อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : วิกฤตที่ไม่เหมือนใคร

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

กว่า 6 เดือนยังไม่มีใครรู้ว่าโควิด-19 โรคระบาดใหม่จะระบาดต่อไปยาวนานแค่ไหน?

มีผู้คนเจ็บป่วยจำนวนเท่าไร?

มีคนติดโรคนี้มากน้อยแค่ไหน?

แต่ผลกระทบนานัปการทางเศรษฐกิจและการเมืองของโรคระบาดกำลังก่อตัวขึ้น

ในขณะที่มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลทั่วโลกกำลังสร้างความปั่นป่วนต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วโลก

ภาพกว้างที่เราควรเข้าใจอาจสรุปได้ดังนี้

 

การผลิต

หากเริ่มต้นที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศต้นกำเนิดโรคระบาด ตอนนี้การผลิตจ่อที่ต้นคอเพียงประเทศเดียว ในขณะที่ตอนนี้ ซัพพลายเชนโลกแตกสลายอย่างสิ้นเชิง แทบไม่ต้องการจินตนาการอะไรให้มากมายอะไร

“คลื่นแห่งการเป็นหนี้” กำลังก่อตัวหลายอุตสาหกรรมที่อันที่จริงก่อนเกิดโควิด-19 การเป็นหนี้มีบ้างแล้ว ทว่าโรคระบาดสามารถกระทบหลายๆ ประเทศ ข้ามทวีปมาสู่ประเทศโลกใต้ (Global South) และภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก โดยเศรษฐกิจถึงกลับพินาศ

นโยบาย “ล็อก” ของท้องถิ่นที่ทำให้คนงานเรือนล้านๆ คนในปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ อินโดนีเซียและไทย ไม่มีโอกาสกลับไปชนบทของตนและประเทศต้นทางเพื่อแม้แต่อยู่อาศัย และอาจทำให้มีการแพร่และเสี่ยงต่อการกระจายโรคเพิ่มมากขึ้น แม้เป็นเขตห่างไกลที่สุดและมุมที่ยากจนที่สุด

ในเวลาเดียวกัน การพังทลายของความต้องการบริโภค (Consumption Demand) เป็นเหตุให้สินค้าแบรนด์ระดับโลกถูกยุติการสั่งซื้อ ซึ่งกระทบผู้ผลิตสิ่งทอกลุ่มใหม่ในอินเดียหรือบังกลาเทศ การสกัดกั้นต่อขบวนการต่างๆ ในท้องถิ่น การยกเลิกเครือข่ายโลจิสติกส์และท่าเรือหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีนกระทบทั่วโลกไปยัง ห่วงโซ่อุปทานโลก การตัดตอนออกจากซับพลายของผู้ผลิตในมาเลเซียและสิงคโปร์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อการผลิตและการเอาคนงานออกจากงาน การค้าชายแดน

เช่น การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและสาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังถูกโจมตี

การล่มสลายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระทบไทย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

การจมลงทันทีของความต้องการสินค้าในจีนสั่นสะเทือนตลาดสินค้าทำร้ายผู้ส่งออกปาล์มน้ำมันอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย

ผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เช่นมองโกเลียซึ่งพึ่งพิงอย่างมากต่อตลาดจีนได้รับความเจ็บปวดแล้วด้วยผลจากสงครามราคาน้ำมันระหว่างรัสเซียและซาอุดีอาระเบีย

 

การตอบสนอง

รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตอนนี้ทันที

แต่เพราะว่าวิกฤตครั้งนี้ไม่ได้หมายถึง จำกัดอยู่แค่เศรษฐกิจ ความสามารถของรัฐบาลต่างๆ ในการปกป้องชีวิตและความเป็นอยู่ของพลเมืองของตนก็ได้รับการทดสอบด้วย และนำไปสู่อย่างน้อยความชอบธรรมพื้นฐานของรัฏฐาธิปัตย์

หลายทศวรรษแห่งนโยบายที่ประหยัดและระบบดูแลสาธารณสุขได้ไปอยู่ในระดับต่ำสุดของโครงสร้างของรัฐ

ประชาชนจำนวนมากห่วงใยต่อประเทศของพวกเขายังสามารถจัดการวิกฤตการณ์ของชาติ

และอะไรคือความสามัคคีกับคนอื่นๆ ที่เราอยู่ร่วมกันได้ยังเป็นคำถามใหญ่อยู่

 

ทิศทางของแต่ละประเทศ

น่าสนใจโรคระบาดครั้งนี้เรียกร้องการตอบสนองให้เกิดความร่วมมือทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศต่างผลักดันความพยายามของตนเอง แม้แต่ในยุโรปจะยังขาดความสามัคคี

ยุโรปยังมีวิกฤตเงินยูโรและวิกฤตผู้อพยพ (Refugee)

โดยเฉพาะอิตาลีรู้สึกว่าพันธมิตรของเขาไม่ได้สนใจอะไรเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากเท่าที่ควร

สาธารณรัฐประชาชนจีนได้อาศัยการขาดแคลนความสามัคคีระหว่างกันเองอย่างชาญฉลาดและส่งเครื่องบินบรรทุกหน้ากากอนามัย เครื่องมือทางการแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยอิตาลี กลายเป็นว่า ประเทศที่เป็นพันธมิตรของยุทธศาสตร์ ข้อริเริ่มแถบและถนน (Belt and Road Initiative-BRI) ของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เชื่อมโครงข่ายทั้งการขนส่งทางราง ทางเรือ การค้าและการลงทุนในทวีปยุโรปด้วย

