E-DUANG : เส้นทางของ 14 ตุลาคม 2563 กับเส้นทาง 14 ตุลาคม 2516

การเคลื่อนไหวของ”คณะราษฎร 2563” ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 14 ตุลาคม ดำเนินไปในลักษณะสัมพันธ์ในทางประวัติศาส ตร์อย่างทรงความหมายยิ่ง

แน่นอน ความบันดาลใจอันเป็นพื้นฐานยิ่งในทางความคิดคือสถานการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

อันเป็นที่มาแห่ง”คณะราษฎร 2475”

ขณะเดียวกัน เมื่อกำหนดเอาวันที่ 14 ตุลาคม จึงเป็นจุดร่วมแห่งการรวมพลังนั่นย่อมโยงไปยังสถานการณ์การเคลื่อนไหวเมื่อเดือนตุลาคม 2516

จุดร่วมเมื่อเดือนตุลาคม 2516 จุดหนึ่งคือความเรียกร้องต้อง การรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อถูกสกัดและขัดขวางด้วยการจับกุมคุมขังก็กลายเป็นข้อเรียกร้องเพื่อขับไล่รัฐบาล

รัฐบาลอันประกอบด้วย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประ ภาส จารุเสถียร พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร

ขณะที่สถานการณ์”คณะราษฎร 2563”ก็ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง

 

ใกล้เคียงกันเพราะว่าปรากฏการณ์ของ”เยาวชนปลดแอก”อันมีจุดเริ่มเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมคือ หยุดการคุกคามประชาชน และจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย

แต่จากเดือนกรกฎาคม ผ่านเดือนสิงหาคม ผ่านเดือนกันยายน มายังเดือนตุลาคมมีความเด่นชัด

เด่นชัดว่าการคุกคามประชาชนยังคงมีอยู่และรุนแรงยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่จะโดยพรก.ฉุกเฉิน หากแต่ยังพ่วงมาตรา 116 และคิดจะพ่วงมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และไม่เพียงแต่เงื้อง่าราคาแพงด้วยกฎหมายสารพัด

หากแต่ยังเตะถ่วงหน่วงเวลาของการจัดการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยการจัดตั้ง”คณะกรรมาธิการวิสามัญ”ชุดแล้วชุดเล่าออกมาเพื่อซื้อเวลา

เป็นการซื้อเวลาท่ามกลางการคุกคามอย่างไม่ขาดสาย

ในที่สุดจากข้อเรียกร้องในประเด็น”รัฐธรรมนูญ”ก็ขยายไปสู่การขับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าสถานการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เป็นไปเช่นเดียวกับผลอันเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หรือไม่

คำตอบมิได้อยู่ที่ปฏิบัติการไอโอทางด้าน”การข่าว”

ตรงกันข้าม จำนวนคนที่จะเข้ามาร่วมต่างหากคือคำตอบอย่างแท้จริงต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าควรจะทำอย่างไ