คุยกับทูต เอฟรอน ดาเดเลน อักกุน | Operation Peace Spring

ระบบระหว่างประเทศกำลังมีการเปลี่ยนผ่านอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และความไม่แน่นอนก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของตุรกีก็ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอเปราะบาง ขาดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่อย่างที่ทราบโดยทั่วกัน ทำให้ประเทศตุรกีได้รับผลกระทบจากความผันผวนนี้มากที่สุด

เนื่องจากวันอังคารที่ 29 ตุลาคมนี้ตรงกับวันชาติตุรกี นางเอฟรอน ดาเดเลน อักกุน(H.E. Mrs. Evren

Dagdelen Akgun เอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับปฏิบัติการ “Operation Peace Spring” ของตุรกี

“ตุรกียังคงเป็นป้อมปราการแห่งสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองต่อไป เนื่องจากความสามารถและวิธีการของเราได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีนโยบายต่างประเทศในแบบกล้าได้กล้าเสียอย่างไม่ลังเลทั้งเรื่องการริเริ่มและมนุษยธรรม โดยการชี้นำจาก มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค (Mustafa Kemal Atatürk) ซึ่งแสวงหาสันติภาพบ้าน สันติภาพโลก (Peace at Home, Peace in the World)”

“สำหรับปัญหาระดับโลกจะสามารถแก้ไขได้ก็ด้วยความร่วมมือระดับโลกเท่านั้น เป็นที่เข้าใจได้

ว่า ขณะนี้ เรา ตุรกี เป็นผู้นำหรือจะเป็นผู้บุกเบิกกลุ่มภูมิภาคต่าง ๆในเอเชีย เช่น การเจรจาความร่วมมือเอเชีย (ACD) เราจะยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในหลาย ๆ แพลตฟอร์มรวมถึง G-20, สภายุโรป, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE), องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) และอื่น ๆ ส่วนความร่วมมือคู่เจรจาเฉพาะด้านอาเซียน (ASEAN) ซึ่งประเทศไทยเป็นประธานในปัจจุบัน เป็นกลไกที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างสูงโดยหวังว่าจะดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมและร่วมมือกันอย่างแข็งขัน”

“ข้าพเจ้ามีตวามยินดีที่จะกล่าวว่า การเยือนไทยของนายเมฟเลิต ชาวูโชลู (H.E. Mr. Mevlüt

Çavuşoğlu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐตุรกี เพื่อร่วมการประชุมไตรภาคีในบริบทของคู่เจรจาเฉพาะด้านของอาเซียนในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 52 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่จะช่วยผลักดันความสัมพันธ์นี้”

“ข้าพเจ้าขอพูดถึงความริเริ่มใหม่ที่เราเปิดตัวเรียกว่า ‘Asia Anew’ เป้าหมายก็เพื่อเสริมสร้าง

ความสัมพันธ์ของเรากับพันธมิตรในเอเชีย ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากเรายังคงสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับเอเชียแปซิฟิกต่อไป อีกทั้งการค้าของเราได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมากับภูมิภาคนี้”

“จากความพยายามทั้งหมดของเรา เราเห็นว่า หนึ่งในความต้องการเร่งด่วน สำหรับโลกยุคโลกาภิวั

ตน์ คือวิธีการที่จะทำให้เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน”

“ในฐานะที่ตุรกีมีบทบาทอันหลากหลายในเรื่องนี้ด้วย ดังนั้นหนึ่งในหลายๆเรื่องที่ข้าพเจ้าต้องการ

เน้นคือ การให้ความช่วยเหลือผู้คนด้านการพัฒนาและมนุษยธรรม จากแอฟริกาถึงอเมริกาใต้ จากตะวันออกกลางสู่เอเชีย ซึ่งในความเป็นจริง ตุรกีเป็นหนึ่งในผู้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯและสูงกว่าสหรัฐฯ 25 เท่าหากพิจารณาจาก จีดีพี (GDP)”

“ปัจจุบัน ตุรกีมีผู้ลี้ภัยมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วยจำนวน 4.3 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาว

ซีเรียประมาณ 3.6 ล้านคน และ 300,000 คน เป็นชาวเคิร์ดในซีเรีย (Syrian Kurds)”

“วิกฤตภายในซีเรีย มีผลกระทบที่ชายแดนของเราเกือบจะเป็นปีที่เก้าแล้ว เกิดผลเสียมากมายโดย

