อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : เรื่องหมูที่ไม่หมู

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

บางทีอาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ปีนี้เป็นปีหมู หมูซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงบทบาทสำคัญในทางการเมืองระดับชาติอยู่ในขณะนี้

ความหวาดกลัวมาเป็นปีของโรคระบาดไข้หวัดสายพันธุ์แอฟริกาในหมูได้เพิ่มความหวาดกลัวต่อเนื่องต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งเป็นประเด็นหลักทั้งประเด็นภายในและประเด็นระหว่างประเทศ ที่พูดถึงการเมืองของหมู (pork politics) เศรษฐกิจของหมู (pork economics) และการทูตของหมู (pork diplomacy)

 

เหตุผล

มีเหตุผลที่ดีที่ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นต่อเรื่องนี้

หมูเป็นแหล่งที่มาหลักของอาหารโปรตีนของคนจีน ซึ่งบริโภคหมูประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณเนื้อหมูที่ผลิตได้ในโลก

เมื่อมีไววัสเกิดขึ้นในฟาร์มแห่งหนึ่งบริเวณชายแดนติดกับประเทศรัสเซียในเดือนสิงหาคมปี 2018 ไวรัสแพร่กระจายไปถึง 31 มณฑลในภาคพื้นทวีปสาธารณรัฐประชาชนจีน

และหมูจำนวนมากกว่า 200 ล้านตัว หรือเท่ากับเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ หากไม่ล้มตายจากเชื้อโรคก็ถูกฆ่าทิ้ง

โรคระบาดเป็นเหตุให้ราคาของหมูพุ่งทะยาน อันสืบเนื่องจากปริมาณของหมูและด้วยเหตุผลอื่นๆ อีก

ประการที่หนึ่ง ในทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมหมูของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อเศรษฐกิจของประเทศประมาณการว่าอยู่ในราว 128 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ความหวาดวิตกที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ ระเบียงอำนาจต่างๆ (corridors of power) ได้รับผลกระทบจากราคาหมูที่แพงขึ้นและทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้นด้วย

โดยเฉพาะในช่วงเวลาเมื่อเกิดสงครามการค้าสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีน และการลดค่าเงินหยวนได้ผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อ (inflation)

หมูซึ่งเป็นสินค้าบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในดัชนีผู้บริโภค (consumer price index-CPI) เป็นตัวการสำคัญหลักให้เกิดเงินเฟ้อ หมูรวมแล้วนับเป็น 10% ของราคาอาหารและมากกว่า 3% ของ CPI จีน

นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมราคาหมูที่กระโดดขึ้น 47% ในเดือนสิงหาคมผลักดันให้ CPI เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ประการที่สอง เมื่อราคาหมูเพิ่มขึ้นได้ก่ออะไรที่มากกว่าไปกว่านั้น ราคาหมูที่เพิ่มขึ้นได้ผลักดันให้อาหารประเภทอื่นๆ มีราคาเพิ่มสูงขึ้นด้วย ราคาเนื้อไก่ เนื้อวัวและเนื้อแกะกำลังเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะผู้บริโภคแสวงหาเนื้อที่เข้ากันได้กับอาหารมาทดแทนนั่นเอง

ในทางกลับกัน เมื่อค่าครองชีพแพงขึ้น ได้ไปกดดันให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคอ่อนแอลงด้วย มีผลให้กดดันความพยายามของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนที่พยายามปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีนที่มีการพึ่งพิงจนเกินไปต่อการลงทุนและการส่งออกมาสู่การพึ่งพาการบริโภคของภาคเอกชนมากขึ้น

 

หมูกับสิ่งต่างๆ

การที่นโยบายเรื่องหมูก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดโรคระบาดในหมูในสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกวิจารณ์ว่าเป็นการทูตเรื่องหมู คือมีการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สองประเทศที่หมูปลอดโรคแทนที่ประเทศรัสเซียซึ่งได้รับผลจากไวรัสมากที่สุดในโลก

