อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : แลหลังความยิ่งใหญ่อเมริกัน

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ใครๆ ก็คุ้นการอ้างถึงความยิ่งใหญ่อเมริกัน

ยิ่งหากกลับไปยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ท่านได้ชูนโยบาย American First อันเป็นนโยบายที่ประยุกต์ใช้หลายด้านโดยที่ให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรกมาตั้งแต่ต้น

ทว่า เมื่อลองย้อนกลับไปช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ช่วงของประธานาธิบดีทรัมป์และพรรครีพับลิกัน

เราอาจเห็นตรงกันข้าม

 

การแบ่งแยกขยายกว้าง

มีการตั้งข้อสังเกตว่าเกือบ 4 ปีของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีทรัมป์และพรรครีพับลิกันของเขากัดเซาะรัฐและปล้นกระเป๋าเงินของคนอเมริกัน ยิ่งเรื่องของเชื้อชาติ (Race) ด้วยแล้วการแบ่งแยกกว้างขวางออกไปมาก

เราเห็นความพยายามยาวนานกว่า 160 ปี ประเทศนี้พยายามจัดการกับบาปดั้งเดิม คือทาสแอฟริกัน ทว่า ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์การแบ่งแยกของคนอเมริกันขยายเพิ่มขึ้น

ไม่ต้องประหลาดใจว่า คนร่ำรวยรวยมากขึ้นในช่วงของประธานาธิบดีทรัมป์ ดูได้จากตลาดหลักทรัพย์ที่คนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของหุ้น 92% ส่วนราคาหุ้นก็ทำนิวไฮในเวลาเดียวกัน การว่างงานเพิ่มขึ้นและการไม่มีงานทำก็เพิ่มมากขึ้น

ประมาณกันว่า คนอเมริกันในครัวเรือนราว 30 ล้านคนมีอาหารไม่เพียงพอ และคนทั้งหมดที่อยู่ต่ำสุดของการกระจายรายได้อยู่ได้ด้วยเงินช่วยยังชีพ (living paycheck) ที่จ่ายให้

ตอนนี้ประเทศถูกฉีกออกเรียบร้อยแล้วด้วยความไม่เท่าเทียมกันอย่างลึกซึ้ง

พรรครีพับลิกันของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่เพียงแต่ตัดจัดเก็บภาษีมหาเศรษฐีและบริษัทธุรกิจออกไป แต่ยังใช้นโยบายหลายนโยบายเพิ่มอัตราภาษีที่จัดเก็บกับคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนชั้นกลาง

หากย้อนกลับไปดูรายงานชื่อว่า Kerner Commission 1967 ที่รายงานเมื่อ 53 ปีในเวลานั้น ซึ่งเป็นรายงานจากการตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยนั้นตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนสาเหตุและแก้ปัญหาการก่อกบฏเชื้อชาติในหลายเมืองของสหรัฐอเมริกา (1) รายงานฉบับนี้สรุปว่าเรื่องกบฏเชื้อชาติและความแตกต่างของสีผิวลดน้อยลงเพียงเล็กน้อย

น่าสนใจ ข้อสรุปหลักของรายงานชิ้นนี้ฉายภาพให้เห็นว่าสังคมอเมริกันในยุคนั้น “ชาติของเรากำลังมุ่งสู่สังคมหนึ่งดำ หนึ่งขาว ที่แบ่งแยกและไม่เท่าเทียม”

ข้อสรุปหลักนี้ยังคงสำคัญต่อไปในสังคมอเมริกันยุคปัจจุบัน สังคมหนึ่งดำ หนึ่งขาวยังดำรงอยู่และแบ่งแยกมากขึ้นในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์

ในเวลาเดียวกัน โรคระบาดใหญ่โควิด-19 ยังคงเผยและทำให้ความไม่เท่าเทียมกันรุนแรงขึ้น เนื่องจากโอกาสเท่าเทียมกันในการแพร่เชื้อโรคโคโรนาไวรัสทำการคุกคามมากที่สุด

สำหรับคนอเมริกันพวกเขาซึ่งมีสุขภาพย่ำแย่อยู่แล้วซึ่งมีคนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ได้รับการเข้าถึงการดูแลสุขภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน

ความจริงแล้ว จำนวนคนอเมริกันที่ไม่ได้รับประกันด้านสุขภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นล้านๆ คนช่วงที่ประธานาธิบดีทรัมป์ดูแลระบบดูแลสุขภาพ หลังจากยุคของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และแม้แต่ก่อนการระบาดโรคระบาดใหญ่

อายุเฉลี่ยคนอเมริกันภายใต้สมัยประธานาธิบดีทรัมป์ต่ำกว่าระดับมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2010

 

บ้าระห่ำ/ความประมาท

หากพูดตรงไปตรงมา การปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกาทำอย่างบ้าระห่ำหรือไม่ก็ประมาท