เฉพาะอย่างยิ่งด้านมนุษยธรรมเพราะมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศหรือเป็นผู้ลี้ภัย”

“แน่นอนว่าไม่มีประเทศใดได้รู้สึกถึงความเจ็บปวดจากวิกฤตินี้อย่างใกล้ชิดหรือรุนแรงกว่า

ประเทศตุรกีซึ่งมีพรมแดนติดกับซีเรียยาว 900 กิโลเมตร เราได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยชาวซีเรียหลายล้านคนให้รอดพ้นจากความขัดแย้งและได้รับการปลดปล่อยจากผู้ก่อการร้าย เราดูแลผู้ลี้ภัยหลายล้านคนโดยให้การศึกษา การบริการด้านสุขภาพ และที่พักอาศัย มีค่าใช้จ่ายถึง 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือแต่เพียงเล็กน้อยจากชุมชนนานาชาติ”

“ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งที่มีมายาวนานกว่าทศวรรษนี้ ผลที่ตามมาจากวิกฤติ ทำให้เกิดองค์กร

ก่อการร้ายหลายแห่งในซีเรียชายแดนตุรกี การคุกคามของผู้ก่อการร้ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติของตุรกีจากกลุ่ม PKK / PYD / YPG และ DAESH ข้าพเจ้าคิดว่า เราจะต้องมีความเข้าใจเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า เหตุใด Operation Peace Spring ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงเป็นปฏิบัติการเพื่อกำจัดภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายที่มีต่อความมั่นคงแห่งชาติของเรา” ท่านทูตเอฟรอน ดาเดเลน อักกุน กล่าว

“มีความพยายามทางการทูตล่วงหน้ามากมายในส่วนของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างเขตปลอดภัยที่

บริเวณชายแดนของเรา อย่างไรก็ตามกลุ่ม PYD / YPG ยังคงได้รับอาวุธหนักอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติการดำเนินไปตามสิทธิของเราในการป้องกันตนเองภายใต้มาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) และตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSCR) ที่เกี่ยวข้อง และด้วยความเคารพอย่างสูงต่อบูรณภาพแห่งดินแดนและความเป็นปึกแผ่นทางการเมืองของซีเรีย”

“ขอย้ำว่าปฏิบัติการนี้มีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยชาวซีเรียจากความรุนแรงและการกดขี่ขององค์กร

ก่อการร้าย และอีกประการหนึ่ง คือการปูทางให้ชาวซีเรียกลับบ้านโดยสมัครใจและอย่างปลอดภัย แต่มีข่าวเท็จและบิดเบือนมากมายเกี่ยวกับปฏิบัติการนี้แพร่กระจายโดยกลุ่มก่อการร้ายหรือผู้สนับสนุนพวกเขา เช่นมีภาพถ่ายของแม่ที่ร้องไห้กับลูก ๆ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว หรือรูปภาพของผู้คนในอาเลปโป (Aleppo) เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผยแพร่ในสื่อต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการนี้แต่อย่างใด ตัวอย่าง ตุรกีไม่มีอาวุธเคมีในคลัง เพราะโฆษณาชวนเชื่อไร้ขีดจำกัด แน่นอน ตุรกีได้ระมัดระวังอย่างที่สุดเพื่อไม่ให้พลเรือนได้รับอันตราย โดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติและประเทศอื่น ๆ”

“ข้าพเจ้าจึงขอเสนอบทความของ นายเมฟเลิต ชาวูโชลู (H.E. Mr. Mevlüt Çavuşoğlu) รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งได้สรุปเรื่องนี้ไว้ทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องที่เกิดขึ้นจริงบนภาคพื้นดินและเพื่อแยกข้อเท็จจริงออกจากนิยาย ดังต่อไปนี้”

“เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งเมื่อปฏิบัติการทางทหารที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกีถูก

นำไปใส่สีตีไข่ในสื่อของสหรัฐอเมริกาว่าประเทศตุรกีผู้เป็นทำร้ายชาวเคิร์ด”

“ซึ่งข่าวนั้นได้มีผลกระทบในด้านลบต่อการจู่โจมกบฎดาเอซ (Daesh) หรือที่เรีกว่า กลุ่มติดอาวุธรัฐ

