E-DUANG : สงครามชิงพื้นที่ มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์

ไม่ว่าประเด็นในทาง “การเมือง” ไม่ว่าในประเด็นในทาง”วัฒนธรรม” ล้วนสัมพันธ์กับ “พื้นที่”
​ขอให้ศึกษาจากเรื่อง “ปรองดอง”
​พอเอาเรื่องของ “พื้นที่” เข้าไปจับก็จะตอบได้ว่า ใครอยู่ในฐา นะเป็น “เจ้าของ”
​ไม่ใช่ “พรรคการเมือง” อย่างแน่นอน
​มองผ่านพื้นที่ของ “คำสั่ง” มองผ่านพื้นที่อันปรากฏภายในแต่ละรายชื่อของ “คณะกรรมการ”
​ไม่ใช่ “พรรคการเมือง” อย่างแน่นอน
​อย่าได้แปลกใจที่จะคลาคล่ำไปด้วยบุคคลใน”เครื่องแบบ”โดยเฉพาะ “ทหาร”
​ขณะเดียวกัน หากเป็น”นักวิชาการ”ก็คุ้นๆ
​คุ้นตั้งแต่ชื่อ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ไปยังชื่อ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
​”การเมือง”เป็นเช่นนี้ “วัฒนธรรม”ก็เป็นเช่นนี้

ขอให้ดูจุดต่างระหว่างบรรยากาศแห่ง”วันมาฆบูชา” กับบรรยากาศแห่ง “วันวาเลนไทน์”
​ที่มีส่วนกำหนดมิได้เป็นเรื่องทาง “ความคิด”
​ตรงกันข้าม ยังเป็นเรื่องในทาง “เศรษฐกิจ” และเป็นเรื่องใน ทาง “วัฒนธรรม”
​”วัฒนธรรม” อันสัมพันธ์กับ “พื้นที่”
​ทุกครั้งที่เดือนกุมภาพันธ์เดินทางมาเยือน การแย่งชิง”พื้นที่” ระหว่าง “วันมาฆบูชา” กับ “วันวาเลนไทน์” ก็ปะทุขึ้น
​ทวีความดุเดือด แหลมคม เป็นลำดับ
​น่าสนใจก็ตรงที่ “วันมาฆบูชา” ถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่แต่เพียงภายใน “วัด”
​ไม่ว่า”พิธีกรรม” โดยเฉพาะ”การเวียนเทียน”
​ตรงกันข้าม “วันวาเลนไทน์” สามารถออกมาจาก “โบสถ์”และเข้าไปแย่งยึด “พื้นที่” ได้อย่างกว้างขวาง
​”พื้นที่” ต่างหากที่เป็น “ตัวกำหนด”

ความคึกคักของ “วันวาเลนไทน์” ไม่เพียงแต่สามารถแปรเป็นงาน ในลักษณะของ “อีเวนท์” ได้อย่างคึกคัก
​หากทำได้ทั้งแม้กระทั่งใน”สถานบันเทิง”
​เกือบทุกปี บรรยากาศ “วันวาเลนไทน์” คือจุดขาย 1 ของโรง แรมและสถานบันเทิง
​แม้กระทั่งใน “อุทยานแห่งชาติ”ก็จัดได้
​ยิ่งกว่านั้น “วันวาเลนไทน์” ได้รุกเข้าไปยึดครอง “พื้นที่”ในสื่อ ไม่ว่าจะเป็น”สื่อกระดาษ” ไม่ว่าจะเป็น”สื่อกระจก”
​การส่ง “การ์ด” ถึงกัน การอาศัย”ดอกกุหลาบ”เป็นเสมือนสื่อกลาง “พื้นที่” ทางสังคมจึงตกอยู่กับ”วันวาเลนไทน์”
​ระยะ 2-3 ทศวรรษหลังจึงเป็นการยึดครองของ”วันวาเลนไทน์” ที่เหนือกว่า “วันมาฆบูชา”
หากประเมินจาก “พื้นที่” ที่แย่งชิงมา