ประธานาธิบดีทรัมป์นำประเทศที่ไม่ได้จัดเตรียมอะไรที่ตอบสนอง “วิกฤตการณ์ครั้งต่อไป” เมื่อผู้บริจาคมหาเศรษฐีแห่งพรรครีพับลิกันและบริษัทธุรกิจพันธมิตรของพวกเขาหาเงินในช่วงที่ยังมีเงินมากพอช่วงปี 2007

แต่ตอนนี้ครัวเรือน บริษัทธุรกิจเล็กๆ และการบริการสาธารณะสำคัญต้องการความช่วยเหลืออย่างสิ้นหวัง สมาชิกพรรครีพับลิกันกำลังอ้างว่าตู้อาหารว่างเปล่าแล้ว อาหารหมดแล้ว

ตราบเท่าที่การต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่เกี่ยวดองกันเหมือนช่วงการระดมสรรพกำลังทำสงคราม สหรัฐอเมริกาติดกับดิ้นไม่ออกอยู่ที่ “ผู้บัญชาการ” ซึ่งมองดูแค่ตัวของเขาเอง

ในขณะที่ผู้บัญชาการคนนี้ทำอันตรายกับทุกๆ คน โดยการปฏิเสธวิทยาศาสตร์และการทดลอง

ไม่น่าประหลาดใจว่า สหรัฐอเมริกาอยู่ในตำแหน่งประเทศที่จัดการแย่ที่สุดในการควบคุมโรคและการจัดการเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

ในช่วงแรก มีการตักเตือนทรัมป์และพวกพ้องของเขาว่า สงครามด้านการบริหารจะทิ้งสหรัฐอเมริกาทั้งประเทศไม่เตรียมตัวสำหรับอนาคต ตอนนี้ประเทศเดินโซซัดโซเซจากโรคระบาดใหญ่ที่เห็นได้ ทว่า ช่วงนี้ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกายังได้รับความกรุณาจากวิกฤตสภาพแวดล้อม (Climate change crisis) วิกฤตสังคม เศรษฐกิจ และวิกฤตประชาธิปไตยและความยุติธรรมทางเชื้อชาติ ไม่ต้องกล่าวถึงการเกิดขึ้นของการแบ่งแยกระหว่างเมืองกับชนบท ชายฝั่งและตอนใน ความหนุ่มสาวและผู้สูงวัย

เห็นไหมครับ วิกฤตการณ์ต่างๆ นานาถาโถมสู่สหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่องและเป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ทั้งสิ้น

ประธานาธิบดีทรัมป์วางเป้าอยู่ที่ 2 เครื่องปรุงหลักเพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและความไว้เนื้อเชื่อใจสาธารณะ

ส่วนประเทศอื่นๆ ด้วยสภาพปัญหาโรคระบาดขนาดใหญ่และเศรษฐกิจล่มสลายต่างๆ เหล่านี้ ประเทศพวกเขาได้ควบคุมโรคระบาดใหญ่ได้และทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ดีขึ้น

ไม่มีทางเยียวยาให้หายเพียงข้ามคืน แต่ก็มีคนย้อนถึงความคิดเก่าคร่ำครึที่ว่า “เวลารักษาทุกๆ บาดแผล”

ทว่า เห็นทีคราวนี้คงไม่ง่ายสำหรับสหรัฐอเมริกา ด้วยว่าการหายดีหรือการพลิกฟื้นจะไม่เกิดขึ้นมาเอง

คนอเมริกันจะกระตือรือร้นกับโครงการแห่งชาติว่าด้วยการเริ่มต้นใหม่หรือเปล่า

บางคนก็บอกว่า โชคดีคนรุ่นใหม่กระหายจะขึ้นมาท้าทายสิ่งเหล่านี้ สหรัฐอเมริกาจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้ ถ้าคุมทิศทางด้วยความกระตือรือร้นของพวกเขาและยืนร่วมกัน ประยุกต์ตัวเองใหม่อีกครั้งกับหลักการต่างๆ ที่ตั้งมั่นมายาวนานและความคาดหวัง

ทว่า ความยิ่งใหญ่อเมริกันเป็นได้จริงหรือ? ฝากคนป่วยชื่อทรัมป์ด้วยครับ

 

(1) เป็นช่วงฤดูร้อนในปี มีการก่อการจลาจลเชื้อชาติในหลายเมืองของสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นราวสัปดาห์เริ่มจากเมือง และโดยแต่ละที่มีการก่อการจลาจลในชุมชนโดยรอบ เหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศช็อก หวาดกลัวและน่าพิศวงยิ่ง จนกระทั่งประธานาธิบดีสมัยนั้นตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงและหาทางแก้ไข ดูเพิ่มได้จาก https://belonging.berkeley.edu/1968-kerner-commission-report