บทความพิเศษ/นงนุช สิงหเดช/ขู่แบนดารา ‘สลิ่ม’ เกลียดตัวกินไข่?

บทความพิเศษ/นงนุช สิงหเดชะ

ขู่แบนดารา ‘สลิ่ม’

เกลียดตัวกินไข่?

 

สถานการณ์เก่าๆ ย้อนกลับมาอีกครั้ง หลังจากเกิดม็อบนักศึกษาและเยาวชน ที่เรียกตัวเองว่าม็อบ “ปลดแอก” ที่กำลังประท้วงรัฐบาลปัจจุบันให้ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และที่เป็นจุดเดือดในสังคมก็คือการพุ่งเป้าโจมตีสถาบันกษัตริย์

ที่ว่าเป็นสถานการณ์เก่าๆ คุ้นๆ ก็เพราะเกิดความแตกแยกแบ่งฝักฝ่ายกันอีกครั้งและใหญ่กว่าเดิม

โดยที่ม็อบหรือแนวร่วมม็อบเหล่านี้พยายามตามล่าผู้ที่พวกเขาเห็นว่าเป็น “สลิ่ม” ด้วยการข่มขู่จะแบนผู้มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นดาราหรืออื่นๆ ที่พวกเขาคิดว่าเป็นสลิ่ม

คำว่าสลิ่ม ถูกบัญญัติโดยใครไม่แจ้งชัด แต่ความหมายก็คือกลุ่มเสื้อเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีจุดยืนเรื่องปกป้องสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ช่วงก่อนการรัฐประหาร 2549 รวมกับกลุ่มสีเสื้ออื่นๆ ที่มีจุดยืนเดียวกัน แต่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายเสื้อแดงที่นิยมทักษิณที่ถูกมองว่าทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันกษัตริย์

ว่ากันว่า สลิ่ม หรือขนมซ่าหริ่ม นั้นมีทุกสียกเว้นสีแดง (ซึ่งก็คือม็อบเสื้อแดง) ดังนั้น คนเสื้อแดงหรือคนนิยมทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ รวมทั้งคนที่ไม่นิยมสถาบันกษัตริย์ จึงเรียกฝ่ายตรงข้ามว่าสลิ่ม

 

การแบนสลิ่ม เริ่มขึ้นชัดเจนและรุนแรงตั้งแต่สมัยม็อบเสื้อแดง ที่ออกมาปะทะกับม็อบนกหวีดหรือม็อบ กปปส. เมื่อปี 2556 ที่ออกมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์

คราวนั้นมีดาราและคนดังมากมายเป็นแนวร่วมของ กปปส. ทำให้ฝ่ายนิยมทักษิณ ยิ่งลักษณ์ เกิดการรณรงค์ให้แบนดารานักร้องที่เป็นสลิ่ม เกิดความวุ่นวายถึงขนาดฝ่ายเสื้อแดง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน ยกพวกไปคุกคามไม่ให้องค์กร หรือสถานบันเทิงนั้นๆ จ้างคนดังเหล่านี้ไปแสดง หรือถ้ากำลังแสดงอยู่ก็ต้องยกเลิก

แต่ในขณะนั้นไม่ปรากฏว่าฝ่ายสลิ่มไปคุกคามหรือแบนดารา-คนดัง ที่เป็นแนวร่วมของเสื้อแดง

เหตุการณ์นั้นก็สะท้อนสิ่งที่ย้อนแย้งกัน ระหว่างฝ่ายสลิ่มที่ถูกหาว่าฝักใฝ่เผด็จการ กับฝ่ายเสื้อแดงที่อ้างตัวเองว่าบูชาประชาธิปไตย

 

มาครั้งนี้ใน พ.ศ.2563 เกิดเหตุการณ์เดียวกัน นั่นคือแนวร่วมม็อบปลดแอก พากันใช้โซเชียลมีเดียรณรงค์ให้แบนดาราสลิ่ม ซึ่งความหมายของสลิ่มในยุคนี้ ก็คือฝ่ายที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์และยังศรัทธาสถาบันกษัตริย์

อันที่จริงไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า ม็อบปลดแอก 2563 ก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของม็อบเสื้อแดง มีความเหมือนกันเกี่ยวกับจุดยืนต่อสถาบันกษัตริย์ โดยมีเยาวชนและนักศึกษาออกมาแสดงบทบาทนำ