ในเวลาเดียวกัน เยอรมนีกลับเชื่อมั่นต่อภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-politics) ของ ทวิวิกฤต คือ โควิด-19 และผู้อพยพ อีกทั้งเยอรมนียังกังวลกับความพยายามต่างๆ ของมหาอำนาจภายนอกที่แบ่งแยกยุโรป ส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก องค์กรภูมิภาคกำลังก้าวขึ้นมาเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอนุมัติการก่อตั้งกองทุนภูมิภาค (Regional Fund) เพื่อตอบสนองวิกฤตโควิด-19 เหมือนกับกองทุนฉุกเฉินที่ใช้กับองค์กรภูมิภาคเอเชียใต้นั่นคือ South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC)

มีข้อน่าสังเกตเรื่องความร่วมมือระดับภูมิภาคและการจัดตั้งกองทุนภูมิภาคทั้งในยุโรปและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

กล่าวคือ ความร่วมมือในยุโรปนับว่าเป็นไปได้ยากเพราะนอกจากข้อเท็จจริงข้างต้นที่ชี้ให้เห็นว่า แต่ละประเทศต่างมีประเด็นวาระและวิธีการจัดการวิกฤตโควิดที่เป็นเอกเทศและต่างคนต่างทำทั้งๆ ที่ยุโรปมีองค์กรและกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ ถึงจะมีวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ประวัติแห่งความสามัคคีด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกล้วนไม่ประสบความสำเร็จเลย

เช่น SAARC องค์กรความร่วมมือภูมิภาคในเอเชียใต้ที่ก่อตั้งมานาน แต่ความขัดแย้งทางการเมืองทั้งเชื้อชาติและศาสนาในภูมิภาคเอเชียใต้ก็มิได้ลดลงเลย

ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิก หากยกตัวอย่างประชาคมอาเซียนองค์กรภูมิภาคที่ก่อตัวมานาน ความสำเร็จที่อ้างถึงน่าจะเป็นเวทีที่ขาดไม่ได้ของภูมิภาค เป็นองค์กรที่ชาติมหาอำนาจภายนอกให้ความสำคัญ ที่สำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจอันเกี่ยวเนื่องกับการบูรณาการทางเศรษฐกิจอาจมีผลที่อ้างอิงได้ แต่อาเซียนโดยเฉพาะกองทุนภูมิภาค ไม่เคยประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นกองทุนอาเซียนที่ตั้งขึ้นแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997

ดังนั้น วิกฤตที่ไม่เหมือนใครและใหญ่โตมหาศาลไปทั่วโลกครั้งนี้ กองทุนอาเซียนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาย่อมไม่น่ามีความหมายอะไรมากเท่ากับสัญลักษณ์ของความสามัคคีในภูมิภาค

 

น่าสนใจมาก โควิด-19 เติมไฟสุ่มความขัดแย้งเพื่อ “ความเป็นใหญ่” ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหรัฐอเมริกา

ขณะนี้มี ทวิฉันทานุมัติ ในสหรัฐอเมริกาคือ อันหนึ่ง “ปลีกตัวออก” ออกจากเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อจะได้ไม่ไปเพิ่มความแข็งแกร่งการเป็น “คู่แข่งขัน” ต่อการเป็น “ความเหนือสุด” ให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยเงินและเทคโนโลยีของจีน

บรรษัทต่างๆ ที่มีตำแหน่งระดับโลก ตอนนี้ต้องการการประกอบอีกครั้ง (re-assemble) ของซัพพลายเชนในชั่วข้ามคืน ผู้บริหารบรรษัทเหล่านี้จะกลับไปทำการผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวิกฤตผ่านพ้นไปแล้วหรือ?

ต่อจากนี้ไป ผู้บริหารบรรษัทจะต้องคิด 2 ชั้นว่า จะละเลยระเบียบก้าวย่างทางภูมิรัฐศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา นี่อาจนำเสนอโอกาสใหม่และสำคัญสำหรับเศรษฐกิจใหม่อย่างประเทศเวียดนามหรืออินเดียบ้างก็ได้

คนตกงานฉับพลันเป็นล้านๆ ทั่วโลกและกลับไปอาศัยในชนบทและบ้านของตัวเองก็ไม่ได้ ผู้ส่งออกสิ่งทอ โภคภัณฑ์จากประเทศเศรษฐกิจใหม่ไปตลาดจีนล้มละลาย คลื่นการเป็นหนี้ปรากฏไปทั่วโลก ซัพพลายเชนโลกแตกสะบั้น ทวิฉันทานุมัติ ระหว่าง “การประกอบอีกครั้ง” ของการผลิตอุตสาหกรรมของโรงงาน และ การปลีกตัวออก จากเศรษฐกิจจีนไปเลย ยังนำไปสู่ระเบียบโลกใหม่หลังโควิด-19 ทั้งหมดเป็นสภาพการณ์แห่งวิกฤตที่ไม่เหมือนใคร ยิ่งกว่านั้น โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

โลกไม่เหมือนเดิม