รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/งัดกลยุทธ์ 5 G ระอุกลางปี ผ่าวิกฤตโควิด-19

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

งัดกลยุทธ์ 5 G ระอุกลางปี

ผ่าวิกฤตโควิด-19

 

เทคโนโลยี 5 G เป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นฟันเฟืองสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล (digital transformation) จากคุณสมบัติที่สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยความเร็ว ความแรง และความเสถียร ทำให้เทคโนโลยี 5 G ไม่ได้จำกัดการใช้งานเฉพาะกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

จีน สหรัฐ และเกาหลีใต้ ได้เปิดให้บริการในบางพื้นที่เรียบร้อย

สำหรับไทย เทคโนโลยี 5 G เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจในระยะยาว

ซึ่งทุกวันนี้โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 G เชื่อมโยงทุกอุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในอนาคต

การเตรียมความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 G ในภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการก่อนเปิดให้บริการ หลังจากการประมูล 5 G เพิ่งจะเสร็จสิ้นไปไม่นาน

แต่หลายผู้ประกอบการได้เดินหน้าโหมโปรโมตการเปิดโครงข่ายและผลักดันการใช้งานอย่างเต็มที่

 

นับจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ในประเทศเริ่มรุนแรงขึ้น เรามีแผนความพร้อมด้านเครือข่ายทั้ง Mobile และ Fibre รวมถึงช่องทางบริการ Online เพื่ออำนวยความสะดวก ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน สามารถทำงาน ทำธุรกิจ จากที่บ้านได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างแม่นยำ

ตลอดจนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายย่อยประสบปัญหาไม่สามารถขายสินค้าผ่านหน้าร้านปกติ (ออฟไลน์) ได้ และส่วนหนึ่งหันมาทำการค้าขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการขายผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-มาร์เก็ตเพลส) ผ่านเว็บไซต์ของตนเอง หรือผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นต้น

จึงเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการควรเร่งเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส สร้างระบบการค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

นักวิเคราะห์อาวุโสได้ระบุว่า บริการ 5 G เชิงพาณิชย์ที่จะเปิดใช้ในช่วงกลางปีนี้ จะทำให้เห็นการงัดกลยุทธ์ของแต่ละค่ายมือถือเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน

ถึงแม้ว่าวิกฤต Covid-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง แต่ค่ายมือถือยังคงเดินหน้าขยายโครงข่ายโทรคมนาคม 4 G/5 G เพื่อรับมือการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการทำงานที่บ้านและการเรียนแบบออนไลน์ของสถาบันการศึกษาต่างๆ

จึงเกิด WORKING FROM HOME ที่มีการทำงานหลากหลายโซลูชั่น โดยผสมผสานศักยภาพของเครือข่ายทั้งมือถือ 5 G และ 4 G รวมถึงเน็ตบ้าน พร้อมขีดความสามารถของผู้ให้บริการ ที่พร้อมจะสนับสนุนคนไทยทุกกลุ่ม ทั้งนักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ เจ้าของกิจการ องค์กรขนาดเล็กจนถึงใหญ่ ให้สามารถเดินหน้าทำงาน ทำธุรกิจ หรือเรียนหนังสือได้อย่างไร้รอยต่อ

ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มสื่อและบันเทิง สาธารณสุข และขนส่ง จะเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 G ในระยะแรก

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี 5 G ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยตื่นตัวและมองเห็นโอกาสในการพลิกโฉมธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับบริบทของโลก

ความได้เปรียบจากปริมาณคลื่นทั้ง 3 ย่านความถี่ที่เหนือกว่า อีกทั้งยังใกล้เคียงกับโอเปอเรเตอร์ในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่เพิ่งเปิดให้บริการ 5 G จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้ข้อมูลได้หลากหลายทั้งผ่านสมาร์ตโฟน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT การยกระดับระบบสาธารณูปโภค

ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดใช้ 5 G เชิงพาณิชย์ ประเมินว่าการแข่งขันด้านแพ็กเกจและราคาเพิ่มสูงขึ้น โดยจะเป็นการนำเสนอบริการที่หลากหลาย ทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ตโฟน fixed wireless boardband และสร้างความแตกต่างด้วยแพ็กเกจคอนเทนต์เพื่อการบันเทิงที่มีความละเอียดสูง ทั้ง streaming UHD, cloud gaming, virtual reality/augmented reality content

5 G ยังตอบโจทย์ความต้องการใช้ข้อมูลอย่างแท้จริงทั้งในส่วนของผู้ใช้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ใช้บริการในภาคอุตสาหกรรม

รวมถึงการนำเสนอการให้บริการที่สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกในการผลักดันให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5 G เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

 

ในด้านการลงทุนโครงข่ายก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

จากข้อมูลของ กสทช. EIC พบว่าในปี 2562 สถานีฐานของคลื่นความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านกลางมีจำนวนรวมกว่า 80,000 สถานี ซึ่งสูงกว่าคลื่นความถี่ย่านต่ำอย่าง 900 MHz ถึง 2 เท่าที่มีสถานีฐานรวมอยู่ราว 38,000 สถานี

ในส่วนการติดตั้งสถานีฐานของคลื่นความถี่ย่านสูง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเกาหลีใต้ประเมินว่า จำนวนสถานีฐานเพื่อรองรับการใช้งาน 5 G บนคลื่นความถี่ 28 GHz ทั้งในรูปแบบของเสาโทรคมนาคม (macro cell) และจุดรับ-ส่งสัญญาณ (small cell) จะมีมากกว่า 1 แสนจุดทั่วประเทศ

ขณะที่ผลการศึกษาของสมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (GSMA) พบว่าโอเปอเรเตอร์ที่ถือครองคลื่นความถี่ย่านกลางจำนวน 60 MHz ต้องติดตั้งจำนวนสถานีฐานสูงกว่ารายที่มีคลื่นจำนวน 100 MHz ราว 65% เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการใกล้เคียงกัน

ค่าบริการ 5 G ในเกาหลีใต้ที่เริ่มต้นราว 1,615 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าค่าบริการรายเดือนในระบบ 4 G ปัจจุบันราว 5% ทำให้มีผู้ใช้มากกว่า 2 ล้านเลขหมายใน 7 เดือนหลังเปิดให้บริการ 5 G หรือราว 3% ของจำนวนเลขหมายทั้งหมด

ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหมายเลขต่อเดือน (ARPU) เพิ่มสูงขึ้นราว 2% YOY

และคาดว่าจำนวนผู้ใช้บริการในระบบ 5 G จะแตะ 7 ล้านเลขหมาย หรือราว 10% ของจำนวนเลขหมายทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้