ทัศนคติของแนวร่วมม็อบเหล่านี้เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ทำให้พวกเขาบางส่วนไประรานและคุกคามคนมีชื่อเสียงที่แสดงออกว่ายังศรัทธาสถาบันกษัตริย์

เช่น กรณี มิว นิษฐา จิระยั่งยืน ซึ่งมีผลงานละครล่าสุดเรื่อง “อกเกือบหักแอบรักคุณสามี” ได้โพสต์ภาพพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระพันปีหลวง เนื่องในวันแม่ 12 สิงหาคม ก็มีผู้เข้าไปคอมเมนต์ ข่มขู่ว่าจะแบนฐานทำตัวเป็นศัตรูกับประชาธิปไตย

บางคนก็เขียนตัดพ้อว่า นี่ดาราเป็นสลิ่มกันหมดเลยหรือ รวมถึงผู้จัดละครด้วย แต่พร้อมกันนั้นก็ยอมรับว่าคนดังและรวยระดับมิว นิษฐา คงไม่แคร์ถ้าจะถูกแบน

แต่ฟังๆ ดูแล้ว ทุกคนที่เข้ามาระรานมิว นิษฐา น่าจะดูละคร “อกเกือบหักแอบรักคุณสามี” ซึ่งทำเรตติ้งค่อนข้างสูง กันเกือบทุกคน

ส่วนณเดชน์ คูกิมิยะ ก็โดนแบบเดียวกัน เมื่อโพสต์พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จฯ พระพันปีหลวง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ก็มีคนไปขู่ว่าจะแบนทุกอย่างที่ณเดชน์เป็นพรีเซ็นเตอร์ (ณเดชน์คงกลัวมากเลย…)

 

ในทางเป็นจริง คำขู่แบนดาราสลิ่ม จะมีผลในทางเศรษฐกิจหรือการขายสินค้าหรือไม่ ยังน่าสงสัย เพราะดูอย่างละครเรื่อง “นาคี” ซึ่งกำกับการแสดงโดย “ออฟ” พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ที่แสดงออกชัดเจนถึงการรักพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยถึงกับประกาศบนเวทีขณะรับรางวัลหนึ่งเมื่อปี 2553 ว่า “ใครเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อ ก็ออกจากประเทศนี้ไปซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ”

ทำให้พงษ์พัฒน์ไม่เป็นที่ชื่นชอบของคนเสื้อแดงและก่อกระแสต่อต้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อละคร “นาคี” สนุกสนานมาก แถมบทละครยังมีที่มาจากเรื่องราวความเชื่อในภาคอีสานเกี่ยวกับพญานาค ทำให้เรตติ้งละครเรื่องนี้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คนติดงอมแงมทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ภาคอีสาน ถิ่นคนเสื้อแดง

การขู่จะแบนมิว นิษฐา ก็ดี แบนณเดชน์ก็ดี ก็น่าจะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ในทางปฏิบัติสามารถโน้มน้าวให้คนส่วนมากแบนตามหรือไม่ หรือแม้กระทั่งเจ้าตัวเอง ลับหลังก็แอบไปดูละครมิวหรือณเดชน์อยู่หรือเปล่า หรือถ้าจะแบนสินค้าที่ทั้งสองคน โดยเฉพาะณเดชน์เป็นพรีเซ็นเตอร์นั้น คนแบนก็อาจจะต้องไม่ซื้อสินค้าหลายอย่างมาก จะทำได้จริงๆ หรือเปล่า

และถ้าทำได้ จะทำได้นานต่อเนื่องแค่ไหน กลัวแต่ว่าสุดท้ายแล้วหากสินค้านั้นดี ละครเรื่องนั้นสนุก ก็จะลืมการแบนไปโดยไม่รู้ตัว

 

การรณรงค์ให้แบน อาจกลายเป็นบูมเมอแรงย้อนกลับมาทิ่มแทงพลังของม็อบปลดแอกให้อ่อนลง เพราะคนทั่วไปที่มีเหตุผลมากพอ เขาอาจรู้สึกว่าคนเหล่านี้ขาดเหตุผลและน่ารำคาญ ทำตัวสมกับเป็นเด็ก มีพฤติกรรมไม่เป็นประชาธิปไตย พยายามกดหัวคนอื่นให้เงียบเสียง ไม่กล้าแสดงออกถึงความเชื่อความศรัทธาของตัวเอง

