2020 : ผลกระทบโลกและไทย หลังสหรัฐลอบสังหาร ผบ.อิหร่าน

ตามที่สื่อทั่วโลกรายงานว่าสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์เป็นผู้สั่งการให้ลอบสังหารนายพลคัสเซม โซไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยปาเลสไตน์ของอิหร่าน และทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 8 ราย

การลอบสังหารครั้งนี้ในโลกคนทำงานการเมืองโลกตั้งคำถามว่าอะไรคือสิทธิโดยชอบในการลอบสังหารผู้นำของชาติอธิปไตยอื่นโดยเปิดเผย?

การกระทำอันละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ? คนอเมริกัน รัฐสภาอเมริกา ก็ต่อต้านเรื่องนี้

ซึ่ง ศ.ดร.John Holt นักวิจัยการจัดการความขัดแย้งจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศอเมริกา ได้ยืนยันเรื่องนี้ต่อผู้เขียนขณะที่ท่านให้สัมภาษณ์ผู้เขียน เรื่องความขัดแย้งระหว่างพุทธ-มุสลิม

ผลจากการกระทำของทรัมป์ครั้งนี้ แน่นอนที่สุดจะส่งผลให้อุณหภูมิการเมืองโลกร้อนระอุอย่างแน่นอน (ตลอดปี 2020)

เพราะอิหร่านเองคงออกมาตอบโต้ทางการเมืองและทางการทหารอย่างแน่นอน

ส่วนจะตอบโต้อย่างไรนั้น อาจมีหลากหลายรูปแบบ

เช่น ฐานทัพอเมริกาในอิรัก ตะวันออกกลาง หรือทั่วโลก จะต้องโดนอย่างแน่นอน

โดยข่าวล่าสุดรัฐสภาอิรักลงมติให้อเมริกาถอนทหารออกจากอิรักมีการประกาศค่าหัวทรัมป์ 2,400 ล้านบาท

พันธมิตรอันใกล้ชิดอเมริกา เช่น อิสราเอล น่าจะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะโดน (อย่าลืมว่าอิหร่านมีศักยภาพในการยิงอาวุธถึงอิสราเอล)

สถานทูตอเมริกาในตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศไทยเองต้องระวังตัวระดับสูงสุด อาจมีการประท้วงหน้าสถานทูตอเมริกัน คนอเมริกาทั่วโลกรวมทั้งในไทยเช่นกันต้องระวังตัว

ซึ่งในประเทศไทยต้องยอมรับว่ามีมุสลิมที่พร้อมอยู่กับอิหร่านไม่น้อย โดยเฉพาะนักวิชาการชีอะฮ์ในไทยเริ่มออกมาประณามอเมริกาออกสื่อ

ในโลกโซเชียล วงการมุสลิมไทยได้มีการแชร์ต่อปฏิกิริยาความไม่พอใจอเมริกาในปฏิบัติการครั้งนี้ และเห็นใจ เข้าใจอิหร่าน

ผลกระทบอันนี้จะส่งผลต่อทุกรัฐบาลทั่วโลก ดังนั้น อาจมีคำสั่งในการรักษาความปลอดภัยต่อเรื่องนี้เป็นพิเศษอย่างปฏิเสธไม่ได้

ในขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกต้องมีอย่างแน่นอน

เพราะขณะนี้น้ำมันโลกเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และไทยเองก็คงหนีไม่พ้นด้วยเช่นกัน ท่ามกลางภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่แย่อยู่แล้ว

สำหรับองค์กรนานาชาติ โดยเฉพาะสหประชาชาติ หากไม่สามารถบริหารความขัดแย้งนี้ได้ โลกเราคงปฏิเสธอาฟเตอร์ช็อกครั้งนี้ได้ อยาก และรัฐบาลไทยก็ต้องรีบประเมินผลกระทบทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งนี้ให้ดีๆ เช่นกัน

ดร.อิลยาส หญ้าปรัง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แนะนำว่า “อิหร่านควรตั้งมั่นอยู่ในความสงบ” ด้วยเหตุผลว่าอิหร่านเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางซากปรักหักพังจากน้ำมือของสหรัฐและอิสราเอล

อิรัก ซีเรีย เยเมน ลิเบีย ปาเลสไตน์ ล้วนบ้านแตกสาแหรกขาด ชะตากรรมของผู้คนน่าสงสารเป็นที่สุด ผู้หญิง เด็ก แม่ลูกอ่อน ออกมาเร่ร่อนขอทานเต็มถนน ในจอร์แดน กาตาร์ ฯลฯ หมดอนาคต ใช้เวลาอีกเป็นร้อยปีในการสร้างขึ้นมาใหม่

