ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2563 |
---|---|
คอลัมน์ | รายงานพิเศษ |
เผยแพร่ |
รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ
https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/
RPA ระบบอัตโนมัติตัวเร่งธุรกิจ
เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร
เทคโนโลยีเติบโตไม่หยุดยั้ง ระบบด้านซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย transform ธุรกิจให้อยู่รอด
การเดินหน้าผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนหลายบริษัทในหลากอุตสาหกรรม เป็นการปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางด้านเทคโนโลยี
หลายองค์กรมีการวางแผนรับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่เกิดขึ้น
ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต่างเร่งเครื่องเพื่อปรับเปลี่ยนให้อยู่รอดและสามารถเติบโตข้ามพ้นวิกฤต
หลายองค์กรจับมือผู้นำด้าน Robotic Processing Automation (RPA) ระดับโลกนำเสนอโซลูชั่น RPA ที่ทำให้การทำงานของธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ช่วยลดต้นทุนในกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร ตลอดจนนำมาเสริมการให้บริการ อาทิ Big Data, Internet of Things (IoT), Cloud, Artificial intelligence (AI), Blockchain ฯลฯ
รูปแบบการดำเนินธุรกิจของเราจะเปลี่ยนแปลง เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
รับมือความต้องการของลูกค้าที่จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติโดยใช้ซอฟต์แวร์ RPA และ AI เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของมนุษย์และช่วยการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
การออกแบบระบบ RPA เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าให้กับบุคลากรและระบบไปพร้อมกัน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
นี่เป็นหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญของการทำธุรกิจด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport & Logistics) เพราะช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานภายใน ช่วยลดต้นทุน และสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจในระยะยาว
โดยใช้พื้นฐานมาจากเทคโนโลยีกลุ่ม AI, IoT, Big Data และ Blockchain ผสานรวมระบบการทำงาน
เทคโนโลยีขั้นแรกที่หลายองค์กรนำมาใช้เป็นกลยุทธ์การปรับใช้ RPA เพื่อดำเนินธุรกิจ เช่น
กระบวนการเรียกเก็บเงิน
หนึ่งในความท้าทายสำคัญของการดำเนินธุรกิจคือการได้รับเงินโดยเร็วที่สุดหลังจากงานสำเร็จลุล่วงแล้ว
โดยปกติขั้นตอนในการเรียกเก็บเงินมีความซับซ้อนและใช้หลายระบบในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า
ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมต่อระบบการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ และส่งเอกสารใบแจ้งหนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ใช้ปรับกระบวนการสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงินให้เป็นแบบอัตโนมัติ หลายบริษัทอาจยังใช้กระบวนการเดิมๆ ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น ป้อนข้อมูลของลูกค้าแบบ manual แต่ด้วยประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมโยงฐานข้อมูลของลูกค้า ประมวลผลการเบิกจ่ายเงิน ส่งอีเมลยืนยัน และยื่นคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ
เชื่อมต่อซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เข้ากับพอร์ทัลลูกค้า เพิ่มความเร็วการออกใบแจ้งหนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำๆ บนระบบ หรือแนบข้อมูลเข้าไปกับใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองอีกต่อไป สามารถใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA ช่วยดึงข้อมูลพร้อมทั้งแนบไฟล์ POD ที่สแกนเรียบร้อยแล้วไปพร้อมกับใบแจ้งหนี้ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถอัพเดตข้อมูลดังกล่าวบนพอร์ทัลลูกค้าภายในไม่กี่วินาทีแทนที่แบบเดิมที่จะต้องเสียเวลาเป็นวันๆ
เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของลูกค้าด้วยคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ และช่วยติดตามสินค้าในคลัง ใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เพื่อช่วยตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้า/เว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกต้องและตรงกัน โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลคำสั่งซื้อในระบบการจัดการคลังสินค้า