อิสลาม และการกระทำเช่นนั้นก็ยังได้ทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อพันธมิตรเป็นอย่างมากอีกด้วย”

“ผมมีความประสงค์ที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดระยะเวลากว่า 67 ปีของการ

เป็นพันธมิตรในกลุ่มองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ระหว่างตุรกีและสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบชั่วครั้งชั่วคราว และไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบหวังผลทางการค้า”

“ประเทศตุรกีปฏิบัติการทางทหารนี้เพื่อรักษาความปลอดภัยของชาติ โดยการกำจัดความ

เสี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่อยู่ในแนวเส้นพรมแดน ปฏิบัติการทางทหารนี้จะปลดปล่อยชาวซีเรียที่อาศัยอยู่บริเวณเส้นพรมแดนจากอำนาจการปกครองแบบเผด็จการของกลุ่มผู้ก่อการร้าย อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางด้านอาณาเขตและทางด้านการเมืองของซีเรีย ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นจะช่วยให้ชาวซีเรียที่พลัดถิ่นกลับบ้านของตนอย่างปลอดภัยและโดยสมัครใจอีกด้วย”

( Behçet Alkan – Anadolu Ajansı )

“ประเทศตุรกีไม่เคยเห็นด้วยกับการที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายใช้บริเวณแนวเส้นพรมแดนเป็นแหล่งกบดาน พวกเราได้เสนอโครงการเขตปลอดภัยหลายครั้ง ทั้งเสนอโครงการนี้ไปยังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ พร้อมทั้งขอให้สหรัฐอเมริกาหยุดส่งอุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย”
“แต่หน่วยงานราชการด้านความปลอดภัยของสหรัฐฯดูเหมือนจะไม่สามารถหยุดที่จะมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่เรารู้จักในนาม P.Y.D./Y.P.G. ได้เลย ถึงแม้เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯเอง รวมไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมายอมรับว่า P.Y.D./Y.P.G เป็นการรวมตัวของกลุ่มแกนนำหลักของกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย โดยกลุ่มนี้ได้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (Kurdistan) หรือ P.K.K ในประเทศตุรกี โดยสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและ NATO เองก็คิดว่ากลุ่ม P.K.K เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย”
“ตัวแทนเจรจาชาวอเมริกันเห็นด้วยว่าจะต้องปลดกองกำลังที่ตั้งฐานซึ่งอยู่ระหว่างเส้นพรมแดนของพวกเรา และพวกเราจะต้องเจรจาตกลงในเรื่องระยะเวลาดำเนินการนั้น จากการเจรจาระหว่างกองทัพทหารครั้งล่าสุดได้ข้อสรุปว่า จะสร้างเขตปลอดภัย และกลุ่ม P.Y.D./Y.P.G จะต้องออกจากพื้นที่ แต่สหรัฐฯเหมือนจะไม่เห็นด้วย อีกทั้งทำให้พวกเราคิดว่า การเจรจาเป็นเพียงแค่การฆ่าเวลาเท่านั้น เพราะกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้เข้าบุกรุกประเทศซีเรียมากยิ่งขึ้น”
“ถึงแม้กลุ่ม P.Y.D./Y.P.G จะแสดงตนว่า เป็นกลุ่มต่อสู้กลุ่มดาเอช แต่แท้ที่จริงแล้ว กลับทำการลักลอบขนส่งวัตถุระเบิดไปให้กลุ่ม P.K.K.โดยการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในประเทศตุรกี”

“เดือนพฤศจิกายน ปี 2017 ผู้สื่อข่าว BBC ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับข้อตกลงลับที่อนุญาตให้กองกำลัง

ประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) จัดยานพาหนะให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายดาเอชกว่า100 คนหลบหนี ระหว่างปฏิบัติการร่วมเพื่อที่จะช่วยปลดแอกให้กับเมืองรอกเกาะห์ (Raqqa)”
“เราตอบโต้ หลายฝ่ายได้กังวลถึงความปลอดภัยของชาวตุรกีที่อาศัยอยู่ในประเทศซีเรีย ผมอยาก