แม้จะถูกสหรัฐปิดล้อมทางเศรษฐกิจมากกว่า 40 ปี และการปิดล้อมรอบใหม่ในปี 2018 ที่ผ่านมา ที่ทรัมป์เรียกว่า “การปิดล้อมขั้นสูงสุด (Maximum pressure)” การปิดล้อมครั้งนี้หนักขนาดพรมที่ถักโดยชาวบ้านธรรมดาๆ ก็ไม่สามารถส่งไปขายนอกประเทศได้ (สหรัฐมีกฎหมายห้ามบริษัทอเมริกันค้าขายกับประเทศที่ถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจ ข้อห้ามนี้หมายรวมถึงบริษัทอื่นที่ไม่ใช่อเมริกันด้วย และเนื่องจากสหรัฐคุมระบบการเงินโลก เช่น ถ้าบริษัทในมาเลเซียค้าขายกับอิหร่าน ต้องจ่ายเงินผ่านสถาบันการเงิน ถ้าสหรัฐตรวจพบ บริษัทนั้นจะถูกแบล็กลิสต์และไม่สามารถทำการค้าขายกับสหรัฐได้ อีกทั้งต้องโดนจับเข้าคุกด้วย)

แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้อิหร่านอ่อนแอลงเลย

อิหร่านเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ไปช่วยบาชาร์ อัล อัสซาด รบในซีเรียจนได้รับชัยชนะ

ช่วยฮูซีรบในเยเมนก็เล่นเอาซาอุฯ และพันธมิตรซะอ่วม

รบกับไอซิสในอิรักก็ชนะ ซ้ำยังเข้าควบคุมการเมืองในอิรักอีกด้วย

ปีก่อนหน้านั้นจับนาวิกโยธินสหรัฐสิบกว่าคนออกทางทีวี

ยึดเรืออังกฤษที่ไปยึดเรืออิหร่านก่อน สอยโดรนของสหรัฐ ฯลฯ

อิหร่านจับมืออย่างแน่นกับตุรกี กาตาร์ รัสเซีย (ที่กำลังปิดล้อมยุโรปจนหายใจติดขัดอยู่ปัจจุบัน)

และจากที่เคยบาดหมางอย่างหนักกับปากีสถานในเรื่องชีอะฮ์ (มัสยิดของชาวชีอะฮ์มักถูกลอบวางระเบิดเสมอ) ก็กลับคืนดีกันอย่างชื่นมื่น โดยสองเดือนที่แล้วนายกฯ อิมรอน ข่าน เยือนอิหร่านและเข้าเยี่ยมผู้นำสูงสุด

อิหร่านขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว และ diplomatically smart ยากที่จะโค่นอิหร่านดังที่โค่นซัดดัม ฮุสเซน

ทางเดียวที่จะทำให้อิหร่านอ่อนแอ คือทำสงครามใหญ่กับอิหร่าน และต้องสร้างความขัดแย้งในสเกลในลักษณะระเบิดตึกเวิลด์เทรด

สเกลแบบนี้มีเพียงการลอบฆ่าอิหม่าม คามาเนอี หรือนายพลกอซิม สุไลมานเท่านั้น

เมื่ออิหร่านทำสงครามแบบเผชิญหน้า อิหร่านจะย่อยยับแบบอิรัก (แน่นอน อเมริกาย่อมสูญเสียแต่ไม่เท่าอิหร่าน)

และจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐ อิสราเอล และซาอุฯ อีกต่อไป

ถ้าอิหร่านจะ survive ซึ่งแน่นอน they will อิหร่านต้องไม่ตกหลุมพรางนี้ อิหร่านต้องกวนสหรัฐไปเรื่อยๆ

ปฏิบัติการแบบ low intensity warfare ยืดเยื้อ ไม่ต้องรีบ อาจไม่ถูกใจขาเชียร์ แต่สหรัฐไม่เคยชนะในสงครามแบบนี้

ใต้ภูเขาน้ำแข็งที่โผล่มาเป็นอิหร่านขัดแย้งกับสหรัฐ มีความใหญ่โตมโหฬารของการ struggle ภายในโลกซุนหนี่-ชีอะฮ์ และการขึ้นมาของอำนาจชีอะฮ์ ควรเลิกพูดเรื่องสงครามโลกครั้งที่สาม แล้วไปหาอ่านหนังสือเล่มชื่อ The Shia Revival : How Conflicts within Islam Will Shape the Future อ่านสนุก

เขียนโดย Vali Nasr เป็นอาจารย์ ที่ John Hopskins เป็นคนเชื้อสายอิหร่าน