ช่วยให้สามารถติดตามและตอบสนองกับลูกค้าได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น
RPA คือหุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำๆ มีปริมาณมากๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว
เช่น งานทางด้านป้อนข้อมูลเข้าระบบ งานบัญชี เป็นต้น
เพราะ RPA มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากจึงเป็นทางเลือกแรกที่ตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้เนื่องจากจะเข้าไปช่วยจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน อาทิ เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึก พวกใบสั่งซื้อสินค้า หรือเอกสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น
ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ RPA ยังช่วยให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้
ซึ่งองค์กรจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพของงานจากบุคลากรที่มีทักษะ และปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจาก RPA ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพได้อีกด้วย
ปัจจุบัน RPA และ Intelligent Automation มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมและองค์กรธุรกิจทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีหลายองค์กรที่ได้นำมาปรับใช้งานเพิ่มเติมและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โดยที่ผ่านมา Automation Anywhere ได้สร้าง bot มากกว่า 1.8 ล้าน เพื่อช่วยการทำงานของกิจการขนาดใหญ่ของโลกจำนวนมาก เราได้คาดการณ์ว่าการใช้งาน RPA จะมีมากขึ้นในอนาคต
การนำเอา RPA มาใช้เพื่อรองรับการเติบโตไม่เพียงแค่ธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์เท่านั้น แต่รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็น่าจะมีความต้องการใช้งาน RPA มากขึ้น
หลายธุรกิจในระดับภูมิภาคต่างก้าวผ่านขั้นตอนการใช้ RPA เพื่อช่วยธุรกิจไปแล้ว
และก็เริ่มประยุกต์ใช้แรงงานดิจิตอล ฝึกอบรมทักษะพิเศษที่จะเติมเต็มการทำงานของแรงงานมนุษย์ในส่วนงานที่ต้องทำซ้ำๆ และใช้เวลามาก ได้รวมเอาการบริการด้าน cloud AI เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาแรงงานดิจิตอล
สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำควบคู่ไปกับการใช้งาน RPA และ Intelligent Automation นั่นก็คือการพัฒนาคนและระบบการทำงานใshสอดคล้องไปกับ business new normal เมื่อ bot กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแต่มนุษย์ก็ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต้องพัฒนาให้บุคลากรได้ทำงาน
อย่างที่ทราบกันดีทั้งการใช้ bot, AI ต่างๆ ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานของพวกเราไปแล้ว ในอนาคตเราจะเห็นการทำงานร่วมกันระหว่างแรงงานดิจิตอลและแรงงานมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพให้ประสิทธิผลและมีความยืดหยุ่นมากกว่าขั้นตอนการทำงานที่เราเห็นในตอนนี้
แนวโน้มในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่จะนำ RPA หรือระบบกระบวนการทำงานอัตโนมัติโดย Bot หรือหุ่นยนต์อัจฉริยะมาดำเนินการทางธุรกิจด้านการให้บริการ RPA ที่มีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2562
และคาดว่าความต้องการในการใช้บริการด้าน RPA จะสูงขึ้นในปีนี้ หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาใช้งานเพื่อรองรับ New Normal หรือความปกติใหม่
เทคโนโลยี RPA สามารถสนับสนุนการทำงานขององค์กรในหลายแวดวงอุตสาหกรรมเพราะ RPA เป็นเทคโนโลยีที่เปิดทางให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถตั้งค่าซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์หุ่นยนต์มาทำหน้าที่ทดแทนมนุษย์
โดย RPA สามารถเลียนแบบและบูรณาการการกระทำของมนุษย์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบดิจิตอล เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทางธุรกิจได้ หุ่นยนต์ RPA โต้ตอบกับระบบต่อประสาน (user interface) เพื่อจัดการข้อมูลและแอพพลิเคชั่นได้เช่นเดียวกับที่มนุษย์ทำ
พร้อมตีความ ออกคำสั่ง และสื่อสารกับระบบอื่นๆ เพื่อการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ หลากหลายรูปแบบโดยไม่ต้องหยุดพักผ่อน
อีกทั้งยังไม่มีข้อผิดพลาดด้วย