จะพูดอีกครั้งโดยเน้นว่า เรา ประเทศตุรกีไม่ได้ต่อสู้กับชาวเคิร์ด แต่เราต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ฉะนั้นการที่มีข่าวว่า คนตุรกีต่อสู้กับชาวเคิร์ดนั้น เป็นการกล่าวหาและไม่เป็นเรื่องจริง ชาวเคิร์ดไม่ใช่ศัตรูของพวกเรา”
“จุดประสงค์ในการสู้ของเราคือ ความซับซ้อนของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่บัญชาการโดยพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน และกลุ่ม P.Y.D./Y.P.G. ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการร้ายนี้ได้นำเด็กมาฝึกรบ ขู่จะทำร้ายหากไม่เห็นด้วย ทำการพรากจากถิ่นบ้านเกิดและบังคับให้เกณฑ์ทหารภายใต้การบังคับบัญชาของตน”
“ชาวเคิร์ด ชาวอาหรับ ชาวคริสเตียน และประชาชนอีกหลายกลุ่มได้รับความเดือดร้อนภายใต้อำนาจของกลุ่ม P.Y.D./Y.P.G.พวกเขาจะมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หากไม่มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายเข้ามาสร้างความเดือดร้อน สมาชิกสภาแห่งชาวคริสเตียนอาราเมียน (World Council of Aramaean Christians) ยืนกรานเห็นด้วยกับเรื่องนี้บ่อยครั้ง”

“ก่อนที่จะดำเนินการทางทหารในครั้งนี้ พวกเราได้ดำเนินการตามมาตรการอื่นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจ

ส่งผลต่อพลเรือนและป้องกันการเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรม ตุรกีได้ให้ที่พักกับกลุ่มผู้ลี้ภัยจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย รวมถึงชาวอาหรับ ชาวเคิร์ด และชาวเติร์กเมนิสถานมาเป็นเวลาหลายปี”
“ผู้อพยพส่วนมาก ซึ่งรวมถึงชาวเคิร์ดกว่า 300,000 คนถูกขับไล่ให้ทิ้งบ้านเมืองของตนโดยกลุ่มผู้ก่อการร้าย พวกเราได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ให้ความปลอดภัย ให้ที่พัก และสนับสนุนให้มีการดำรงชีพในประเทศตุรกี พวกเราได้แบ่งอาหารและสวัสดิการของภาครัฐแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านั้น ตุรกีเป็นประเทศที่ใช้เงินในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มากที่สุดในโลก อีกทั้งยังให้ที่พักกับผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลกอีกด้วย”

“ประเทศตุรกีได้สร้างแบบอย่างของประเทศที่สามารถพึ่งพาได้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การปฏิบัติการ

ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศซีเรีย ในปี 2016-7 อีกทั้งยังมีปฏิบัติการที่ตำบลชราบุลัส (Jarabulus) และในปี 2018 ที่อาฟริน (Afrin) เพื่อที่จะขับไล่กลุ่มผู้ก่อการร้ายออกจากพื้นที่ หลังปฏิบัติการทางทหารในครั้งนั้น ชุมชนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ดำเนินชีวิตโดยปกติสุขและได้รับผลประโยชน์จากการปกครองที่เป็นระบบ อีกทั้งผู้ลี้ภัยกว่า 365,000 คนได้เดินทางกลับบ้านเกิดของตนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ”

“พวกเรามีสวัสดิการจากภาครัฐ รวมถึงโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่นักเรียนมากกว่า 230,000 คน

โรงพยาบาล 6 แห่งที่มีรถพยาบาล 55 คันที่พร้อมให้บริการ ซึ่งโรงพยาบาลทั้ง 6 แห่งนั้นได้สร้างอาชีพให้กับชาวซีเรียและตุรกีที่อาศัยอยู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือกว่า 2,000 คน มีแหล่งให้ความความบันเทิงและสถานที่อำนวยความสะดวกทางด้านกีฬา อย่างเช่น สนามฟุตบอล ประชาชนในบริเวณนั้นสามารถกลับไปดำเนินธุรกิจของตน อีกทั้งยังมีการเปิดเส้นพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าอีกด้วย เกษตรกรผู้เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ก็ได้รับการสนับสนุนในรูปแบบอุปกรณ์ที่รัฐได้จัดสรรไว้ให้”

“หากเปรียบเทียบระหว่างปฏิบัติการทางทหารของตุรกีกับการเข้าทำลายล้างที่เมืองรอกเกาะห์