สำหรับเจ้าของสินค้าที่หวาดกลัวการข่มขู่จากสาวกม็อบปลดแอก ก็ต้องตั้งสติว่าคำขู่นั้นจะเป็นจริงแค่ไหน เพราะถ้าโอนอ่อนตาม ก็อาจจะถูกอีกฝ่ายคือสลิ่มต่อต้านสินค้านั้นแบบเงียบๆ (เพราะไม่อยากพูดมาก เจ็บคอ) ก็เป็นได้

อย่าประมาทพลังซื้อของสลิ่มเช่นกัน เพราะสลิ่มส่วนใหญ่ถูกจัดว่าเป็นคนชั้นกลาง มีฐานะพอสมควร

เคยได้ยินคำว่า “เสียงข้างน้อยที่ดัง กับเสียงข้างมากที่เงียบ” หรือไม่

เสียงข้างน้อยที่ดัง เอะอะโวยวาย อาจทำให้คนหวาดกลัวตกใจ แต่ไม่ได้มีพลังมากมายที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างมีนัยสำคัญ

ผลวิจัยทางการตลาดน่าจะช่วยให้เจ้าของสินค้าตัดสินใจได้ว่า กลุ่มเป้าหมายของตนเป็นใคร สินค้าของตนมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเยาวชนหรือแนวร่วมม็อบปลดแอกหรือไม่

 

ถ้าดูข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ในการเลือกตั้งปีที่แล้วพบว่ามีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 51.4 ล้านคน ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ผู้มีช่วงอายุ 18-25 ปี หรือที่เรียกว่ากลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรก จำนวน 7,339,772 คน

ช่วงอายุ 26-45 ปี เป็นกลุ่มช่วงอายุที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 19,583,472 คน ช่วงอายุ 46-60 ปี 14,444,663 คน ช่วงอายุ 61 ปี ขึ้นไป 10,052,068 คน

กลุ่มช่วงอายุ 18-25 ปี น่าจะอนุมานได้ว่า เกือบทั้งหมดน่าจะเป็นสาวกของพรรคการเมืองคนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดไม่เอาสถาบัน เห็นได้จากผลการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว

ส่วนกลุ่มคนอายุ 26-45 ปีนั้น ที่มีจำนวนมากที่สุดนั้น ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใหญ่นิยมพรรคการเมืองคนรุ่นใหม่หรือไม่ เพราะวัยนี้โดยเฉพาะผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน่าจะมีวุฒิภาวะมากขึ้น มุมมองต่อสิ่งต่างๆ จะไม่สุดขั้ว เนื่องจากเข้าสู่โลกแห่งการทำมาหาเลี้ยงชีพ อยู่กับโลกความเป็นจริงมากกว่ากลุ่ม 18-25 ปี

สมมุติว่า ในกลุ่มอายุ 26-45 ปี มีประมาณครึ่งหนึ่งที่นิยมพรรคการเมืองรุ่นใหม่และไม่นิยมสถาบันกษัตริย์ ก็เท่ากับว่าเมื่อรวมกับกลุ่ม 18-25 ปีแล้วก็จะออกมาประมาณ 17 ล้านเศษๆ

ในขณะที่ช่วงอายุ 46-60 ปี และ 61 ปีขึ้นไป น่าจะอนุมานได้ว่า ส่วนใหญ่ยังเห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ เมื่อรวมกันแล้ว กลุ่มนี้ก็จะมีจำนวนประมาณ 34 ล้านคนเศษ

กว่า 12 ปี ของการจัดงาน Healthcare เครือมติชนร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ส่งต่อความรู้และให้บริการสุขภาพแก่คนไทยในทุกมิติ ทั้งการป้องกัน ดูแล และรักษา โดยเฉพาะการบริการตรวจสุขภาพฟรีจากสถานพยาบาลชั้นนำ เวิร์กชอป ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ รวมถึงการยกระดับเวทีเสวนาให้เป็น “Health Forum” เปิดเวทีให้แพทย์ และ Speaker ระดับประเทศ มาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการป้องกัน การรักษา และนำเสนอนวัตกรรมทางการแพทย์ รวมถึงเรื่องราวสุขภาพในแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่จะมาให้อัปเดตตลอด 4 วันของการจัดงาน เดินทางสะดวกโดยทางด่วนและ MRT ลงสถานีสามย่าน ทางออกที่ 2
ลงทะเบียนเข้างานฟรี มีต้นไม้แจกด้วยนะ (จำนวนจำกัด)