d10lbrzDE9GIlXmQPQDBPbt8VEyVqPVVLtQcecsnS3D5o-pXU&h=AT2JZSVkP3xc6ZAYXUEhYE5-OoU9GZpqfHNrMZlbESEZ3WC3r6GeJSIBrCREr46o_XiAPxn_c_AMY4bpyY0yFXRWV6PbC9n4yake5awbYZxj8YKhekmyI2uejHsfhhar8Rki&__tn__=-UK*F)
.
.
ดูโปรโมชั่นพ็อกเก็ตบุ้คและนิตยสารต่างๆ ได้ที่ [www.matichonbook.com](https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.matichonbook.com%2F%3Ffbclid%3DIwAR2Uq1niVpjq0kG5tUTK8MPPt_eU5Sl6MrpFgUOWG3dGqTEJYRidtfPrgms&h=AT2ApMefnkFj0WaHM-IguZ_FsN4TSvnJTkmkPRjmiWsZT8DETR8kRqI19OrJRUy6bNuCqq3tgDXFb1NCojzfwKawg7Cdtx7RmIOWjCMpUTuD0WmrszBFZZFOWjrktJfn40E7&__tn__=-UK*F)
.
ห้ามพลาด
สมัครสมาชิกนิตยสารในเครือมติชน
ลดราคาพิเศษ 40%
ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 31 ตุลาคม 2563