(Raqqa)โดยกลุ่มปฏิบัติการร่วมที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่า พวกเราดำเนินการอย่างระมัดระวังในการรับมือกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย การเรียนรู้จากความผิดพลาดจากปฏิบัติการทางทหารในครั้งก่อนได้สอนให้พวกเรารับมือกับปฏิบัติการในครั้งนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น”

“กลุ่ม P.K.K. และกลุ่ม P.Y.D./Y.P.G. ขู่ประชาคมโลกไว้ว่า หากไม่มีพวกเขา สงครามต่อต้านกลุ่ม

ดาเอชอาจจะสะดุดหรือล้มเหลว แต่ผมมั่นใจว่าสงครามต่อต้านกลุ่มผู้ก่อการร้ายจะไม่สะดุดอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากกลุ่มพันธมิตรร่วมมือกับตุรกี พวกเราเป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยืนหยัดต่อต้านกลุ่มดาเอช”

“การสู้รบต่อต้านกลุ่มดาเอชและกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นจะต้องดำเนินการต่อไปและจะต้องได้รับ

( Behçet Alkan – Anadolu Ajansı )

ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากประเทศอื่นด้วย ประเทศในกลุ่มยุโรปไม่อนุญาตให้พลเมืองของตนที่เคยเข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้ายเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของตน อย่างไรก็ตาม การภาวนาให้ปัญหานี้หายไปไม่ใช่ทางออก ประเทศที่มีส่วนร่วมควรจะช่วยเหลือกันจัดการปัญหานี้ให้หมดไป”

“ประเทศตุรกีได้ปูทางเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียได้มีโอกาสกลับบ้านและไม่ให้กลุ่ม

ดาเอชและกลุ่มผู้ก่อการร้ายอื่น ๆกลับมามีอิทธิพลในบริเวณนั้นอีก”

“ผมทราบดีว่า จะต้องวางแผนและจัดการอย่างระมัดระวังในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวซีเรียให้กลับ

บ้านอย่างปลอดภัย ซึ่งจะต้องสอดคล้องและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและร่วมมือกับสหประชาชาติ ซีเรียเป็นบ้านของคนหลากหลายชาติพันธุ์ และควรจะมีการจัดตั้งผู้นำท้องถิ่นจนกว่าความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้จะสิ้นสุด”
“หลังจากสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้ายครั้งล่าสุดสิ้นสุด ในบริเวณที่มีชาวเคิร์ดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทางตุรกีก็ได้ช่วยจัดตั้งสภาปกครองท้องถิ่นซึ่งมีชาวเคิร์ดเป็นสมาชิกข้างมากเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราจำนวนประชากรในพื้นที่นั้น”

“ชาวซีเรียอยากกลับบ้านของตน พวกเขาได้ทนทุนข์ทรมานมากพอแล้ว พวกเราได้ลงมือ

ช่วยเหลือในการเรียกร้องสันติสุขคืนสู่ซีเรีย เพื่อเตรียมต้อนรับผู้ลี้ภัยหลายล้านคนให้กลับบ้านเกิด สิ่งที่พูดมาข้างต้น คือข้อเท็จจริง ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจผิดที่อยู่ในข่าว ณ ปัจจุบัน การปฏิบัติการของพวกเราในครั้งนี้ ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องมนุษยธรรม ช่วยในเรื่องของการรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน และช่วยให้เกิดกระบวนการทางการเมือง”

นั่นคือ ความคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐตุรกี
ท้ายสุด นางเอฟรอน ดาเดเลน อักกุน เอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย ได้กล่าวย้ำว่า

“แถลงการณ์ร่วมของ ตุรกี – สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม และบันทึกความเข้าใจ (MoU) ของตุรกี –

รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าทั้งสองประเทศรับทราบข้อกังวลด้านความปลอดภัยที่ถูกกฎหมายของเราและความถูกต้องตามกฎหมายของ Operation Peace Spring โดยยอมรับการทำงานร่วมกับตุรกีเพื่อยุติกลุ่ม PYD / YPG ซึ่งเป็นภัยคุกคามตามแนวชายแดนซีเรีย และเนื่องจากบทบัญญัติของแถลงการณ์ร่วมได้มีการบังคับใช้แล้ว ตุรกีจึงยุติ Operation Peace Spring เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม โดยเราจะทำงานร่วมกับเพื่อนและพันธมิตรของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์ภาคพื้นดินสะท้อนให้เห็นถึงเงื่อนไขตามข้อตกลงของเรา”