วันที่ 1 กันยายน 2019 รัฐบาลจีนเสนอเพิ่มกำแพงภาษี 10% ต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐอเมริกา เท่ากับว่าภาษีการนำเข้าหมูจากสหรัฐเป็น 72% พร้อมกันนั้น เมื่อไม่นานมานี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยกเลิกการซื้อเนื้อหมูสหรัฐ 14,700 ตัน

ในขณะที่มิติภายในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ฟาร์มหมูขนาดใหญ่ถูกกระทบจากกำแพงภาษีจีนในการนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกา อันนี้เป็นตัวการสำคัญให้ราคาอาหารในจีนเพิ่มสูงขึ้นมาก

ยิ่งไปกว่านั้น ทางการจีนยังเข้มการนำเข้าหมูจากประเทศแคนาดา เนื่องจากทางการจีนไม่พอใจการตัดสินใจของรัฐบาลแคนาดาที่ดำเนินการจับกุม Wang Wanzhou เจ้าหน้าที่อาวุโสทางด้านการเงินของบริษัทโทรคมนาคมหัวเว่ย (Huawei) ตามการร้องขอของสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังพึ่งพาตัวเองด้านการผลิตหมูภายในประเทศ ซึ่งการผลิตหมูลดลงอย่างมากจากการนำเข้าหมูจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผลิตหมูใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และยังเป็นประเทศผู้ส่งออกหมูรายใหญ่ของโลก ในขณะที่แคนาดาอยู่อันดับที่ 6 ของโลก

ความผิดพลาดของทางการจีนไม่ได้เกิดจากประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น

การรณรงค์ในระดับภายในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเข้มงวดการเลี้ยงหมูในกิจการฟาร์มหมูขนาดใหญ่เนื่องจากผลผลิตในปี 2016 ทำให้มีการปิดตัวลงของฟาร์มหมูขนาดเล็กมากกว่า 150,000 ฟาร์ม เพื่อตัดการผลิตหมูให้สั้นลง ก่อนที่ไวรัสหมูจะระบาดออกไปมากกว่านี้

ความผิดพลาดอันนี้ ตอนนี้ชี้ว่าก่อให้เกิดต้นทุนที่สูง

อีกหลายปีต่อไปนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีปัญหาด้านเงินเฟ้อเล็กน้อย ซึ่งยังผลให้เกิดความกังวลมากเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

แต่ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์กำลังกังวลว่า เศรษฐกิจได้เผชิญหน้าการชะงักงัน (stagflation) ทางเศรษฐกิจ อันการชะงักงันทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อด้วย

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะเป็นไปอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019 นั่นคือเกือบ 30 ปีที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำอยู่ที่ 6.2% ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะมีแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้ออันเป็นช่วงที่แย่ที่สุดของจีนก็เป็นไปได้ ในช่วงที่ประเทศกำลังเดินหน้าครบรอบการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนวันที่ 1 ตุลาคม

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง (Xi Jinping) หวังจะใช้โอกาสนี้ประกาศถึงความสำเร็จต่างๆ ภายใต้การนำของเขา

แต่ราคาหมูที่เพิ่มขึ้น กดดันความพยายามทั้งหมดของผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน

เงินเฟ้อได้ทำร้ายโดยเฉพาะประชาชนคนธรรมดาที่มีรายได้ตายตัว ได้แก่ คนที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ผลประโยชน์ด้านระบบประกันสังคมต่างๆ และครอบครัวที่มีค่าจ้างต่ำ

ราคาหมูที่แพงขึ้นเป็นเหตุให้มีการล้อเลียนและวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคม online ต่อรัฐบาล และพวกเขามีความคิดร่วมกันที่แสดงข้อแนะนำต่อประเด็นที่มีโอกาสก่อให้เกิดการแพร่กระจายความไม่พอใจออกไปอย่างกว้างขวาง

การเมืองเรื่องหมู เศรษฐกิจเรื่องหมู การทูตเรื่องหมู ล้วนแต่เป็นเรื่องไม่หมูของรัฐบาลจีนเลย